# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีการร่วมมือกับผู้ประกอบ และความร่วมมือทางหลักสูตรทวิภาษา บูรณาการเรียนการสอน และกิจกรรมของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง |
ปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจกรรมของนักศึกษาเพื่อพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยเพิ่มการสร้างเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเชิญผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญเข้าร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตร
1. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ด้านการจัดการโลจิสติกส์
2. สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
3. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (POT)
4. ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) คลองหก จ.ปทุมธานี
|
1. โครงการการศึกษาดูงานการบริหารระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
2. กิจกรรมการบูรณาการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ (ภาครัฐและเอกชน)
3. กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน |
หัวหน้าสาขาฯ และอาจารย์ประจำหลักสูตร |
2) |
หลักสูตรมีการสื่อสารและการทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้หลักสูตรเป็นที่รู้จัก และมีจำนวนนักศึกษารับเข้าได้เกินจากเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด |
หลักสูตรมีการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อสื่อสารหลักสูตรให้เป็นที่รู้จักทั้ง ONLINE & OFFLINE ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย |
โครงการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย |
1. คณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจ
2. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรมีแนวทางและกระบวนการส่งเสริมให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด |
หลักสูตรได้เพิ่มเติมการให้คำปรึกษาด้านการลงทะเบียนเรียน ทบทวนเนื้อหา เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัยท้ายคาบเรียนและชั่วโมง counseling (นอกห้องเรียน) เพื่อให้นักศึกษาได้มีแผนการณ์และเป้าหมายสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด |
กิจกรรม counseling นอกห้องเรียน นักศึกษาสามารถติดต่อที่ปรึกษาทั้งonline และ onsite |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
2) |
หลักสูตรควรส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการและวิจัยและต่อยอดเพื่อผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ |
หลักสูตรได้มีการส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตผลงานวิจัยใหม่ๆ ในด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เพื่อผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ |
1.โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์ด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
2. แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ประจำปี 2567 |
1. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะบริหารธุรกิจ
3. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |
3) |
หลักสูตรควรมีการบูรณาการรายวิชาร่วมกับองค์กรภายนอก เพิ่มโอกาสการได้งานทำสำหรับบัณฑิต |
หลักสูตรได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์รองรับธุรกิจการขนส่งและการค้า เพื่อเพิ่มโอกาสการได้งานทำสำหรับบัณฑิต |
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์รองรับธุรกิจการขนส่งและการค้า (TIFFA) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
4) |
ทบทวนการเขียนรายงาน RQF.7 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น |
หลักสูตรได้มีการปรับปรุงการเขียนรายงาน RQF.7 ให้เนื้อหาครบถ้วน ทันสมัย และมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น |
กิจกรรมอบรมการเขียนรายงาน RQF.7 ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนรู้ของสำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต |
หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |