การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณภาพ อาจารย์ของหลักสูตรได้รับรางวัล และ มีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับนานาชาติ มีการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตร สร้างผลงานที่โดดเด่นในด้านการสอน และงานวิจัย ตามนโยบายของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยกระตุ้นให้อาจารย์ทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาทั้งระดับบัณฑิตศึกษา และระดับที่สูงกว่า รวมถึงมีการสร้างกลุ่มวิจัยในวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็ง และผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทำให้มีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง  การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยวิศวกรรมชีการแพทย์
2) หลักสูตรมีการสนับสนุนให้นักศึกษาทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ ส่งผลให้มีการตีพิมพ์เเผยแพร่ระดับนานาชาติ มีการส่งเสริมให้นักซึกษาในหลักสูตร สร้างผลงานที่โดดเด่นในด้านงานวิจัย ตามนโยบายของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยกระตุ้นให้อาจารย์ทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาโดยนักศึกษามีโอกาศทำงานวิจัยในด้านที่สนใจในกลุ่มวิจัยต่าง1 ๆ ในวิทยาลัย ทำให้มีการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทำให้มีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือไปจากนี้ยังมีการตั้งเป้าหมายหมายในแต่ละปีการศึกษา ให้นักศึกษาที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น ส่งผลงานเข้าประกวดวิทยานิพนธ์ดีเด่นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษา  การประกวดวิทยารนิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2568 ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยวิศวกรรมชีการแพทย์
3) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ มีห้องปฏิบัติการที่หลากหลาย และมีการซื้อลิขสิทธิ์ Software มาใช้ประกอบการเรียนการสอนและการทำวิจัย ทางวิทยาลัยสนับสนุนในเรื่องสื่อการเรียน การสอนให้มีความพร้อม ในปีการศึกษา 2567 ได้มีการปรับปรุงห้องวิจัยรวมที่มีการจัดเครื่องมือ workshop และเครื่องพิมพ์สามมิติให้เพียงพอต่อการทำวิจัย และ มีการปรับปรุงห้องคอมพิวเติร์ เพื่อรองรับการเรียน การสอน และการทำวิจัยของนักศึกษา นอกจากนี้ในแต่ละห้องวิจัย ยังเงบประมาณสนับสนุนจากภายนออกเช่นทุนวิจัย เพื่อจัดหาเครื่องมือวิจัยเฉพาะด้สน ให้มีความพร้อมในการทำวิจัยมากขึ้น  การขอสมัครเพื่อรับทุนอุดหนุนงานวิจัยประจำปี 2568  โครงการปรับปรุงห้อง work shop ว. วิศวกรรมชีวการแพทย์  โครงการปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ และการจัดหา software เพื่อการศึกษาและวิจัย ว. วิศวกรรมชีวการแพทย์ ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา รองคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม และคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีการแพทย์
4) หลักสูตรมีการรับนักศึกษาและเตรียมความพร้อมด้านภาษาของนักศึกษาได้ดีผ่านโครงการ 4+1 มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ให้กับนักศึกษา 4+1 ยกตัวอย่างเช่นการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่การเรียนในระดับปริญญาตรี โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เข้ารับการอบรมทางด้านภาษาอังกฤษ ก่อนทำการสอบวัดระดับ การติดตามผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรหาแนวทางในการแก้ปัญหานักศึกษาตกค้าง และจำนวนนักศึกษาแรกเข้าให้ได้ตามเป้าหมาย  ติดตามนักศึกษาผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย  กำหนดให้มีการรายงานความก้าวหน้าวิจัยทุกภาคการศึกษา  เสริมจุดอ่อนของนักศึกษาเช่นสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหารวิจัยเช่น การอบรมจริยธรรมการวิจัย การอบรมการสืบค้นงานวิจัย การเชียน Manuscript และ การนำเสนอบทความเชิงวิชาการแบบปากเปล่า เป็นต้น ในส่วนของจำนวนนักศึกาแรกเข้า: มีแผนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ผ่านเครือข่ายต่างๆ ของทางวิทยาลัยได้แก่ เครือข่ายศิษย์เก่า เครือข่ายผู้เข้าอบรมหลักสูตรพิเศษ non-degree เป็นต้น การอบรมจริยธรรมการวิจัย การอบรมการสืบค้นงานวิจัย การเชียน Manuscript การนำเสนอบทความเชิงวิชาการแบบปากเปล่า ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
2) ควรดำเนินการกำกับติดตามให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลาให้มากขึ้น  ติดตามนักศึกษาผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย  กำหนดให้มีการรายงานความก้าวหน้าวิจัยทุกภาคการศึกษา  เสริมจุดอ่อนของนักศึกษาเช่นสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำการวิจัยเช่น การอบรมจริยธรรมการวิจัย การอบรมการสืบค้นงานวิจัย การเชียน Manuscript และ การนำเสนอบทความเชิงวิชาการแบบปากเปล่า เป็นต้น  วางแผนกำหนดเวลาการจบหารศึกษาให้ชัดเจน โดยให้นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาส่ง Ghant Chart ในการศึกษาและทำวิจัย และมีการติดตามในทุกภาคการศึกษา การอบรมจริยธรรมการวิจัย การอบรมการสืบค้นงานวิจัย การเชียน Manuscript และ การนำเสนอบทความเชิงวิชาการแบบปากเปล่า ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
3) นักศึกษาในโครงการ 4+1 มีการเปลี่ยนใจ ไม่เรียนต่อในระดับปริญญาโท ถึงแม้ว่าจะมีการเรียนในบางรายวิชาของป,โท ไปบางส่วนแล้ว วางแผนการติดตามนักศึกษาในกลุ่ม 4+1 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่างภาคการศึกษาที่ 2 ในชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่นักศึกษามีการฝึกงานภายนอกมหาวิทยาลัย การติดตามนักศึกษาในกลุ่ม 4+1 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่างภาคการศึกษาที่ 2 ในชั้นปีที่ 4 ผอ. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา อง ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์นักศึกษา 4+1