การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการร่วมมือกับสถานประกอบและความร่วมมือทางหลักสูตรทวิภาษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา โดยส่งผลให้ในปีการศึกษา 2566 สามารถเพิ่มจำนวนนักศึกษารับเข้าได้เกินจากเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด เพิ่มกระบวนการคัดกรองนักศึกษาที่มีความต้องการศึกษาในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายและการสร้างเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดปีการศึกษา 2566 อาทิเช่น 1. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ด้านการจัดการโลจิสติกส์ 2. โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (ITBS) 3. สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) 4. ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) คลองหก จ.ปทุมธานี 1. โครงการการศึกษาดูงานการบริหารระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 2. กิจกรรมการบูรณาการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ (ภาครัฐและเอกชน) หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
2) หลักสูตรมีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย และผลักดันให้เข้าสู่ในระดับนานาชาติ สนับสนุนนักศึกษาภายในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เข้าร่วมโครงการและกิจกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 1. โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมืออาชีพ 2. โครงการเรียนรู้ร่วมกันในความเป็นนานาชาติระหว่างนักศึกษาไทยหรืออาจารย์และนักศึกษาต่างชาติ 3. โครงการก้าวสู่โลกของผู้นำด้วยกิจกรรมนักศึกษา (ครั้งที่ 26) 4. โครงการสร้างนักบริหารและผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ 5. โครงการการศึกษาดูงานการบริหารระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 1. คณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจ 2. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรพิจารณาวางแผนในเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่ทางหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้วางไว้ ติดตามแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ตามกรอบหรือแนวทาง ในการพัฒนาบุคลากรภายในสาขาวิชา ซึ่งกำหนดให้ระบุจัดทำผลงานวิชาการ (บทความ/บทความวิจัย/วิจัย) เพื่อเป็นการกระตุ้นและต่อยอดการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในลำดับแรกให้มากขึ้น แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ประจำปี 2566 1. รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะบริหารธุรกิจ 2. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
2) หลักสูตรควรสนับสนุนและพัฒนาผลงานทางวิชาการโดยยกระดับให้ตีพิมพ์ในระดับที่สูงขึ้นเป็นวารสารทั้งในและต่างประเทศ มากกว่าการนำเสนอในการประชุมวิชาการ สนับสนุนให้คณาจารย์ภายในสาขาวิชาฯ เข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับที่สูงขึ้นภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการเขียนข้อเสนอการวิจัยร่วมกับสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ด้านการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อให้ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ 1. โครงการอบรม เรื่องการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัยของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต 1. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต 2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะบริหารธุรกิจ 3. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
3) หลักสูตรควรใช้กระบวนการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเข้ามาเรียนหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้มากขึ้น จัดทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรร่วมกับส่วนกลาง "คณะบริหารธุรกิจ" ภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เช่น SMS, Event และสื่อออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น โครงการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย 1. คณบดีคณะบริหารธุรกิจ 2. คณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจ 3. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน