การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ [ว.นานาชาติจีน]

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการรายงานผลการวิเคราะห์การมีงานทำ เช่น การมีงานทำตรงสาย นักศึกษาสามารถนำความรู้จากที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้ในระดับปานกลางเท่านั้น บางคนไม่ได้ใช้ความรู้จากที่เรียนมา ค่าแรงต่ำ และงานที่ทำยังขาดความก้าวหน้า 1. จัดกิจกรรมเชิญผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานต่างๆมาเป็น Keynote Speaker 2. เพิ่มเติมข้อมูลในเนื้อหาการสอนให้กับนักศึกษา 3. มีการรายงานผลการวิเคราะห์การมีงานทำ เช่น การมีงานทำตรงสาย การประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตรในการทำงาน จัดกิจกรรมที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มาเป็น Keynote Speaker เล่าถึงทำงานจริง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงอาชีพที่อยากทำในอนาคต MR.FENGKUN WANG
2) บัณฑิต 65.71% ได้งานทำทันทีหลังสำเร็จการศึกษา และบัณฑิต 100% ได้งานทำภายใน 6 เดือน ติดต่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เป็นพันทมิตรกับทางวิทยาลัย เช่น บริษัทมีการรับสมัครงานตำแหน่งไหน จากนั้นนำข้อมูลมาประกาศให้กับนักศึกษาผู้ที่กำลังจะจบรับทราบ ประกาศผ่าน WECHAT ของวิทยาลัย เพื่อติดต่อกับนักศึกษาโดยตรง MR.FENGKUN WANG
3) หลักสูตรฯ สามารถจัดการเรียนการสอนและทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษาก่อนเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ให้นักศึกษาปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้รับผิดชอบหลักสูตร หากนักศึกษาต้องการสำเร็จการศึกษาก่อนเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปรึกษาผ่านทาง WECHAT หรือเข้าพบโดยตรงที่ห้องทำงานของผู้รับผิดชอบหลักสูตร MR.FUDONG LUO
4) มีการกำหนดเกฑ์การรับนักศึกษาที่ชัดเจน และใช้เป็นแนวทางในการรับนักศึกษาและเตรียมความพร้อมนักศึกษา ทำประกาศการกำหนดเกณฑ์การรับนักศึกษา รายละเอียดหลักสูตรต่างๆ ให้ชัดเจน พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีน โครงการประชาสัมพันธ์ 1+2+1 (เพื่อประชาสัมพันธ์และรองรับนักศึกษาไทยเพิ่มมากขึ้น) MR.FENGKUN WANG
5) มีระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์ที่ชัดเจน ส่งเสริมอาจารย์ประจำให้ทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ และส่งเสริมอาจารย์ให้เข้าอบรมกับหน่วยงาน ในกรณีที่หัวข้อการอบรมตรงตามหลักสูตร เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของอาจารย์ภายในคณะ งานอบรมหรือเข้าประชุมต่างๆของทางมหาวิทยาลัย MR.FUDONG LUO
6) หลักสูตรฯ มีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง กำหนดประเด็นผลลัพธ์การเรียนรู้และเชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล จนส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต จัดการประชุม เพื่อพูดคุย ปรึกษา แชร์ความคิดเห็น เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประชุมประจำวิทยาลัย ตามวันและเวลาที่กำหนด MR. FUDONG LUO
7) หลักสุูตรมีการดูแลนักศึกษาใกล้ชิด และ หลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทางหลักสูตรมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษา หากนักศึกษาพบเจอปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน หรือปัญหาส่วนตัว ทางอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกท่านยินดีที่จะช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ที่ทำงานของทางวิทยาลัย หรือสามารถพูดคุยผ่านทางออนไลน์ MR.FENGKUN WANG / MR.FUDONG LUO

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) แม้อัตราการสำเร็จการศึกษาจะมีแนวโน้มดี แต่มีจำนวนนักศึกษาที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรระดับที่สูง หลักสูตรจึงพึงวิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขผลการดำเนินการในด้านนี้ ให้นักศึกษาปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร - MR.FUDONG LUO
2) ความพึงพอใจของนักศึกษามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากผลการประเมินความพึงพอใจด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการวิจัย จึงเป็นสิง่ที่หลักสูตรฯ ควรมีมาตรการ/แนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการด้านนี้ของผู้เรียน ทำการสำรวจถึงสาเหตุที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และสร้างแนวทางใหม่ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไข สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา MR.FUDONG LUO / MR.FENGKUN WANG
3) ต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตลอดจนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ อย่างเร่งด่วน เร่งดำเนินการ และสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการ หรืออาจารย์ท่านใดขัดข้องตรงไหน สามารถทำการปรึกษาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาจุดนั้น สนับสนุนอาจารย์ให้ผลิตผลงานทางวิชาการ ส่งเสริมอาจารย์ให้เข้าร่วมอบรมต่างๆที่เป็นความรู้ในการต่อยอดผลิตผลงาน แชร์ข้อมูลให้อาจารย์รับทราบถึงข่าวสารต่างๆในการทำงานวิจัย เช่น ทุนงานวิจัย เป็นต้น MR.FUDONG LUO
4) ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรลดลงอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ประเด็น ดังนั้น หลักสูตรควรรเร่งตรวจสอบสาเหตุ และดำเนินการแก้ไข ตอบสนองต่อความต้องการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สอบถามกับทางอาจารย์ทุกท่าน ถึงความพึงพอใจ สาเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จัดการประชุมเพื่อหาข้อเท็จจริง พร้อมดำเนินการแก้ไข MR.FENGKUN WANG / MR.FUDONG LUO
5) ควรมีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในยุคดิจิตอลมาเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในยุคดิจิตอล ว่าต้องการอะไรบ้าง จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ สำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในยุคดิจิตอล MR.FUDONG LUO / MR.FENGKUN WANG