การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก ทั้งในด้านการใช้พลังงาน และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ในทุกช่องทาง - จัดโครงการที่เผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์หลักสูตร - จัดการบริการวิชาการ และสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนและชุมชน - โครงการประกวดไอเดียนวัตกรรมพลังงานรักษ์สิ่งแวดล้อม - โครงการชุมชนขยะเป็นศูนย์ - โครงการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียน บุคลากรภาควิชา
2) อาจารย์มีผลประเมินการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูงที่ค่าเฉลี่ย 4.57 สนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาการเรียนการสอน พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้ทันสมัย พัฒนาช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา ทั้งให้คำปรีกษา และตอบข้อสงสัยในการเรียนเพิ่มเติม มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเช่น E-book , Clip, Google form และ ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งการใช้ระบบ Line, Classroom, Facebook, Meet , Zoom ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาได้ตลอดเวลา นักศึกษาก็สามารถเข้าศึกษาทบทวนเนื้อหาวิชาได้ตลอดเวลา รับงานและส่งงาน ส่งการบ้าน ทำแบบฝึกหัด ผ่านทางระบบ Line, Classroom, Facebook และ LMS ของมหาวิทยาลัย โครงการวิจัย :- การศึกษาคุณภาพน้ำและการจัดทำระบบติดตามคุณภาพน้ำอัตโนมัติในคลองเปรมประชากร อาจารย์ภาควิชาฯ
3) หลักสูตรมีแนวโน้มผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ดี เพิ่มแนวทางในการพัฒนานักศึกษา ส่งเสริมประสบการณ์ ในการศึกษาดูงาน ทั้งภายในและภานนอก Student Experience & Academic Service ดร.อาภา หวังเกียรติ ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว ดร.ชนินทร รัตตสัมพันธ์
4) ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอนมายาวนาน มีศักยภาพในการทำงานวิจัยสูง สนับสนันให้มีการพัฒนางานด้านการศึกษา และการวิจัยเพิ่มขึ้น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรกำกับติดตามการพัฒนาผลงานทางวิชาการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดยสม่ำเสมอให้มีผลงานวิชาการย้อนหลังในรอบ 5 ปี ที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร อย่างน้อยคนละ 1 ผลงาน คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ (หลักสูตรฯ)
2) หลักสูตรควรมีแผนการพัฒนาอาจารย์ให้ครอบคลุมทุกด้าน ควรมีการเพิ่มจำนวนอาจารย์เพื่อรองรับกับหลักสูตร เนื่องจากปัจจุบันหลักสูตรมีอาจารย์จำกัด
3) หลักสูตรควรมีการวางแผนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 - มีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่หลากหลาย เหมาะสมทันสมัยต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้และเท่าทันการพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก - มีการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อุปกรณ์เครื่องมือและห้องวิจัยและการสร้างนวัตกรรม และทำการประเมินผลอย่างครบถ้วนในการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อการนำผลมาใช้ในกาปรับปรุงกระบวนการ และเพื่อการพัฒนาในปีการศึกษาถัดไป - มีการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อาทิเช่น 1. โครงการศึกษางานวิศวกรรมแบบบูรณาการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2. โครงการส่งเสริมพื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียน 3. โครงการการเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน 1. โครงการศึกษาดูงานวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2. โครงการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียน 3. โครงการ Student Experience & Academic Service บุคลกกร ภาควิชาวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม โครงการที่ 1.&โครงการที่ 3. ดร.อาภา หวังเกียรติ ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว และ ดร.ชนินทร รัตตสัมพีนธ์ โครงการที่ 2 ดร.มนภร กี้ประเสริฐทรัพย์ และ อ.รวิชญ์ ทวีทรัพย์
4) หลักสูตรควรมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการวิจัย การบริการทางวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย - สนับสนุนให้นักศึกษามีจิตสำนึกถึงด้านรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้เห็นความสำคัญของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อชุมชน - จัดกิจกรรมในวิชาที่เรียน ให้ไปสอดคล้องกับงานช่วยเหลือสังคม เช่น งานบริการทางวิชาการให้แก่สังคม โดยได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่นักศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่เรียนกับสังคมภายนอก - ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดสอดแทรกเกี่ยวกับจริยธรรม ความซื่อสัตย์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมในระหว่างการเรียนการสอน 1. โครงการศึกษาดูงานวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2. โครงการ Student Experience & Academic Service 3. ชุมชนขยะเป็นศูนย์ 4. โครงการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียน บุคลกกร ภาควิชาวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม โครงการที่ 1., 2, 3. ดร.อาภา หวังเกียรติ ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว และ ดร.ชนินทร รัตตสัมพีนธ์ โครงการที่ 4 ดร.มนภร กี้ประเสริฐทรัพย์ และ อ.รวิชญ์ ทวีทรัพย์
5) หลักสูตรควรรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา เปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมาว่ามีผลที่ดีขึ้นจากการปรับปรุงอย่างไร - ดำเนินผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา เปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาที่เปิดสอนในปีที่ผ่านมาเพิ่อเปรียบเทียบ -ดำเนินการทวนสอบในรายวิชาที่เปิดใหม่ของหลักสูตร โดยรอบด้าน อาจารย์ผู้สอน และกรรมการหลักสูตรฯ
6) หลักสูตรควรนำผลประเมินฯ ทั้งของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้สู่การปรับปรุงการดำเนินงาน - ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้ และใช้อุปกรณ์ต่งๆ อย่างมีประสิทธิภาพ - สนับสนุนให้มีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น - บริการวิชาการหน่วยงานทั้งภายในและนอก อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น