การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สามารถรับนักศึกษาทั้งนักศึกษาปกติ และนักศึกษาที่เป็นผู้พิการได้เกินกว่าเป้าหมายการรับนักศึกษาที่ระบุไว้ใน มคอ.2 1. การรับนักศึกษาโครงการพิเศษผู้พิการจะรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนที่จำกัดรับไว้คือ20คนต่อปีเพื่อแก้ปัญหาการตกออก 2. ดำเนินการตามแผนงานรับสมัครนักศึกษาตามที่ตั้งไว้ เสริมด้วยการทำการตลาดทั้งผ่านสื่อโซเชียล เว็บไซต์ และการทำกิจกรรมให้เป็นที่รับรู้ของนักเรียนมากขึ้น 1. โครงการรับสมัครนักศึกษาใหม่ผู้พิการ (รับผิดชอบโดยรองคณบดีฝ่ายบริหารและเลขานุการคณะ) 2. โครงการ Economics Camp โครงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านเว็บไซต์และสื่อโซเชียลต่างๆ อาทิ Facebook Page, TikTok 1. รองคณบดีฝ่ายบริหารและเลขานุการคณะ 2. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา หัวหน้าหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต และเจ้าหน้าที่หลักสูตร
2) มีการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้พิการ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา มีการประเมินการเรียนการสอนโดยนักศึกษาและนำข้อเสนอแนะต่างๆมาวางแผนพัฒนา โครงการประเมินการเรียนการสอนโดยนักศึกษาผู้พิการ เลขานุการคณะและเจ้าหน้าที่หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
3) มีการพัฒนานักศึกษาในมิติที่หลากหลาย ทั้งทางด้านศักยภาพ และการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมความเข้มแข็งแก่นักศึกษาทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษา 1. โครงการพัฒนานักศึกษา 2. โครงการเตรียมความพร้อมบัณฑิตสู่การทำงาน 3. โครงการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต (การวิจัยและนำเสนองานวิจัย) 4. โครงการวิชาการ (แข่งขันตอบปัญหาและนำเสนอบทความวิจัย) 5. โครงการจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ 1. รองคณบดีฝ่ายบริหารและเลขานุการคณะ (การศึกษาดูงานของนักศึกษาพิการ) และ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (โครงการพัฒนานักศึกษา) 2. - 5. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา หัวหน้าหลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
4) หลักสูตรมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายทางวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางที่จะนำมาซึ่งโอกาสทางการศึกษา การฝึกงาน การวิจัย หรือการทำงานในอนาคต มีความร่วมมือกับองค์กร/หน่วยงานภายนอกต่อเนื่องและมากขึ้น โครงการความร่วมมือกับองค์กร/หน่วยงานต่างๆ อาทิ บิทคับ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สถานประกอบการต่างๆ สถาบันการศึกษาต่างๆที่เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ หัวหน้าหลักสูตรและรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) กระตุ้นให้อาจารย์ผู้รับผืดชอบหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น 1. มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกภาคการศึกษาเพื่อวางแผนและติดตามการผลิตผลงานวิชาการ โครงการส่งเสริมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้ผลิตผลงานวิชาการ โดยมีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น หัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรต้องมีการวางแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัย เช่น การเข้าร่วมประชุมวิชาการและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสาขาวิชาต่าง ๆ การสร้างสิ่งจูงใจหรือจัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัย ร่วมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของหลักสูตร รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของหลักสูตรต่อไป 1. มีการติดตามผลการผลิตผลงานวิชาการโดยเฉพาะงานวิจัยของอาจารย์ผ่านการประชุมคณะ 2. กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 3. เผยแพร่ผลงานของอาจารย์สู่สาธารณะเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตร 1. การประชุมคณะ 2. การเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ผ่านเว็บไซต์และสื่อโซเชียล 1 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2. หัวหน้าหลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตร
3) ควรมีการพัฒนาระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาผู้พิการ ในการศึกษาในหลักสูตร 1. พัฒนาระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาผู้พิการที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น 1. การประชุมเพื่อปรับปรุงพัฒนาระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาผู้พิการ รองคณบดีฝ่ายบริหารและหัวหน้าหลักสูตร