การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
สถาบันการบิน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิทางวิชาการในระดับสูง ทั้งตำแหน่งทางวิชาการระดับ ศาสตรจารย์ร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีอาจารย์ที่มี่คุณวุฒิระดับปริญญาเอกร้อยล 40 ซึ่งกว่าเกณฑ์มาตรฐานเช่นกัน การสนับสนุนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการ การทำผลงานทางวิชาการ หัวหน้าหลักสูตร
2) หลักสูตรนักบินพานิชย์เป็นหลักสูตรที่มีความโดดเด่น ทั้งในรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่มีผู้มีประสบการณ์ตรงมาร่วมจัดการเรียนการสอน และการเลือกเรียนกับสถาบันฝึกบินได้หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มคู่สัญญาตามมาตรฐาน EASA การจัดทำ MOU กับโรงเรียนการบินในยุโรป รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) นักบินพานิชย์ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรของสถาบันการบิน มีความพร้อมในการปฏิบัติงานจริง เนื่องจากมีทั้งประสบการณ์บิน และมีประกาศนียบัตรรับรองทั้งด้านสุขภาพและทักษะทางภาษา พัฒนานักศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์ของ EASA การปรับหลักสูตรเพื่อใช้งานในปี 2568 หัวหน้าหลักสูตร
4) จุดเด่นของหลักสูตร : หลังสถานการณ์โควิด 19 บรรเทาลง ทำให้การท่องเที่ยวและการเดินทางกลับสู่สภาวะปกติ อุตสาหกรรมการบินจึงมีแนวโน้มที่ดีเพราะทำให้นักบินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีโอกาสในการประกอบอาชีพได้มากขึ้น การจัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมเช่นค่ายนักบิน การบินเครื่องฝึกบินจำลอง การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เจ้าหน้าที่ธุรการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สถานการณ์โรคระบาดน่าจะใกล้จุดอิ่มตัว และหลักสูตรคาดว่าธุรกิจการบินจะกลับมาได้ในปี 2567 ดังนั้นทางหลักสูตรควรวางแนวทางการประชาสัมพันธ์ /การให้ข้อมูลเพื่อจูงใจให้ผู้ที่สนใจและมีความพร้อมเลือกที่จะเรียนในหลักสูตรนักบินพาณิชย์ สถาบันการบิน จัดโครงการหรือกิจกรรมทำแบบให้เปล่าและแบบมีค่าใช้จ่าย การประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ การจัดค่ายนักบิน การบินเครื่องบินจำลอง การประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่โรงเรียน พล.อ.ท.ดร.ชนนนาถ เทพลิบ
2) จุดที่ควรพัฒนา : เพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการหรือเครื่องมือแล็ปให้มากขึ้น เครื่องฝึกบินจำลอง มีอายุการใช้งานมานานมาก จัดหาเพิ่มเติมเมื่อมีงบประมาณสนับสนุน รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) หลักสูตรต้องวิเคราะห์ SWOT พร้อมกำหนดกลยุทธ์ในการรับนักศึกษา + รักษาอัตราคงอยู่นักศึกษา + ลดอัตราการตกออก + เพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาตามรอบระยะเวลา อย่างเร่งด่วน จำนวนนักศึกษาลดลงในชั้นปีที่ 3 เพราะ ไม่ผ่านการตรวจเวชศาสตร์การบินและยังไม่มั่นใจที่จะลงทุนเรียน 2 ล้านกว่าบาท กลั่นกรองการรับนักศึกษาที่มีความมั่นใจและมีแนวโน้มที่จะเรียนจนจบการศึกษา หัวหน้าหลักสูตร
4) หลักสูตรฯ ควรกระตุ้น จูงใจ ส่งเสริม พัฒนา ให้ นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงาน หรือ ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาและอื่นๆ มากขึ้น เจรจากับคู่สัญญาต่างๆ ที่จะมีโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร ให้คู่สัญญามีทางเลือกให้นักศึกษาจ่ายในการฝึก ( Line Training ) พร้อมได้ทำงาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
5) ตรวจสอบการเตรียมความพร้อมและการวางแผน เพื่อจัดหาทรัพยากรสิ่งสนับสนุนให้กับนักศึกษา ตรวจสอบการรายงานผลข้อมูลข้อ 6.1 ให้เป็นปัจจุบัน เมื่อรายรับดีขึ้นจะจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น โครงการจัดหาเครื่องฝึกบินจำลองใหม่ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ