การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตรแรกที่บูรณาการศาสตร์อาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันและเปิดสอนในระดับชั้นปริญญาตรี อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่เปิดกว้างให้นักเรียนไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์-คณิตหรือสายศิลป์ ที่สนใจ สามารถเข้ามาเรียนได้
2) หลักสูตรมีรายวิชาที่มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ กระแสสังคม เช่น การซ้อมเผชิญเหตุกราดยิง ศิลปะ ป้องกันตัว ยูยิตสู การรู้เท่าทันอาชญากรรมไซเบอร์ซึ่งนักศึกษาสามารถนำมาปรับใช้ รับมือใน สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต รวมทั้งวิชาบูรณาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์เป็นการ ผสมผสานความรู้ทั้งทางด้านอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ บูรณาการกันเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึ กคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวทาง กระบวนการในการสืบสวนสอบสวนคดีและนำไปประยุกต์ใช้ กับ สถานการณ์ที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้
3) หลักสูตรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีคุณภาพสูง
4) มีการวางแผนในการรับนักศึกษาที่ดี และได้จำนวนนักศึกษาใหม่มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
5) หลักสูตรมีการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมการจัดงาน Open House และจัดบูธแคมป์นักสืบรุ่นจิ๋ว (โคนันรุ่นที่ 6) ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายเป็นจำนวนมาก โดยในการจัดครั้งนี้เปิดโอกาสให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-6 เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนที่ทำการสอบเทียบ GED เพื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมมีการจัดงานเสวนาวิชาการ 1 ครั้ง ได้แก่ งานเสวนาวิชาการ หัวข้อ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ” ซึ่งการจัดงานเสวนาวิชาการดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ทำให้แผนการรับเข้านักศึกษาปีการศึกษา 2566 ของหลักสูตร จำนวน 60 คน แต่มีจำนวนนักศึกษามาเข้าศึกษาจริงจำนวน 202 คน
6) หลักสูตร มีอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกทั้งสิ้น 3 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 60 สูงกว่าที่เกณฑ์กำหนด

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรสร้างผลงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางด้านอาชญาวิทยาและด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แวดวงอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย รวมถึงสามารถนำแนวทางการวิจัยและผลการวิจัยมาใช้สอนนักศึกษาในห้องเรียนได้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาผลงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางด้านอาชญาวิทยาและด้านนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาบุคคลากรตาม KR ยุทธศาสตร์ smart organization อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
2) ควรพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อให้เกิดความผูกพันกับคณะฯ และเพิ่มพูนประสบการณ์การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น โดยมีการ mapping กิจกรรมต่างๆ กับทักษะต่าง ๆ เพื่อวัด outcome แล้วนำผลประเมินสู่การปรับปรุงกิจกรรม หลักสูตรมีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมที่คณะดำเนินการให้กับนักศึกษา กิจกรรมที่คณะดำเนินการกับนักศึกษา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรมีผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี โดยสม่ำเสมอทุกท่าน เพื่อรักษาอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ให้คงที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี การพัฒนาบุคคลากรตาม KR ยุทธศาสตร์ smart organization อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) หลักสูตรควรมีแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล (อาจใช้แบบฟอร์ม IDP ของ HRD) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผน จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล (ใช้แบบฟอร์ม IDP ของ HRD) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผน การพัฒนาบุคคลากรตาม KR ยุทธศาสตร์ smart organization คณาจารย์ทุกท่าน
5) เนื่องจากหลักสูตรมีการรับนักศึกษาที่มีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรวางแผนในการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีอัตราการคงอยู่ และอัตราสำเร็จการศึกษาที่ดีขึ้น หลักสูตรมีการจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาโดยกำหนดวัน เวลา ในการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งช่องทางในการติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ระบบการติดตามนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา คณาจารย์ทุกท่าน
6) อาจปรับหรือหาแนวทางในการเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนักศึกษา วางแผนอัตราการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนักศึกษา 1.กำหนดรายวิชาให้นักศึกษาวางแผนการลงทะเบียนในแต่ละชั้นปี 2.ระบบการติดตามนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าหลักสูตร ป.ตรี