การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนในน้อยมหาวิทยาลัย 1) รับสมัครอาจารย์เพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง ซึ่งมีความรู้ความชำนาญในสาขาระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ สาขา rolling stock และ สาขาระบบการจ่ายไฟให้กับระบบราง เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้สามารถสอนรายวิชาเฉพาะทางที่เกี่ยวกับวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง และช่วยส่งเสริมการทำงานวิจัยภายในสาขาฯ ให้มีองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมระบบรางเป็นของมหาวิทยาลัยรังสิต 2) ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและส่งเข้าประกวด หรือส่งข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุน StartUp อย่างสม่ำเสมอ 1) ขออนุมัติตำแหน่งอาจารย์ประจำ ที่มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอก และมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปี จากทางมหาวิทยาลัย 3 ตำแหน่ง ในสาขาระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ สาขา rolling stock และ ระบบการจ่ายไฟให้กับระบบราง 2) ส่งผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษา เพื่อขอสนับสนุนเงินทุน Start Up จาก Ted-Fund กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างน้อย 1 ชิ้น และทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ได้แก่ Facebook You Tube และรายการโทรทัศน์ หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง
2) หลักสูตรทำสหกิจได้ร้อยละ 100 และสามารถนำสหกิจมาปรับวิธีการเรียนการสอน 1) กระตุ้นให้นักศึกษาเร่งทำโครงงานสหกิจศึกษาในแต่ละปีการศึกษาให้สำเร็จโดยเร็ว 2) นำผลงานจากโครงงานสหกิจที่มีคุณภาพมาเป็นกรณีศึกษาในการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาอยากเรียนรู้และเข้าใจแนวทางการทำงานในอนาคตมากขึ้น 1) แจ้งให้อาจารย์และนักศึกษาหาหัวข้อและทำโครงงานสหกิจตั้งแต่เริ่มเปิดภาคการศึกษา S/2566 2) คัดเลือกผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์หรือแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานจากโครงงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา ที่มีคุณภาพดี จากการประเมินโดยกรรมการสอบโครงงานสหกิจภายใน หรือได้รับคำชม รางวัล หรือเงินทุนสนับสนุน จากกรรมการหน่วยงานภายนอกที่เป็นผู้มอบรางวัลให้ และนำเสนอให้นักศึกษามองเห็นจุดเด่นของโครงงาน และความมีประโยชน์ต่อวิชาชีพวิศวกรรมระบบราง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานสหกิจศึกษาแต่ละโครงงาน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้สามารถสอนวิชาในหลักสูตรให้มากขึ้น ลดอาจารย์พิเศษให้น้อยลง 1) ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเข้ารับการอบรมทางวิชาการทีเกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมระบบราง 2) ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการ และทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมระบบราง 1) กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการ และทำวิจัย โดยเน้นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมระบบราง เพื่อให้อาจารย์ฯมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบรางมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่อาจารย์ยังคงยึดติดกับสาขาเดิมและยังคงเขียนบทความวิชาการ หรือทำงานวิจัยที่ยังคงเกี่ยวข้องกับสาขาต้นสังกัดเดิม 2) กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ส่งบทความในงานประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ และวารสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ปีละ 1 เรื่อง หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบรางและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน
2) ประชาสัมพันธ์และแนะแนวหลักสูตรรวมถึงผลงานงานบริการวิชาการให้มากขึ้น ในหลายช่องทาง เช่น ทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ ส่งเสริมให้นักศึกษา จัดสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อส่งเข้าประกวด และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงาน และความสามารถของนักศึกษา ให้บุคคลภายนอกรับทราบ 1) นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันจัดสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อส่งเข้าประกวด และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทั้งทางโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงาน และความสามารถของนักศึกษา ให้บุคคลภายนอกรับทราบ 2) เปิดหน่วยให้คำปรึกษาหรือชมรมโดยนักศึกษาและอาจารย์เพื่อให้คำแนะนำแก่นักศึกษา ม.รังสิต หรือ อาจารย์ที่สนใจในการส่งนวัตกรรมเข้าประกวดเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุน startup (Ted Fund) หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง อาจารย์ประจำหลักสูตร และบุคลากรของสาขาฯ