การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนมีตำแหน่งทางวิชาการ โดยเฉพาะระดับรองศาสตราจารย์ถึง 3 คน และมีแผนที่จะเข้าสู่ศาสตราจารย์ 1 ท่าน (อยู่ในการดำเนินการ) - - -
2) ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติทั้งหมด - เขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เผยแพร่สู่สังคม - ควรเพิ่มเครื่องมือ หรือซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพ ใช้งานได้ เช่น เครื่องชั่ง 4 และ 2 ตำแหน่ง - ควรเพิ่มตู้ทำความเย็น เพื่อเก็บสารเคมี - ควรเพิ่มเครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐานต่างๆ โครงงานปริญญานิพนธ์ รศ.ดร.พนิดา ชาญเกียรติก้อง รศ.ดร.วรรณวิมล อารยะปราณี
3) หลักสูตรมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ที่ดี - สอนพื้นฐานด้านการคำนวณ และการใช้เครื่องคำนวณ - จัดโครงการหรือกิจกรรมเสริมความรู้วิชาการ ร่วมกับบุคคลภายนอกที่มีประสบการณ์ - โครงการสอนปรับพื้นฐานนักศึกษาแรกเข้า - โครงการเพิ่มเติมในรายวิชา ผศ.ดร.ศิริกุล จันทร์สว่าง รศ.พัชรี คำธิตา ผศ.กนกพร อนันต์ชื่นสุข
4) บัณฑิตได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้ในระดับสูงและทำงานได้ตามที่ต้องการ ส่งเสริมนักศึกษาเข้าฝึกงานตามโรงงานอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับภาควิชาฯ การฝึกงานข้องนักศึกษา ผศ.ดร.ศิริกุล จันทร์สว่าง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรจัดทำการจัดการความรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ที่ดี - แบ่งการสอบกลางภาค เป็นการสอบย่อยๆ - ทำ Quiz บ่อยๆ - สอนทำการบ้าน - ผศ.ดร.ศิริกุล จันทร์สว่าง
2) หลักสูตรควรต้องประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และสื่อสารเพื่อให้ผู้สนใจเข้าใจวิศวกรรมเคมีและสนใจมาเรียนมากขึ้น - ทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสาขาวิศวกรรมเคมีอย่างต่อเนื่องไปยังโรงเรียนต่างๆ ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ - จัดกิจกรรมให้นักเรียน ม.ปลายเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อกระตุ้นยอดนักศึกษา - จัดกิจกรรม/โครงการ ให้ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการทางเคมีให้นักเรียน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ChemEn Learning with Fun รศ.พัชรี คำธิตา ผศ.ดร.ศิริกุล จันทร์สว่าง รศ.ดร.พนิดา ชาญเกียรติก้อง รศ.ดร.วรรณวิมล อารยะปราณี รศ.ดร.พนิดา ชาญเกียรติก้อง ผศ.ดร.สถาพร คำหอม
3) ปรับรูปแบบการเขียนรายงานเพื่อให้เห็นภาพการดำเนินงานที่ชัดเจน เป้าหมายในการปรับปรุงการดำเนินการ ผลการปรับปรุงว่าเป็นไปตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนหรือไม่อย่างไร - - -
4) หาแนวทางในการรับนักศึกษาใหม่ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักศึกษาสมัยใหม่ เช่น สื่อออนไลน์ต่างๆ - เพิ่มการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆผ่านทาง Facebook ของสาขาวิชา เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น - ลงประชาสัมพันธ์ ทางสื่อออนไลน์ Facebook - พัฒนา Facebook ให้มีเนื้อหาหลากหลาย เช่น ชีวิตในมหาวิทยาลัย บทความ VDO การสอน งานต่างๆของภาควิชา โครงการ ChemEn Fanpage Boostup รศ.พัชรี คำธิตา รศ.ดร.วรรณวิมล อารยะปราณี รศ.ดร.พนิดา ชาญเกียรติก้อง ผศ.ดร.สถาพร คำหอม ผศ.ดร.ศิริกุล จันทร์สว่าง