# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีชื่อเสียง และมีตำแหน่งวิชาการ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในสาขาวิชาชีพและเป็นที่ยอมรับในประเทศ
|
- วางแผนประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยใช้ภาพลักษณ์ และ ชื่อเสียงของผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เป็นกรอบการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น |
กิจกรรมการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ในรูปแบบต่างๆ (อาทิ กิจกรรมบริการวิชาการในหน่วยงานภายนอก ฯลฯ) |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
2) |
หลักสูตรสามารถรับนักศึกษาได้เกินเป้าหมายตามแผนได้อย่างต่อเนื่อง |
การประชาสัมพันธ์หลักสูตรในช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
|
กิจกรรมสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หลักสูตรฯ ในรูปแบบต่างๆ |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
3) |
หลักสูตรมีจุดเด่นในด้านของคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความเข็มแข่งทางด้านผลงานวิชาการ |
สนับสนุนอาจารย์ประจำหลักสูตรในการรักษาความเข้มแข็งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานวิชาการ การบริการวิชาการในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ |
การจัดกิจกรรมวิชาการ "การประชุมวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับชาติ" |
คณบดีสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรส่งเสริมให้นักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารตามเกณฑ์การตีพิมพ์ของสปอว.
|
ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษารับทราบถึงข้อมูลสารสนเทศการเผยแพร่ผลงานตามเกณฑ์การเผยแพร่ของ สปอว. รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการเผยแพร่ผลงานในวารสาร |
กิจกรรมการสัมมนาวิชาการของหลักสูตรฯ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
2) |
หลักสูตรควรมีมาตรการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบเวลา |
- การติดตามนักศึกษาคงค้างของหลักสูตร และพูดคุย หารือ หาทางออกร่วมกัน เพื่อให้นักศึกษาได้สำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลา
- การวางแผนกำหนดกรอบระยะเวลาการศึกษาระหว่างนักศึกษา และ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา และติดตามให้การดำเนินงานเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
- การให้ความรู้ และ แนวทางการดำเนินงานด้านการทำวิจัยในระดับมหาบัณฑิตให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน |
- กิจกรรมสัมมนาการทำวิจัยในระดับมหาบัณฑิต |
ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และ คณาจารย์สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ |
3) |
ถึงแม้ว่าหลักสูตรจะมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการให้คำปรึกษาและการดูแลนักศึกษาจนทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ึ้ได้เร็วขึ้นและสำเร็จการศึกษาได้ตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น ก็ตาม แต่ผลการประเมินยังคงอยู่มีแนวโน้มที่เป็นปกติ ดังนั้นหลักสูตรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเป็นเด็นเรื่องการดูแลนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้มีแนวโน้มของการคงอยู่และความสำเร็จทางการศึกษาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น |
การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อดูแลนักศึกษาตามความรู้ ความสามารถ และความต้องการของนักศึกษา เพื่อส่งเสริมให้ได้หัวข้อการวิจัยได้รวดเร็วขึ้น และสามารถดำเนินการวิจัยในระหว่างศึกษาในรายวิชาเรียนได้อย่างมีคุณค่า ด้วยการประยุกต์องค์ความรู้ในชั้นเรียนมาประกอบการเขียนรายงานวิจัยในระดับมหาบัณฑิต |
กิจกรรมสัมมนาการทำวิจัยในระดับมหาบัณฑิต
กิจกรรมที่สอดแทรกในทุกรายวิชาของหลักสูตร
การสื่อสารกับคณาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรฯ ได้รับทราบและกระตุ้นนักศึกษาไปในแนวทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง |
ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และ คณาจารย์ผู้สอนของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ |
4) |
นักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในปีการศึกษา 2567 สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ จะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในหลักสูตรเดียวกันในสถาบันอื่น พบว่า หลักสูตร รปศ. ม.รังสิต มีค่าธรรมเนียมการศึกษาที่สูงกว่าคู่แข่ง จึงอาจส่งผลต่อจำนวนผู้สมัครเข้าเรียน ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เข้มแข็ง ถึงแม้สถาบันฯ จะมีคณาจารย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติก็ตาม |
การพยายามสร้างเครือข่ายของนักศึกษาให้เข้มแข็ง เพื่อให้นักศึกษาเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
การสนับสนุนให้นักศึกษาได้สำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลาอย่างรวดเร็วและยกรุ่น ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการดูแลนักศึกษาของสถาบันฯ ถือเป็นแนวทางหลักเพื่อสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้กับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น และใช้เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ช่องทางหนึ่ง
การปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย สร้างความน่าสนใจในรายวิชาของหลักสูตร |
การบริการวิชาการ
กิจกรรมสร้างสรรค์ สัมพันธ์ เครือข่าย รปศ.
การปรับปรุงหลักสูตร
การประชาสัมพันธ์ |
คณบดีและคณาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ |