การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมการค้าปลีก

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรการตลาดดิจิทัลฯ เป็นหลักสูตที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของผู้เรียน ที่มีความสร้างสรรค์งานและแนวคิดที่แตกต่างและแปลกใหม่เสมอ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้เรียนผ่านการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรโดยเสมอ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหลักสูตรมีการประชุมสาขาตลอดปีการศึกษาในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นจุดแข็งที่ควรดำเนินการให้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดไป คณาจารย์ในสาขามีการประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ผู้เรียน มีการประชุมร่วมกันของคณาจารย์ในสาขาก่อนและหลังภาคการศึกษา หัวหน้าหลักสูตรและคณาจารย์ในสาขา
2) มีการวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้ประกอบการต่อการใช้บัณฑิตสาขาการตลาดดิจิทัลฯ อยู่ในระดับดี บัณฑิตมีความสามารถและทำงานได้ดี พร้อมเรียนรู้และรับประสบการณ์ใหม่ๆ ตลาดเวลา แต่ควรพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพิ่มเติม และความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การตัดต่อคลิปวิดิโอ การทำอินโฟกราฟฟิคต่างๆ เป็นต้น -มีการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาในสาขา โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเวียดนาม ในการทำแผนการตลาดผ่านวิชา DMR490 สัมมนาการตลาด เป็นภาษาอังกฤษ และนำเสนอผลงานร่วมกันของนักศึกษาไทยและเวืยดนามเป็นภาษาอังกฤษกับคณะกรรมการของไทยและกัมพูชา - มีการนำข้อเสนอแนะจากบริษัทผู้ประกอบที่นักศึกษาไปฝึกงาน มาพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น ฝึกให้นักศึกษาใช้แอฟพริเคชั่นต่างๆในวิชา DMR301 การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ โครงการความร่วมมือสร้างแผนการตลาดกับมหาวิทยาลัยเวียดนาม ผ่านวิชา DMR490 กิจกรรมฝึกให้นักศึกษาใช้แอฟพริเคชั่นต่างๆในวิชา DMR301 การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ หัวหน้าสาขา และอาจารญ์ผู้สอนวิชา DMR490 และ DMR301
3) หลักสูตรมีอัตราการคงอยู่และอัตรการสำเร็จในปีการศึกษา 2565 ที่ดีขึ้น ด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งผลจากการบริหารหลักสูตรการมีเครื่อข่ายรุ่นพี่ การทำชชั่วโมง Homeroom เป็นต้น จึงควรรักษามาตรฐานนี้ได้เพื่อคาดหวังแนวโน้มที่ดีต่อไป -มีการติดต่อสื่อสารประสานความร่วมมือระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องผ่านกิจกรรมของสาขามากขึ้น ทั้งในงานกิจกรรมต่างๆ เช่น ปฐมนิเทศน์ ปัณฉิมนิเทศน์ รับน้องสาขา open house และอื่นๆ - การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแลและให้คำแนะนำผ่านช่องทางทั้งออนไลน์ และที่มหาวิทยาลัย - มีการจัดติววิชาคำนวณ เช่น สถิติ บัญชี โดยรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ก่อนสอบทุกภาคการศึกษา -โดรงการติวรุ่นน้องเตรียมตัวสอบโดยรุ่นพี่ - งานกิจกรรมต่างๆของสาขา เช่น การปฐมนิเทศน์ งานรับน้องสาขา งานปัณฉิมนิเทศน์ และอื่นๆ - การกำหนดชั่วโมงการทำงานที่ปรึกษาของอาจารย์ในทุกสัปดาห์ และช่องทางการติอต่อทางออนไลน์แก่นักศึกษา คณาจารย์ ในสาขา และนักศึกษารุ่นพี่สาขาการตลาดดิจิทัล
4) หลักสูตรมีการสนับสนุนให้นักศึกษาลงแข่งขันแผนการตลาดกับสถาบันภายนอกทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตร แต่เนื่องจากการรับนักศึกษาใหม่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจึงควรมีการวางแผนขยายความร่วมมือกับสถาบันทั้งภายในและต่างประเทศในการส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้น มีการติดต่อและประสานงานกับหน่อยงานภายนอกเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษานำเสนอผลงานสู่สาธารณะ เช่น สมาคมการตลาด บริษัทเอกชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นักศึกษาสาขาการตลาดดิจิทัลเข้าร่วมแข่งขันแผนการตลาดกับสถาบันภายนอกทั้งในและต่างประเทศ หัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์ประจำสาขา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรมีแผนการพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล ที่ตอบกับศักยภาพให้ครอบคลุมด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ มีการกำหนดให้อาจารย์ในสาขาทุกท่าน ทำแผนการพัฒนาตนเองส่งให้หัวหน้าสาขาและคณะเพื่อติดตามการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์แต่ละท่าน จัดทำแผนพัฒนาตัวเองส่งให้สาขา หัวหน้าสาขา
2) หลักสูตรควรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิชาการโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้พร้อมตอบรับการกำกับมาตรฐานหลักสูตรในอนาคต สนับสนุนให้อาจารย์ในสาขามีการทำงานวิจัยร่วมกันเพื่อสร้างผลงานวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะ โครงการร่วมมือสร้างงานวิจัยของสาขา โดยอาจารย์ในสาขาจับคู่ทำวิจัย และเผยแพร่ผลง่นวิจัยสู่สาธารณะ คณาจารย์ในสาขา
3) ควรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลฯ ให้กับผู้เรียนในหลักสูตรให้มากกว่านี้ มีการเสนอต่อผู้บริหารคณะเพื่อสร้างห้องปฎิบัตการด้านการตลาดดิจิทัล โดยเป็นห้องที่นักศึกษาสามารถมาถ่ายทำ และตัดต่อเพื่อทำContent Marketing ,แลัวมีแอฟพริเคชั่นต่างๆเพื่อรองรับการสร้างผลงานของนักศึกษา โคงการพัฒนาห้องปฎิบัตการด้านการตลาดดิจิทัล คณะกรรมการคณะบริหารธุรกิจ
4) อาจารย์ในหลักสูตรควรมีแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการรายบุคคล อาจารย์ทุกท่านต้องมีผลงานวิชาการในทุกปี เพื่อเตรียมขอตำแหน่งวิชาการ ผลิตผลงานวิชาการในทุกปีอย่างน้อย 1 ชิ้น เช่น บทความวิชาการ ตำรา เอกสารคำสอน ผลงานวิจัย คณาจารย์ในสาขา