การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์การทำวิจัย และมีผลงานการวิจัยเป็นจำนวนมาก - - ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
2) หลักสูตรมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานวิจัยเป็นจำนวนมาก - - ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรต้องเร่งหากลยุทธ์ในการดำเนินการให้มีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร เนื่องจาก จำนวนนักศึกษาน้อยหรือไม่มีผู้เข้าศึกษาต่อเนื่องกันหลายปี ไม่เป็นผลดีกับหลักสูตร เนื่องจากองค์ประกอบของการดำเนินงานหลักสูตร ต้องมี 3 ส่วนคือ 1. หลักสูตรดี 2. อาจารย์มีคุณภาพ 3. มีผู้เรียน ดังนั้นหลักสูตรควรจะมีการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการรับนักศึกษา โดยอาจจะมีการให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย หรือการมีโอกาสไปทำวิจัยที่ต่างประเทศ เป็นต้น 1. หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทาง online ต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัย โดยปรับให้มีรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น 2. หลักสูตรได้ขออนุมัติทุนผู้ช่วยวิจัย เพื่อช่วยสนับสนุนการทำวิจัยของนักศึกษา และเพื่อจูงใจให้นักศึกษาสนใจเข้าศึกษาในหลักสูตร 3. หลักสูตรได้ทำการสำรวจความต้องการศึกษาต่อของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ เพื่อนำผลที่ได้มา ประกอบการวางแผนการดำเนินงาน ทุนผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant) ระดับบัณฑิตศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร