การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีหลักสูตรที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและงานถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ใช้โครงการ visual symbiosis ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาพถ่ายอย่างสม่ำเสมอทุกปี 1. โครงการ visual symbiosis 2. โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ในแขนงของวิชาชีพ ทั้ังภาพนิ่ง และวีดีโอ อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ
2) มีโครงการพัฒนานักศึกษาที่ดีหลายโครงการที่เชื่อมรายวิชาเข้าด้วยกันส่งผลให้คุณภาพนักศึกษาเป็นที่ยอมรับจากภายนอก และมีโครงการ กิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน เน้นลงมือปฏิบัติที่หลากหลายซึ่งช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำพานักศึกษาศึกษาดูงานนอกสถานที่ ทั้ังสายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อฝึกประสบการณ์จริง โครการ visual symbiosis ในการจัดแสดงผลงานวิชาการของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลั อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ
3) มีการสนับสนุน ผลักดันเเละส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานในหลายรูปเเบบ อาทิเช่น การส่งผลงานประกวด ร่วมจัดเเสดงผลงานสร้างสรรค์ในเวทีต่างๆ ทั้งระดับชาติเเละนานาชาติ อีกทั้งหลักสูตรเองมีเเผนระยะยาวในการสร้างคุณภาพอาจารย์ด้านการค้นคว้าวิจัยเพื่อทำตำเเหน่งทางวิชาการอันสะท้อนผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ส่งเสริมและสนับสนุน และผลักดันให้นักศึกษาได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นประจำทุกปี 1. โครงการ young thai artists award 2. โครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างประเทศ อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ระบบการดูแลนักศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษา และหาแนวทางในการแก้ไขด้านอัตราการสำเร็จการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาจบตามเกณฑ์ 1. ทางสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายฯ ได้ตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อดูแลนักศึกษาแต่ละชั้นปี 2. มีการตั้ง Application Line ของกลุ่มนักศึกษาแต่ละชั้นปี เพื่อติดตามผลการเรียนและสอบถามข้อมูล กรณีนักศึกษาบางคนมีปัญหา 1. โครงการ outing nursery workshop เพื่อสานสัมพันธ์ในกลุ่มนักศึกษาทุกชั้นปี 2. โครงการพานักศึกษาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อเพิ่มทักษะในการถ่ายภาพ หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ และคณาจารย์ในสาขาฯ
2) ผลักดันเรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกของอาจารย์ประจำหลักสูตร รวมถึงการดำรงตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มากขึ้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศึกษาต่อป.เอก และดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้มีการจัดแสดงผลงานวิชาการระดับนานาชาติทุกปี โดยแสดงในประเทศ และต่างประเทศ หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ รวมทั้งคณาจารย์ทุกท่านในสาขา
3) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอาจมีความหลากหลายช่องทางให้มากขึ้น เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มนักเรียนที่สนใจ จนสามารถเพิ่มยอดนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร มีการปรับปรุง ข้อมูลในสื่อ Social media ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา มีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ก่อนเข้าเรียน คือโครงการ So real ที่สาขาฯได้ดำเนินการจัดทุกปี อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ
4) หลักสูตรควรมีการเก็บข้อมูลเชิงลึกของบัณฑิตที่จบออกไปประกอบอาชีพตรงสาย หรือประกอบอาชีพอิสระอย่างน้อย 5 ปีย้อนหลัง เพื่อนำผลมาวิเคราะห์หรือเป็นข้อมูลป้อนกลับสู่การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด เเละการประกอบอาชีพอิสระที่สัมพันธ์กับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร มีการจัดเก็บข้อมูลของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วเป็นประจำทุกที เพื่อทราบข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต 1. มีการจัดตั้งกลุ่มศิษย์เก่าเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องและแจ้งข่าวการรับสมัครงาน 2. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้บัณฑิตได้ทราบเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่สนใจรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ตลอดเวลา อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ