การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักสูตรวิศวกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น และพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์ให้ทันสมัย และมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานภายนอก หลักสูตรมีอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการครบทั้งหมดแล้ว - 1.คณะกรรมการหลักสูตร
2) คณาจารย์มีผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเผยแพร่เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องทั้งในการประชุมวิชาการและในวารสารและได้รับการอ้างอิงใน scopus คณาจารย์มีผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเผยแพร่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว - 1.คณะกรรมการหลักสูตร
3) นักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติก่อนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมขึ้นไปอีกในรายวิชา Research Methodology โดยจะเพิ่มการฝึกเขียนบทความงานวิจัยซึ่งทำเป็นรูปแบบของการส่งงานและวิจารณ์งานเขียนโดยอาจารย์พิเศษที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับการทำงานวิจัยด้วย เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการเขียนจริงและสามารถต่อยอดกับงานตีพิมพ์ของผลงานวิจัยตนเองได้ กิจกรรมขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การตีพิมพ์บทความทางวิชาการ 1.คณะกรรมการหลักสูตร 2.อาจารย์พิเศษ
4) วิทยาลัยมีห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพและทันสมัย มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน มีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือร่วมกับหน่วยงานอื่นในมหาวิทยาลัยและมี MOU ที่ใช้งานได้จริง จะดำเนินการจัดทำ MOU กับ มหาวิทยาลัยต่างๆเพิ่มเติม เช่น ม.เชียงใหม่ เพื่อให้มีห้องแลปเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของผู้เรียน จัดทำ MOU กับ ม.เชียงใหม่ 1.คณะกรรมการหลักสูตร
5) เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพิ่มรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานและการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของเทคโนโลยี ชีวการแพทย์ รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ขั้นสูง และวิศวกรรมการดูแลสุขภาพอัฉริยะ ปรับปรุงหลักสูตร 2567 ซึ่งดำเนินการไปแล้วอยู่ระหว่างอนุมัติจาก สป.อว. 1.คณะกรรมการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนนักศึกษาแรกเข้าและคงอยู่น้อย ดำเนินการจัดทำความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐให้ส่งบุคลากรมาเรียนต่อปริญญาเอก จัดทำ MOU กับองค์กรภาครัฐ คณะกรรมการหลักสูตร
2) การทำให้ นศ. จบการศึกษาในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากมีปัญหาในการบริหารหลักสูตรในเรื่องการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา เนื่องมาจากสาเหตุคือนักศึกษามีความล่าช้าในการเขียนเล่มวิทยานิพนธ์และการทำวิจัย ทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ จึงทำการประชุมร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสนอแนะให้นักศึกษามีการรายงานความคืบหน้างานวิจัยและการเขียนเล่มวิทยานิพนธ์เป็นระยะ แก่อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร กิจกรรมการรายงานความคืบหน้างานวิจัยและการเขียนเล่มวิทยานิพนธ์ 1.คณะกรรมการหลักสูตร 2.อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
3) ควรกำกับดูแลให้นักศึกษาคนอื่นๆในหลักสูตรให้มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ และมีความก้าวหน้าในการทำดุษฎีนิพนธ์ เพื่อสำเร็จการศึกษา จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมขึ้นไปอีกในรายวิชา Research Methodology โดยจะเพิ่มการฝึกเขียนบทความงานวิจัยซึ่งทำเป็นรูปแบบของการส่งงานและวิจารณ์งานเขียนโดยอาจารย์พิเศษที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับการทำงานวิจัยด้วย เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการเขียนจริงและสามารถต่อยอดกับงานตีพิมพ์ของผลงานวิจัยตนเองได้ กิจกรรมขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การตีพิมพ์บทความทางวิชาการ 1.คณะกรรมการหลักสูตร 2.อาจารย์พิเศษ