การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5 ท่าน มีอาจารย์คุณวุฒิ ปริญญาเอก 3 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สนับสนุนส่งเสริมอาจารย์ให้สามารถเพิ่มคุณวุฒิและพัฒนาความรู้ทักษะในด้านต่างๆ ส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มคุณวุฒิพัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ทักษะในด้านต่างๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) ร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 5 ท่าน มีอาจารย์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 40 และดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 20 รวมเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทังหมด ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สนับสนุนให้คณาจารย์ในคณะขอตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น ส่งเสริมให้อาจารย์ส่งผลงาน ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI 1 และ TCI 2 และ Scopus รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/งานสร้างสรรค์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคิดเป็นร้อยละ 108 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล TCI1 และ TCI2 เป็นจำนวนมาก สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง 1.ส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานศึกษาของ นศ. ป.ตรี และวิทยานิพนธ์ ของ นศ. ป.โท ป.เอก 2. ส่งเสริมให้อาจารย์ส่งผลงาน ข้างต้น และผลงานอื่นๆ ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI 1 และ TCI 2 และ Scopus รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) หลักสูตรมีการปรับหลักสูตร /สาระรายวิชาที่ทันสมัยต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยดำเนินการเพิ่มรายวิชาใหม่ และพัฒนาเนื้อหารายวิชา ดำเนินการการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร สำหรับขออนุมัติในปี 2567 ให้เปิดสอนในหลักสูตรใหม่ได้ในปีการศึกษา 2568 หัวหน้าหลักสูตร, รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
5) หลักสูตรมีรายวิชาที่เชื่อมโยงกับงานวิจัย ที่ช่วยเสริมศักยภาพให้นักศึกษาสามารถผลิตผลงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง 1. กำหนดให้นักศึกษาลงเรียนวิชา ECO 496 โครงงานทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยทำผลงานวิจัยในระดับปริญญาตรีก่อนจบ 1 เรื่อง และนำเสนองานวิจัย 2. สนับสนุนให้อาจารย์สอนโดยนำงานวิจัยเชื่อมโยงกับบทเรียน -โครงการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต -สอดแทรกเชื่อมโยงงานวิจัยในการเรียนการสอน หัวหน้าหลักสูตร และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจ คณะเศรษฐศาสตร์
6) หลักสูตรได้รับนักศึกษาพิเศษ (ผู้พิการ) จากมูลนิธิมหาไถ่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และดูแลนักศึกษากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลดีต่อจำนวนนักศึกษาแรกเข้า หากหลักสูตรยังสามารถรักษาความร่วมมือนี้ได้อย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรในระยะยาว 1. เน้นการดูแลให้ข้อมูลและคำปรึกษากับนักศึกษา จัดปฐมนิเทศและจัดอบรมให้กับนักศึกษาพิเศษแรกเข้าโดยเฉพาะ และจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนานักศึกษาพิเศษ 2. จัดการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์กับนักศึกษาพิเศษ 1. งานปฐมนิเทศนักศึกษาพิเศษ 2. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต (นักศึกษาพิเศษ) 3. การจัดการเรียนการสอนและการลงทะเบียนเรียนให้กับนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา อาจารย์อรอนงค์ นิธิภาคย์ และหัวหน้าหลักสูตร
7) นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ก่อนเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร (3 ปีครึ่ง) การแนะนำการวางแผนการเรียนตั้งแต่แรกเข้า และตลอดการศึกษา จัดทำคู่มือประกอบการวางแผนการเรียนแจกให้นักศึกษาใหม่ หัวหน้าหลักสูตร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
8) มีการพัฒนาตนเองของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมการอบรม สัมมนา การสัมมนาทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 1. ให้อาจารย์เข้าร่วมการอบรม สัมมนา การสัมมนาทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 2. โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และสัมมนาอาจารย์ระหว่างประเทศ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรศ.ดร.สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์
9) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานวิชาการ สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง 1.ส่งเสริมให้อาจารย์ส่งผลงาน ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI 1 และ TCI 2 และ Scopus 2.ผลิตตำรา และผลงานทางวิชาการต่างๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลที่เกิดกับนักศึกษา การคงอยุ่ แนวโน้ม 3 ปี 2560 -2562 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทางหลักสุตรควรหารือเพื่อหาแนวทางที่จะทำให้แนวโน้มดีขึ้น เพิ่มมาตรการที่จะรักษาการคงอยู่ ลดอัตราการตกออก ผ่านการดูแลให้คำปรึกษาที่มากขึ้น ตลอดจนการให้ผู้สอนดูแลติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างใกล้ชิด 1.เน้นการให้คำปรึกษาผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออนไซต์ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว 2.การจัดปฐมนิเทศนักศึกษาให้เข้าใจในการเตรียมพร้อมในการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างเหมาะสม 3.โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา หัวหน้าหลักสูตร, อาจารย์ที่ปรึกษา, อาจารย์ผู้สอน และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
2) ผลที่เกิดกับนักศึกษา การสำเร็จการศึกษา แนวโน้ม 3 ปี 2560 -2562 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทางหลักสุตรควรหารือเพื่อหาแนวทางที่จะทำให้แนวโน้มดีขึ้น - เน้นการดูแลให้คำปรึกษาและมีช่องทางออนไลน์ที่สะดวกมากขึ้น ตลอดจนการให้อาจารย์ผู้สอนดูแลติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างใกล้ชิด 1.เน้นการแนะนำการวางแผนการเรียนของนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้า ไปถึงตลอดการศึกษา 2.โครงการเตรียมความพร้อมบัณฑิตสู่การทำงาน หัวหน้าหลักสูตร และอาจารย์ที่ปรึกษา
3) หลักสูตรมีรูปแบบของแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจ อย่างเช่น การเรียน 4 ปีได้ 2 ปริญญา ทั้ง ปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์และปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ ซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงการนำมาปฏิบัติอย่างเห็นผลที่ชัดเจน อธิบายทำความเข้าใจให้นักศึกษาทราบในวันปฐมนิเทศเพื่อให้นักศึกษาที่สนใจเตรียมตัวและวางแผนการเรียนล่วงหน้าให้สามารถเรียนแบบได้ 2 ปริญญา สำหรับนักศึกษาที่เลือกการเรียนแบบได้ 2 ปริญญา หลักสูตรได้ให้คำแนะนำโดยเฉพาะเป็นพิเศษเพื่อให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้รับ 2 ปริญญา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตร
4) สถานการณ์จำนวนนักศึกษาไม่แน่นอน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.ทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยมีเพจของคณะเป็นช่องทางหลัก เพื่อเผยแพร่คณะ หลักสูตร และกิจกรรมต่างๆของหลักสูตรและนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 2.ออกบูธประชาสัมพันธ์ 3.จัดกิจกรรมค่ายเศรษฐศาสตร์ 4.เปิดรับนักศึกษาโครงการพิเศษ และอื่นๆ 1.โครงการสร้างการตลาดภายนอก 2.โครงการ Economics Camp 3.โครงการ RSU ECON Media หัวหน้าหลักสูตร, ผศ.ดร.เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ และดร.ศรัณย์ คำจินดา
5) ควรเพิ่มการปรับปรุงเนื้อหาสาร กลวิธีการสอน ในรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร - การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยดำเนินการเพิ่มรายวิชาใหม่ และพัฒนาเนื้อหารายวิชา - พัฒนากลวิธีการสอนให้ทันสมัย - ดำเนินการการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร สำหรับขออนุมัติในปี 2567 ให้เปิดสอนในหลักสูตรใหม่ได้ในปีการศึกษา 2568 - พัฒนากลวิธีการสอนให้ทันสมัยเหมาะกับผู้เรียนและยุคสมัย - หัวหน้าหลักสูตร - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ - อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ