การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะรัฐศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 1. ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ หรือระดับชาติ อย่างต่อเนื่อง 2. ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ หรือระดับชาติ อย่างต่อเนื่อง 3. สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น 1. วางแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการร่วมกัน โดยใช้การประชุมคณะในการพูดคุยและแลกเปลี่ยน 2. แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับวารสารวิชาการทั้งระดับนานาชาติ และระดับนานาชาติเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) หลักสูตรมีการวางระบบและกลไกในการรับนักศึกษา โดยมีทั้งการประชาสัมพันธ์และมีโครงการที่จัดให้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 1. วางแนวทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ทั้งของคณะรัฐศาสตร์ และมหาวิทยาลัย 2. ทำงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรฯ และสโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ในนำเสนอรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับคณะและหลักสูตรฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมนักศึกษา 1. โครงการประกวดสุนทรพจน์ ประเภทเยาวชน ประจำปีการศึกษา 2567 2. การประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook “คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต” 3. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสโมสรนักศึกษาคณะฯ - รองคณบดีฝ่ายบริหาร - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา - หัวหน้าหลักสูตรฯ
3) หลักสูตรมีระบบการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักศึกษา 2 ระบบ คือ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในรายวิชาสหกิจศึกษาและวิชาการค้นคว้าอิสระ ที่หลักสูตรมีการสร้าง “คู่มือพกสำหรับงานนวิจัย” ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการทำวิจัยให้กับนักศึกษาได้อย่างดี รวมทั้งมีผลการประเมินการใช้ คู่มือพกสำหรับงานวิจัยที่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกๆประเด็น 1. พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบ onsite และ online 2. กำหนดคุณสมบัตินักศึกษาในการลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษา และการค้นคว้าอิสระ เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 1. การกำหนดเวลา Office Hour ของอาจารย์ผู้สอนสำหรับให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาที่คณะ 2. จัดทำรายละเอียดคำแนะนำให้นักศึกษาในประเด็นต่างๆ เผยแพร่ทาง Facebook “สิงห์รังสิต” และให้อาจารย์ที่ปรึกษาชี้แนะแนวทางในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิชาการ 3.จัดทำประกาศแนวปฏิบัติสำหรับรายวิชาสหกิจศึกษา และการค้นคว้าอิสระ เพื่อให้นักศึกษาทราบ และเข้าใจร่วมกัน หัวหน้าหลักสูตรฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการของอาจารย์ ในปีการศึกษา 2566 เป็นจุดที่ควรปรับปรุงอย่างมาก เนื่องจาก ไม่พบกระบวนการหรือแผนงานในด้านนี้ ขอเสนอให้มีดำเนินการในปีการศึกษา 2567 ดังนี้ 1. แผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล ที่มีเป้าหมายการพัฒนาตนเองในรอบ 5 ปี อย่างชัดเจน 2. ประกาศแนวทางการส่งเสริมให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตนเอง 1. วางแผนการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน 2. กระตุ้นให้อาจารย์ประจำจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลของตนเอง และนำส่งเข้าสู่ระบบของมหาวิทยาลัย 1. ชี้แจงกระบวนการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และส่งเข้าสู่ระบบของมหาวิทยาลัย 2. กระตุ้น และติดต่อการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลของอาจารย์แต่ละท่าน 3. ติดตามการดำเนินการตามแผนพัฒนารายบุคคลที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้รายงานผลการดำเนินการเข้าสู่ระบบของมหาวิทยาลัย รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) กระบวนการรับและเตรียมความพร้อม การส่งเสริมพัฒนานักศึกษา ไม่ส่งผลต่ออัตราการสำเร็จและอัตราการคงอยู่ ตามที่รายงานไม่มีแนวโน้มที่น่าพอใจ ขอเสนอให้ดำเนินการปรับปรุง ในปีการศึกษา 2567 ดังนี้ 1. ปรับระบบการดูแลนักศึกษา การให้คำปรึกษา การให้ข้อมูลข่าวสาร โดยสร้างความใกล้ชิดและทำให้นักศึกษามีความร่วมมือกับหลักสูตรหรืออาจารย์ในหลักสูตร 2. ปรับกิจกรรมหรือโครงการพัฒนานักศึกษา ให้มีความน่าสนใจ โดยให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน 1. วางแผนการจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักศึกษา 2. การเตรียมความพรัอมสำหรับนักศึกษาใหม่ ในรายวิชา RSU 111 3. พัฒนาระบบการดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษา 4. การจัดกิจกรรมหรือโครงการพัฒนานักศึกษา โดยสโมสรนักศึกษาคณะฯ เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด และมีรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษา 1. จัดทำรายละเอียดคำแนะนำให้นักศึกษาในประเด็นต่างๆ เผยแพร่ทาง Facebook “สิงห์รังสิต” 2. หลักสูตรฯ ประสานงานกับสถาบัน Gen Ed เพื่อขอให้อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับกลุ่มเรียนของคณะรัฐศาสตร์โดยเฉพาะ และใช้ส่วนหนึ่งของการเรียนจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในด้านต่างๆ 3. การกำหนดเวลา Office Hour ของอาจารย์ผู้สอนสำหรับให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาที่คณะ 4. โครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 ได้แก่ 1) POL-Lympics 2) POL-SCI Leader Camp และ 3) POL-SCI Soft Skills - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา - หลักหน้าหลักสูตรฯ
3) หลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเข้าสู่การดำเนินงานหลักสูตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2568 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ โดยขอเตรียมการดังนี้ 1. ประชุมทำความเข้าใจกับอาจารย์ประจำ และอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา เกี่ยวกับ PLO CLO YLO 2. เตรียมความพร้อมให้กับอาจารย์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และการรายงานผล 3. วางระบบการกำกับดูแลการดำเนินงานการสอนและการประเมินผุ้เรียน 4. ปรับระบบการทวนสอบ ที่มุ่งสู่การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ 1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2568) และวางแผนร่วมกัน 2. ติดตามการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการรายงานผลของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชา 3. ติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน 4. พัฒนาระบบการทวนสอบของหลักสูตรฯ 1. ชี้แจงรายละเอียด และแนวทางการจัดตารางเรียนของปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป ให้อาจารย์ผู้สอนทราบ ในการประชุมคณะรัฐศาสตร์ประจำเดือน 2. แจ้งเตือนช่วงเวลาในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการรายงานผลของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชา 3. ติดตาม และแจ้งเตือนช่วงเวลาในการประเมินผลผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา 4. วางแผนและกำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เปิดสอน หัวหน้าหลักสูตรฯ