การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน และมีผลงานทางวิชาการที่ชัดเจน ยกระดับคุณภาพทางวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในด้านวิชาการและด้านปฏิบัติ เช่น การทำวิจัย เขียนบทความทางวิชาการ การทำงานร่วมกันของส่วนที่เกี่ยวข้อง - ทำจดหมายรับรองศักยภาพและความสามารถของอาจารย์ - ลดจำนวนการสอนและงานอื่นๆ ลง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของมหาวิทยาลัย - ให้เจ้าหน้าที่ นักศึกษาปริญญาร่วมสนับสนุนในการหาเอกสารข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการหลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตร
2) หลักสูตรมีการวางแผนพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง หลักสูตร (โดยผ่านเจ้าหน้าที่) จะแจ้งข้อมูลทุนวิจัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการทำให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทราบ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่เพิ่มทั้งองค์ความรู้และประสบการณ์ - หลักสูตรมีการเชิญวิทยากรภายนอกที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Economics มาบรรยาย จะแจ้งให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทราบ เพื่อเข้าฟังจะได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลทุนวิจัย การสัมมนา การร่วมงานกับภาคเอกชนหรือสถาบันต่างๆ ให้อาจารย์ทราบผ่าน line กลุ่ม ของคณาจารย์ - เจ้าหน้าที่ หรือคณาจารย์เชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญภายนอกผ่าน line กลุ่ม ของคณาจารย์ ผอ. ศูนย์วิจัยเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจ (อ.สิตานนท์) และเจ้าหน้าที่หลักสูตร
3) การปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอาจจะสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ผู้ประกอบการ ศิษย์เก่า เพื่อนำมาปรับปรุงรายวิชาให้มีความเข็มแข็งมากขึ้น - ในทุกปีหลักสูตรมีการสอบถามความคิดเห็นในด้านต่างๆ จากนักศึกษาเก่า นักศึกษาปัจจุบัน ทั้งในด้านวิชาการ คือ ตัวหลักสูตร รายวิชาที่เปิดสอน รวมทั้งการบริหารหลักสูตร - ในปี 2567 จะมีการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ด้วย - โครงการสำรวจความคิดเห็นนักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง - เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ทำการประมวลโดยเจ้าหน้าที่ ในการวิเคราะห์และนำไปปฏิบัติต่อไป คือ ผอ.หลักสูตร ผอ.หลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร - หลักสูตรแจ้งขั้นตอน วิธีการ ระเบียบ ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้ทราบ - มีอาจารย์พี่เลี้ยง ผศ.ดร. เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ เป็นผู้ดูแล - เจ้าหน้าที่หลักสูตรส่งระเบียบ ขั้นตอน วิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้อาจารย์ทราบโดยตรง และปิดประกาศที่บอร์ดของคณะฯ - โครงการอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อช่วยดูแลในด้านผลงานทางวิชาการ และขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่ง - เจ้าหน้าที่หลักสูตรส่งระเบียบ ขั้นตอน วิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้อาจารย์ทราบโดยตรง และปิดประกาศที่บอร์ดของคณะฯ - โครงการอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อช่วยดูแลในด้านผลงานทางวิชาการ และขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่ง
2) ควรผลักดันให้นักศึกษาเผยแพร่งานวิจัยในวารสารมากกว่าการประชุมทางวิชาการ โดยเฉพาะสำหรับผลงานวิทยานิพนธ์ - หลักสูตรมีการแจ้งสถาบัน หน่วยงานจ่างๆ ที่นักศึกษาสามารถลงบทความได้ผ่านช่องทาง line กลุ่ม Master - ด้วยนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ทำงานแล้วการเผยแพร่ผ่านการประชุมวิชาการใช้เวลาน้อย สะดวก รวดเร็ว เพื่อผลักดันการจบตามเกณฑ์ของหลักสูตร จึงไม่ขัดขวางการเผยแพร่ช่องทางนี้ - หลักสูตรโดยเจ้าหน้าที่ จัดส่งข้อมูลเรื่องวารสารต่างๆ ให้นักศึกษาทราบใน line กลุ่ม Master - หลักสูตรช่วยประสานงานกับวารสารต่างๆ หากนักศึกษาเกิดปัญหา ผอ.หลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตร
3) ควรผลักดันให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของหลักสูตรให้มากขึ้น - ทำความเข้าใจ และติดต่อกับ อาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อนักศึกษาได้เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำ IS และ Thesis เพื่อให้การทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษา และ นักศึกษาราบรื่น เสร็จตามกำหนด - ได้มีการกระตุ้นและช่วยนักศึกษาคิดหัวข้อตั้งแต่การสัมภาษณ์กับผอ.หลักสูตร เพื่อให้มีหัวข้อในการทำ IS และ Thesis ตั้งแต่แรกเข้า - หลักสูตรมีการจัดทำตารางความคืบหน้าสถานะของนักศึกษาทุกคน ทำให้หลักสูตรสามารถติดตาม กระตุ้น และช่วยเหลือนักศึกษาให้จบตามกำหนด - การติดตามนักศึกษา ช่วงทำ IS และ Thesis หลักสูตรให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหลัก แต่ถ้าพบปัญหาหลักสูตรจะช่วยในการติดตาม - ทำความเข้าใจกับอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการประชุมคณะและแจ้งสถานภาพนักศึกษาให้ทราบ พูดคุยเป็นการส่วนตัว - การสัมภาษณ์นักศึกษาเข้าใหม่ โดยผอ.หลักสูตร - อาจารย์ที่มีปัญหาการติดต่อกับนักศึกษา แจ้งในทีประชุมคณะ แจ้งผ่านผอ. แจ้งเจ้าหน้าที่โดยตรง ผอ.หลักสูตร อาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาทุกท่านและเจ้าหน้าที่หลักสูตร
4) ควรระบุปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นทั้งที่มาจากข้อเสนอแนะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน/คณะกรรมการบริหารคณะ/คณะกรรมการบริหารหลักสูตร/คณะกรรมการยุทธศาสตร์ตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่/ผู้ใช้บัณฑิต และอื่นๆ - ในปีการศึกษาต่อไปจะดำเนินการรวมปัญหา อุปสรรค ข้อคิดเห็นจากคณะบุคคลต่างๆ - รวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอต่างๆ จากการประเมินคุณภาพในปีที่ผ่านมา จากการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ จากแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บัณฑิตต่อไป เจ้าหน้าที่รวบรวม สิ่งต่างๆ ทั้งหมด