การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพ ประสบการณ์ในการทำวิจัย จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ มีผลงานทางวิขาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แนะนำแหล่งทุน และวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ
2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีชื่อเสียงระดับชาติ และ นานาชาติ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการที่ผู้เรียนให้ความสนใจในหลักสูตร แต่อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้จำนวน นศ.รับเข้า ตามแผน ในประเด็นนี้ทางหลักสูตรฯ มียุทธศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. สนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นฐานผู้เรียนเดิมของคณะนิติศาสตร์ ให้มีความสนใจในการสมัครเรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ภายใต้นโยบาย"ภูมิใจในรังสิต" โดยชูจุดแข็งทางด้านวิชาการ รวมถึงเพิ่มบทบาทของคณาจารย์ในหลักสูตรฯ เพื่อให้นักศึคกษาได้เห็นถึงศักยภาพ ควาามรู้ ความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ และเกิดความมั่นใจ และไว้วางใจในคุณภาพการศึกษาของทางหลักสูตรฯ 2. ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ให้กับผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างมหาวิทยาลัยเพื่อให้สนใจในการสมัครเรียนในระดับปริญญาโท ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้กลยุทธ์ในการเผยแพร่เนื้อหาที่สามารถเข้าถึงกลุ่่มเป้าหมายโดยตรง เช่น คลิปวิดีโอสั้น ที่เป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ความเชี่ยวชาฐ ความถนัด การชี้นำสังคม ของคณาจารย์ในหลักสูตรฯ 1. การปัจฉิมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2. ผลักดันการจัดการหลักสูตรฯ แบบปริญญาตรีควบปริญญาโท 3. การจัดเวทีเสสวนาวิชาการ 4. การทำ podcast เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ แนวคิด ข้อเสนอแนะให้กับสังคม โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ และเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ รวมถึงขอความร่วมมือให้นักศึกษาช่วยในการเผยแพร่ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ
3) มีการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาทั้งวิทยานิพนธ์และ ค้นคว้าอิสระในฐานข้อมูลระดับชาติ เสริมทักษะให้กับนักศึกษาในการเขียนและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ รวมถึงการคัดเลือกวารสารวิชาการที่มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จัดอบรมการเขียนและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ดำเนินการเพื่อให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามเวลาที่กำหนดในหลักสูตร ติดตามและสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะในรายที่ขาดการติดต่อ หรือไม่มี่ความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ปโครงการ "Meet the Director" โดยจัดให้ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ได้พบปะกับนักศึกษาทุกรุ่นทางออนไลน์อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อแจ้งนโยบายของทางมหาวิทยาลัย เพื่อกำกับติดตามการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ของนักศึกษา และเพื่อทมราบถึงปัญหาของนักศึกษาและทำการนัดหมายเพื่อพบเป็นการเฉพาะรายบุคคล ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ
2) การจัดทำรายงานข้อมูลต่างๆ ควรจัดทำตามกระบวนการหรือตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้ และพยายามแสดงให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมจากการนำผลการประเมินมาปรับปรุง ซึ่งในกรณีนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบทั่วไป ยังไม่พบข้อมูลที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยผู้ประเมินมั่นใจว่า ทางหลักสูตรได้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ปรับแก้ไขการจัดทำรายงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ ได้กรุณาให้ข้อแนะนำ โดยเฉพาะการนำเสนอให้เห็นเป็นรูปธรรมเ จัดปรนะชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ และคณะกรรมการระดับคณะ เพื่อถอดบทเรียนและแลกเ้ปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดทำรายงานพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการหรือตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ