การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีระบบและกลไกการดำเนินที่ชัดเจนในทุกประเด็น ออกระเบียบ และข้อกำหนดระดับสาขาฯที่ชัดเจนในแต่ละประเด็น เช่น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา การปฏิบัติสหกิจศึกษา การทำปริญญานิพนธ์ เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นระบบ อรรจน์ จินดาพล (หัวหน้าสาขาฯ)
2) คณาจารย์มีผลงานทั้งผลงานวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ที่ต่อเนื่องทุกปี ซึ่งมีความพร้อมในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ส่งเสริมการสร้างสรรค์งาน และสนับสนุนการเข้าร่วมดูงาน และอบรมสัมมนาในทุกหัวข้อ
3) มีการสนับสนุนคณาจารย์ในหลักสูตรให้ได้พัฒนาตนเองทุกด้าน ส่งเสริมการให้ข้อมูลการพัฒนาตนเอง และการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ
4) มีกระบวนการรับและเตรียมความพร้อมนักศึกษา​ใหม่ที่ร่วมสมัย​ เป็นระบบ​ และพัฒนาขึ้นจากปีที่ผ่านมา​ สามารถประชาสัมพันธ์​เนื้อหาของหลักสูตร​ให้นักศึกษา​ใหม่​ ส่งผลให้นักศึกษา​แรกเข้า​ มีความเข้าใจในตัวหลักสูตรตั้งแต่เริ่มเข้ามาเรียนปีแรก​ อัตรานักศึกษา​ตกออกระหว่างปีจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีการศึกษา​ 2565 จัดระบบการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่อย่างเป็นระบบ และพร้อมเพรียงกันทั้งชั้นปี ติดตาม สอบถาม ตรวจสอบการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการอาจารย์ที่ปรึกษา
5) มึการบูรณาการ​รายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร​ให้สอดคล้องกับรูปแบบกิจกรรมและโครงการต่างๆของสาขาวิชา​ เป็นการเรียนแบบบูรณาการ​ที่มีความร่วมสมัย​ นักศึกษา​ได้ลงมือทำจริง​ และได้ประเมินผลลัพธ์​จากผู้เข้าร่วมงานได้อย่างแท้จริง บูรณาการกิจกรรมในแต่ละรายวิชา หรือกิจกรรมของคณะ มหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน หรือปรับปรุง และลดทอนกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนในแต่ละชั้นปี
6) นักศึกษา​ใหม่ให้ความสนใจในหลักสูตร​สาขาสื่อสารการแสดงมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ และการส่งต่อความเข้าใจผ่านตัวนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีระบบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการตกออกของนักศึกษาแต่ละชั้นปี รวมไปถึงร้อยละของนักศึกษาที่จบการศึกษาในแต่ละปี จัดการระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีการตรวจสอบใกล้ชิด โโยหัวหน้าสาขาจะเข้าเป็นที่ปรึกษาร่วมสำหรับนักศึกษาทุกคนในสาขา เพื่อติดตามและตรวจสอบผลการเรียน และปัญหาในภาพรวม หากพบปัญหาจะติดตาม และแก้ปัญหาโดยเร็ว การจัดทำแบบสอบถามความสุขในการใช้ชีวิตขณะเรียนในสาขาสื่อสารการแสดง ที่มีการสอบถามในช่วงหกลังจบการศึกษาภาคแรก ของปีหนึ่ง อ.อรรจน์ จินดาพล (หัวหน้าสาขาฯ)
2) หลายตัวบ่งชี้พบว่ามีการประเมินการดำเนินของปีการศึกษา 2564 ที่นำมาพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินของปี 2565 ดีขึ้น แต่ขาดการให้รายละเอียดเชิงเปรียบเทียบ เพิ่มความละเอียดในการอธิบายเชิงเปรียบเทียบ อรรจน์ จินดาพล (หัวหน้าสาขาฯ)
3) หลักสูตรควรมีกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาของหลักสูตร ผ่านกลไกการตรวจสอบทุกต้นเทอม โโยอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าสาขาฯ การวางแผน และกำหนดปฏิทินการปฏิบัติสหกิจ / ฝึกงาน อย่างชัดเจน จนถึงช่วงเวลานำเสนอผลงาน (สอบปิดเล่ม) การปฐมนิเทศการปฏิบัติสหกิจ อ.อรรจน์ จินดาพล (หัวหน้าสาขาฯ)
4) หลักสูตรควรมีการวางแผนการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการที่เป็นงานวิจัยให้มีจำนวนมากขึ้น การกำหนดเป็นภารกิจหลักของอาจารย์ประจำสาขาฯ และกำหนดอาจารย์พี่เลี้ยงการวิจัย รวมถึงการร่วมทำผลงาน อ.อรรจน์ จินดาพล (หัวหน้าสาขาฯ)