การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทางวิทยาลัยมีกระบวนการกระตุ้นในด้านต่างๆ ได้แก่ - ให้อาจารย์ในวิทยาลัยมีการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่งเสริมในการทำวิจัยและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ - สร้างเครือข่ายวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่น รวมถึงหน่วยงานทั้งทางภาครัฐ และเอกชนเพื่อพัฒนางทนวิจัยร่วมกัน - กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยต่างๆ เช่นการฝึกเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ หรือการอบรมจริยธรรมการวิจัย - กิจกรรม MOU ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ - โครงการวิจัยร่วมกับสถาบันอื่นๆ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ
2) หลักสูตรมีความยืดหยุ่น สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น มีการเรียนการสอน ในวันสุดสัปดาห์เพื่อรองรับผู้เรียนที่ทำงานในวันธรรมดา มีการเปิดหลักสูตร non degree ที่ผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาสามารถร่วมเรียน แล้วเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาปริญญาโทที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องได้ หลักสูตร Non degree ของทางวิทยาลัย หลักสูตร 4+1 และหลักสูตร 4+1.5 ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ผศ. ดร. ศนิ บุญญกุล
3) มีห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพและทันสมัย พัฒนาห้องปฏิบัติการให้สามารถรองรับงานวิจัยทางด้าน AI และ Big Data จัดซื้อ software ลิขสิทธิ์ ที่จำเป็นสำหรับหารทำงานวิจัย และการเรียนการสอน ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา รองคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม
4) มีหลักสูตร non degree เพื่อเพิ่มเครือข่าย อีกทั้งได้มาซึ่งโจทย์วิจัยของนักศึกษา ดำเนินการหลักสูตร non degree ต่อเนื่อง และพยายามหาแนวทางในการเปิดหลักสูตรใหม่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น หลักสูตร non degree ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ผส. ดร. ศนิ บุญญกุล

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หาแนวทางที่ทำให้นักศึกษาจบการศึกษาในเวลาที่กำหนด ทางหลักสูตรมีการประชุมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา การประชุมเพื่อติดตามการทำวิทยานิพนธ์ และการจบของนักศึกษา ผศ. ดร. ศนิ บุญญกุล
2) จำนวนผู้เรียนอาจเพิ่มขึ้นกว่านี้ได้เนื่องจากเป็นสาขาที่มีความต้องการของตลาดงาน สร้างเครือข่าย ทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ เช่นการจัดอรบมสัมนาให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อเป็นการทำการตลาดทางอ้อม ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น การอบรมสัมนาแก่บุคคลภายนอก ผอ. บัณฑิตศึกษา ว. วิศวกรรมชีวการแพทย์ และผศ. ดร. ศนิ บุญญกุล