การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยาและตจศัลยศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีหลากหลายกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการทำงานวิจัย แต่ยังขาดความชัดเจนในการประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่วางไว้ จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านงานวิจัย และกิจกรรมการติดตามความก้าวหน้าในการทำวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีแนวคิดในการวางแผนงานวิจัยได้เพิ่มมากขึ้น - กิจกรรมติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ - กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านงานวิจัย คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
2) หลักสูตรมีความชัดเจนและมีขั้นตอนในการควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา แต่ยังขาดการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละปีการศึกษาที่จะนำไปสู่การได้เห็นแนวโน้มของความสำเร็จตามเป้าหมาย จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านงานวิจัย และกิจกรรมการติดตามความก้าวหน้าในการทำวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีแนวคิดในการวางแผนงานวิจัยได้เพิ่มมากขึ้น - กิจกรรมติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ - กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านงานวิจัย คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3) หลักสูตรมีความชัดเจนในระบบและกลไกในการพิจารณากระบวนการเรียนการสอนและสาระรายวิชา รวมถึงการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา แต่ยังขาดความชัดเจนในการประเมินผลการดำเนินงานและแนวทางในการปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไป ได้มีการทวนสอบหลังจบรายวิชา เพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนการสอน - การประเมินผล ประชุมทวนสอบรายวิชา คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เนื่องจากนับตั้งแต่เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2562 ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา ดังนั้นหลักสูตรจึงควรมีการจัดทำแผนงานและมาตรการในการทำงานวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคคล เป้าหมาย : เพื่อให้นักศึกษาปริญญาโทสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีกิจกรรมการพัฒนา ดังนี้ 1) การติดตามความก้าวหน้า ผ่าน google form และ Zoom Conference ทุก ๆ 2 เดือน สำหรับนักศึกษาที่มีความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์เป็นไปตามแผน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา 2) การให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีแนวโน้มว่าจะจบการศึกษาไม่เป็นไปตามกำหนด โดยจัดประชุม เพื่อให้คำปรึกษาทุกเดือน และมีการวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา 3) ให้คำแนะนำแนวทางการนำเสนอผลงานทางวิชาการผ่านงานประชุม และการตีพิมพ์ในวารสาร ทางการแพทย์ 4) ทางหน่วยงานวิจัย จัดให้มีการให้คำปรึกษาด้านสถิติ เพื่อช่วยในการทำวิทยานิพนธ์ 5) จัดอบรมด้านการวิจัยให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 6) มีการประเมินรายวิชาวิทยานิพนธ์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็น Satisfy, Unsatisfy ซึ่งก่อนจบแต่ละเทอมนักศึกษาต้องเอาใบประเมินไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาประเมิน ดังนี้ - ชั้นปีที่ 1 เทอม 1 นักศึกษาควรพบอาจารย์ที่ปรึกษา 3 ครั้ง - ชั้นปีที่ 1 เทอม 2 นักศึกษาต้องเขียนโครงร่าง 3 บท ส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ - ชั้นปีที่ 2 เทอม 1 สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ - กิจกรรมติดตามความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ และให้คำปรึกษาในการทำวิทยานินพธ์ - กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านงานวิจัย และ แนะแนวการนำเสนอผลงานวิชาการ และแหล่งตีพิมพ์ผลงาน - การให้คำปรึกษาด้านสถิติ - อบรมด้านการวิจัย - กิจกรรมประเมินรายวิชาวิทยานิพนธ์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
2) หลักสูตรควรมีการจัดทำแผนงานของการมีผลงานวิจัยและการมีตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นรายบุคคล สนับสนุนให้มีการอบรมด้านการวิจัย กิจกรรมการอบรมด้านการวิจัย คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3) หลักสูตรควรมีแนวทางในการเพิ่มอัตรากำลังของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรับนักศึกษา เป้าหมาย คือ ในปีการศึกษา 2567 สามารถเพิ่มอัตรากำลังของอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้จำนวน 2 คน โดยหลักสูตรได้ดำเนินการติดต่ออาจารย์แพทย์เกษียณอายุราชการไว้จำนวน 2 ท่าน - คณะกรรมการบริหารหลักสูตร