# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีนักศึกษาเข้าใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปีการศึกษา 2564 และ 2565 |
ทางหลักสูตรได้จัดทำหลักสูตร โดยอ้างอิง ทักษะความรู้จากบริษัทผู้ใช้งานบัณฑิตจริง ในตลาดแรงงานด้านธุรกิจดิจิทัล ในการออกแบบหลักสูตรที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการ ของนักศึกษาในปัจจุบัน และ ทางหลักสูตรยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ หลักสูตร ด้านดิจิทัล อย่างมากมาย |
โครงการสหกิจศึกษา ดำเนินการโดยหัวหน้าสาขา ตรวจเยี่ยม นักศึกษาที่สถานประกอบการจริง ทุกคน เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการและการใช้งาน ด้านดิจิทัลเพื่อนำปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งยังได้จัดทำโครงการ ผูกกับวิชาเรียนในแต่ละชั้นปี เพื่อใช้ในการโปรโมทสาขาด้านดิจิทัล |
หัวหน้าสาขา |
2) |
หลักสูตรมีความทันสมัย น่าสนใจ และเหมาะกับสภาพสังคม ณ ปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการประกอบอาชีพต่อไป |
โครงการสหกิจศึกษา หัวหน้าสาขาได้ทำการตรวจเยี่ยม นักศึกษาที่สถานประกอบการจริงและทำการสอบถามสถานประกอบการ ถึงองค์ความรู้และทักษะต่างๆที่จำเป็นจะต้องมีรวมถึงคำแนะนำเพิ่มเติม ถึงเทคโนโลยี ด้านดิจิทัลที่ใช้ในธุรกิจจริง เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันพร้อมใช้งาน เมื่อศึกษาจบ รวมทั้งหัวหน้าสาขายังได้ติดตามนักศึกษา ที่จบไปแล้ว 1-3 ปี ที่ได้ทำงานในสายงานด้านดิจิทัล เพื่อนำองค์ความรู้ที่นักศึกษาได้ใช้จริงในสายงานนี้ มาปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ |
โครงการสหกิจศึกษา และ รายวิชาสัมมนาทางธุรกิจดิจิทัล DBS490 ได้เชิญวิทยากรพิเศษ และศิษย์เก่า ที่มีความรู้ในสายงานธุรกิจดิจิทัล มาให้ความรู้และประสบการณ์ตรงที่จำเป็นต้องมี ในการทำงานสายงานธุรกิจดิจิทัล |
หัวหน้าสาขา |
3) |
มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างจริงจัง ส่งผลให้รับนักศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น |
ทางสาขาธุรกิจดิจิทัล ได้จัดทำแผนงานในการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางแบบเป็นระบบ โดยได้แบ่งรูปแบบการทำงานออกเป็น 2 แนวทางคือ แนวทางที่ 1 คอนเทนต์และเนื้อหาที่มาจากรายวิชาที่เรียนอยู่จริง เช่น DBS312, DBS415 และ DBS490 ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมทด้านสื่อดิจิทัลโดยตรง และแนวทางที่ 2 คือนักศึกษาทุนของสาขา ในการออกและดูแลสื่อ ของสาขาอย่างเป็นระบบโดยมีการประชุมติดตามทุก สัปดาห์ ในแต่ละสื่อ เช่น Facebook ,TikTok, Instagram, YouTube, LineaOA, X, website (dbsrsu.com) |
การประชุม Digital Media update ประจำสัปดาห์ ของนักศึกษาทุน สาขาธุรกิจดิจิทัล |
หัวหน้าสาขา |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
สนับสนุนให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการ |
ทางสาขากำหนดเป้าหมายให้อาจารย์ในสาขามีตำแหน่งทางวิชาการ โดยสาขาได้สนับสนุนอาจารย์ให้มีเวลาในการทำวิจัยเพื่อขอผลงานทางวิชาการมากขึ้น และขอให้อาจารย์ประจำสาขาทำผลงานวิชาการทุกคน ทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ผลงาน |
อาจารย์ประจำสาขาอยู่ในระหว่างทำงานวิจัยเพื่อขอผลงานทางวิชาการ |
หัวหน้าสาขา |
2) |
ส่งเสริมให้อาจารย์เรียนต่อในระดับปริญญาเอก และทำผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น |
ทางสาขากำหนดเป้าหมายให้อาจารย์ในสาขามีตำแหน่งทางวิชาการ โดยสาขาได้สนับสนุนอาจารย์ให้มีเวลาในการทำวิจัยเพื่อขอผลงานทางวิชาการมากขึ้น |
อาจารย์ประจำสาขาอยู่ในระหว่างทำงานวิจัยเพื่อขอผลงานทางวิชาการ |
หัวหน้าสาขา |
3) |
ควรพิจารณาเพิ่มรายการเอกสารอ้างอิงในบางตัวบ่งชี้เพื่อสะท้อนความสำเร็จในการบริหารหลักสูตร |
ทางสาขาทำรายงานสำหรับกิจกรรม และผลงานด้านวิชาการที่นักศึกษาได้ ทำทุกชั้นปี เพื่อสะท้อนการบริหารความสำเร็จในการทำงานของหลักสูตร ซึ่งจัดทำในรูปแบบของPDCAเพื่อนำไปปรับปรุงสาขาให้ดียิ่งขึ้น |
การจัดทำรายงาน กิจกรรมและ ผลการดำเนินงานได้วิชาการของนักศึกษาในรูปแบบPDCA ทุกงานตลอด ปีการศึกษา |
หัวหน้าสาขา |
4) |
เมื่อมีการประเมินความสำเร็จ หรือประเมินความพึงพอใจ ควรดำเนินการให้ถึงการนำผลไปปรับปรุงหรือพัฒนาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม |
ในการจัดทำโครงการและกิจกรรมใหม่ๆในแต่ละปี ได้นำรายงานการประชุม ของปีที่แล้ว ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของPDCAมาปรับปรุง โครงการและกิจกรรม ในปีปัจจุบัน ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้เห็นผลเป็นแบบรูปธรรมมีการกำหนด เกณฑ์การวัดผล ที่ดี มากขึ้น ในเชิงปริมาณ |
การจัดทำ แผนการดำเนินงานของกิจกรรมและโครงการ โดยนำหลักPDCAของโครงงานที่เกี่ยวข้องในปีที่แล้ว มาเป็นมาตรฐานและกำหนดเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจนในแบบเชิงปริมาณ |
หัวหน้าสาขา |