การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรให้ความชัดเจนในกระบวนการที่ครบถ้วนเรื่องการประชาสัมพันธ์และแนะแนวผ่านสื่อ Social Media เพื่อรับนักศึกษา รวมถึงมีคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการติดต่อเพื่อให้ข้อมูลของหลักสูตรแก่ผู้ที่สนใจจะเข้าเรียน และได้รับความร่วมมือจากศิษย์เก่าในการเป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ด้วย
2) หลักสูตรมีระบบ กลไก และการดำเนินการ ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และทักษะในการทำวิจัย รวมถึงการเสวนาทางวิชาการที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเชิงวิชาการ โดยเฉพาะการทำวิจัยในประเด็นที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริงในสังคม นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีการกำหนดระบบ กลไก และการดำเนินการในการควบคุมและติดตามการทำดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็นในการทำวิจัยและการกำหนดอาจาร์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ และการบันทึกข้อมูลแสดงความก้าวหน้าของการทำวิจัย ดังแสดงผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นในจำนวนของผู้สำเร็จการศึกษา และความสำเร็จในการใช้ระยะเวลาที่น้อยลงสำหรับการมีหัวข้องานวิจัยและการสอบผ่านโครงร่างงานดุษฎีนิพนธ์
3) หลักสูตรมีความชัดเจนในการกำหนดระบบ กลไก และการดำเนินงาน รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงาน ที่บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ที่ประกอบด้วยการบริหารงานและส่งเสริมรวมถึงการพัฒนาอาจารย์ที่ครบถ้วน ได้แก่ 1. อัตรากำลังของอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสัดส่วนของการดูแลนักศึกษาทั้งในเรื่องของการเรียนการสอนและการควบคุมงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 2. การกำหนดภาระงานที่ครบถ้วนของความเป็นอาจารย์ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ภาระงานการสอนและการควบคุมการทำดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา ภาระงานการทำวิจัย ภาระงานการบริการวิชาการ เป็นต้น โดยการสร้างประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้แก่สังคม และผลงานงานาวิจัยที่ได้รบการเผยแพร่ในวารสารระดับชาติของอาจารย์ผู้รับชอบหลักสูตร 3. การจัดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะความรู้ ทั้งความรู้ของสาขาวิชา ความรู้ในการจัดการเรียนการสอน และความรู้ในการทำวิจัย เป็นต้น แนวทางเสริม 1.หลักสูตรควรมีการส่งเสริมและพัฒนาการเผยแพร่งานวิจัยของอาจารย์เข้าสุ่การเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ เพื่อเพิ่มความสนใจในศักยภาพงานวิจัยในระดับนานาชาติ รวมถึงการผลักดันให้งานวิจัยของอาจารย์ได้รับการอ้างอิงจากภายนอก 2.หลักสูตรควรมีการวางแผนในการส่งเสริมให้อาจารย์รับทุนวิจัยจากภายนอกที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น 3. หลักสูตรควรมีการจัดการเรื่องการจัดสรรภาระงานการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมของอาจารย์ประจำหลักสูตร
4) หลักสูตรได้กำหนดระบบ กลไก และแนวทางในการดำเนินงาน รวมถึงการดำเนินงานที่ครบถ้วนตามหลักของ PDCA ในการกำหนดผู้สอนและกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเกณฑ์มมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการวางระบบผู้สอนคือวุฒิการศึกษา ความเชี่ยวชาญและผลงานวิชาการที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของสาระรายวิชา รวมถึงความครบถ้วนในการดำเนินการเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่การมีหัวข้องานวิทยานิพนธ์ และกระบวนการติดตามความก้าวหน้าของอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่องของการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาดำเนินการทำวิทยานิพนธ์อย่างต่อเนื่อง ดังแสดงเป็นแนวโน้มของจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาที่เข้าใหม่ในปีการศึกษา 2566 ทุกคนมีการเสนอหัวข้องานวิทยานิพนธ์เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2566
5) หลักสูตรได้ดำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียน หลักสูตรมีการดำเนินการที่ครบถ้วนตามหลักของ PDCA ในการปรับสาระรายวิชา การปรับเปลี่ยนกระบวนการการเรียนการสอน และการปรับกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและตอบสนองความต้องการของทั้งผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิต รวมถึงผ่านการพิจารณาในการให้ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลักสูตรให้ความสำคัญ ดังที่ได้เห็นจากผลการตอบรับที่ดีมากจากผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิตและอาจารย์ผู้รับผิดชอบ โดยการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาและรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันสมัย ซึ่งพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ
6) หลักสูตรมีความชัดเจนและให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างครบถ้วนตามรูปแบบของ PDCA ในเรื่องของการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกในยุคดิจิทัล สำหรับนักศึกษาและอาจารย์ เพื่อการทำงานวิจัยและการเรียนรู้ ซึ่งสามารถตอบรับความต้องการของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ดังแสดงความสำเร็จเป็นผลของความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากเป็นเวลา 3 ปีการศึกษาต่อเนื่อง โดยที่มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
7) หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีศักยภาพในการเรียนการสอนและการทำวิจัย รวมทั้งความมีชื่อเสียงและการเป็นที่ยอมรับของสาขาอาชญาวิทยา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการรับนักศึกษาควบคู่กับเตรียมความพร้อมของนักศึกษาที่เข้าศึกษาในแผนการศึกษาที่แตกต่างกัน (แผนการทำวิจัย และแผนการเรียนรายวิชาและทำวิจัย) โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเข้าสู่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดในโครงสร้างของหลักสูตร โดยเฉพาะการ เตรียมความพร้อมเพื่อความสำเร็จของการทำดุษฎีนิพนธ์อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสป.อว. พ.ศ.2558 โดยมีตัวอย่างของการประชาสัมพันธ์ส่วนที่เป็นจุดเด่นของหลักสูตร อาทิเช่น ความมีชื่อเสียงของคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก รูปแบบการเรียนการสอนที่ตอบรับสังคมยุคดิจิทัลและการเรียนรู้ในศตวรรษที่21เน้นการเพิ่มความรู้และทักษะที่ได้รับจากผู้สอนที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ เป็นต้น หลักสูตรมีการกำหนดแนวทางการรับนักศึกษาเข้าศึกษาในแผนการศึกษาที่แตกต่างกัน (แผนการทำวิจัย และแผนการเรียนรายวิชาและทำวิจัย) อย่างชัดเจน กรณี แผนการทำวิจัยหลักสูตรจะมีระบบการคัดเลือกโดยคณะกรรมการคณะ การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ผศ.ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) การปรับแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดนักศึกษา ที่ผ่านมาดำเนินการประชาสัมพันธ์ตรงตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ผศ.ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) หลักสูตรควรเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยของนักศึกษาให้ก้าวเข้าสู่ระดับนานาชาติ ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เผยแพร่งานวิจัยของนักศึกษาให้ก้าวเข้าสู่ระดับนานาชาติ การเผยแพร่ผลงานวิจัย คณาจารย์ทุกท่าน
4) หลักสูตรควรเพิ่มเติมการจัดทำแผนงานการทำวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคคล และวางแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการก้าวสู่ความสำเร็จในการทำงานวิจัยให้เสร็จภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร ที่ผ่านมาให้นักศึกษาจัดทำแผนการทำวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคล พร้อมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษามีการติดตามนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง การติดตามการทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ทุกท่าน