การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรประกอบไปด้วยอาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ศิลปะภาพถ่ายเเละสื่อทัศนภาพ มีความรอบรู้ทั้งด้านวิชาการเเละด้านการประกอบวิชาชีพ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิชาการ งานสร้างสรรค์ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติ ทั้งได้รับทุนสร้างสรรค์ และทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกและภายใน วางแผนพัฒนารายบุคคล กำหนดค่าเป้าหมาย ผลงานสร้างสรรค์ การขอรับทุนวิจัยภายใน งานสรา้งสรรค์ภายนอก อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ 1. Work In Progress 2. แผนพัฒนารายบุคคล( IDP) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ หัวหน้าหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรมีระบบและกลไกการดำเนินงานด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้ได้รับรางวัลและเป็นที่ยอมรับของวงการวิชาชีพ และมีความสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมและสนับสนุน และผลักดันให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมประกวดระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นประจำทุกปี พานักศึกษาทัศนศึกษาดูงานนิทรรศการศิลปะนอกสถานที่ 1. โครงการ Young Thai Artists award 2. ศิลปนิพนธ์ 3. การศึกษาดูงาน ทัศนศึกษานิทรรศการศิลปะ ผศ. อำพรรณี สะเตาะ และกรรมการศิลปนิพนธ์
3) หลักสูตรฯ มีการปรับทักษะและความรู้ทางด้านวิชาการให้มีความทันสมัยทั้งในด้านภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และสื่อต่างๆที่เน้นให้นักศึกษามีการทำงานสร้างสรรร่วมกันเป็นทีมมากขึ้น ผลงานนักศึกษามีจุดเด่นในเรื่องการสร้าง concept ร่วมกับ creative ซึ่งจะทำให้นักศึกษาทดลองการทำงานในเรื่องเทคนิคที่หลากหลายมากขึ้น จะทำให้นักศึกษาทำงานในเชิงวิชาชีพได้จริง โดยกระบวนการทำงานมีลักษณะของการทำงานในเชิงวิชาชีพ และผลงานมีความใกล้เคียงกับงานของมืออาชีพ ขอให้รักษาคุณภาพงานและพัฒนาในแง่คุณภาพต่อไป พัฒนาองค์ความรู้ภาพถ่ายร่วมสมัยและสื่อใหม่สม่ำเสมอทุกปี ปรับปรุงตารางสอน การบูรณาการผู้สอน การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตรวจผลงาน Term Project และเชิญวิทยากรภายนอก 1. โครงการ Visual Symbiosis 2. หลักสูตรปรับปรุงใหม่ 2568 3. การปรับปรุงการเรียนการสอนบูรณาการรายวิชาและผู้สอน หัวหน้าหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ กรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ และกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการฯ
4) ผลงานศิลปนิพนธ์มีหัวข้อ และผลงานที่สอดคล้องสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์งานวิจัยแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 21 ผลงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์งานวิจัยแห่งชาติ จากจำนวนผลงาน 21 ผลงาน คิดเป็นร้อยละ 100 ในปีการศึกษา 2566 ขอให้รักษาคุณภาพนี้ไว้ พัฒนากรรมการศิลปนิพนธ์ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ ศิลปนิพนธ์ และโครงการศึกษาส่วนบุคคล อ.ดร.สุชีพ กรรณสูต และกรรมการศิลปนิพนธ์
5) โครงการ Visual Symbiosis เป็นโครงการการที่ได้รับความร่วมมือในการส่งผลงานจัดแสดงนิทรรศการ จากนักศึกษาและช่างภาพจากภายนอก ทำให้นักศึกษายังเข้าใจถึงกระบวนการการจัดแสดงงานในพื้นที่หอศิลป์ร่วมกัน ควรเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่อง การพัฒนาการคัดเลือกผลงาน และการจัดแสดงผลงาน และกำหนดให้นักศึกษาทุกชั้นปี และอาจารย์พิเศษ ศิษย์เก่ามีส่วนร่วมในกิจกรรม โครงการ Visual Symbiosis และรายวิชาการออกแบบจัดนิทรรศการศิลปะ ผศ. อำพรรณี สะเตาะ และผศ. ปรพล ชินวรรณโชติ
6) โครงการ Soreal workshop เป็นโครงการที่ดีในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร กิจกรรมของหลักสูตรได้รับความสนใจจากนักเรียนมัธยม โดยเฉพาะการได้ปฏิบัติงานจริงในสตูดิโอและห้องแล็ปอัดขยายภาพขาวดำ ปรับปรุงการจัดกิจกรรม Workshop ฝึกปฏิบัติ Lab Film, Sound lab และ Studio ถ่ายภาพ ร่วมกับการจัดแสดงนิทรรศการ Visual Symbiosis การนำข้อมูล ผลการประเมิน ข้อเสนอแนะ จาก PDCA Soreal workshop ไปปรับปรุงกิจกรรมทุกปี ผศ. ปรพล ชินวรรณโชติ อาจารย์และผู้ช่วยอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษา
7) หลักสูตรมีการนำผลประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มาปรับปรุงในทุกด้าน ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มีแนวโน้มที่ดี การจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ไฟ เครื่องบันทึกเสียง ลำโพง สำหรับ Studio, สแกนเนอร์, Smart TV, จอ LED คุณภาพสูงสำหรับ Sound Lab และ Post Production และเครื่องมือ เครื่องฉายภาพ อุปกรณ์ติดตั้งผลงานจัดแสดงผลงานศิลปะ 1. การประเมินห้องปฏิบัติการ Lab Film, Studio โดยนักศึกษา 2. การประเมินห้องปฏิบัติการ Lab Film, Studio โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผู้ช่วยอาจารย์พิสิษฐ์ โพธิ์แก้ว และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรพัฒนาเเละมุ่งเป้าในเรื่องการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ด้วยวิธีการที่หลากมิติซึ่งผู้ประเมินเชื่อว่าทางหลักสูตรไม่ได้มองข้าม เเต่ด้วยพลวัตรการเเข่งขันในการรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรัฐเเละเอกชนมีการเเข่งขันสูงจึงควรวางให้เป็นเป็นยุทธศาสตร์หลักที่ต้องวางเเผนในระยะสั้นเเละระยะยาว เพื่อเพิ่มยอดรับนักศึกษาให้สูงขึ้น 1. การปรับปรุง ข้อมูลสื่อ Social media ให้มีความถี่เพิ่มขึ้น และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 2. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยนักศึกษา และนิทรรศการศิลปนิพนธ์ 1. ปรับปรุง Social media สาขาฯทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว Instagra , Page Facebook 2. การออกงานแสดงผลงานนักศึกษา 3. โครงการ Soreal Workshop 2. นิทรรศการ Visual Symbiosis และนิทรรศการศิลปนิพนธ์ ผศ. ปรพล ชินวรรณโชติ ผศ. อำพรรณี สะเตาะ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรควรรายงานผลประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีรายละเอียดการทำหน้าที่ที่ปรึกษาในแต่ละด้าน (ใน dbs มีแต่สรุปคะแนนรายบุคคล) เพื่อนำผลประเมินมาประกอบการปรับปรุงกระบวนการ ปรับปรุงระบบการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีรายละเอียดการทำหน้าที่ที่ปรึกษาในแต่ละด้าน ระบบข้อมูล เนื้อหา เพิ่มข้อความการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละด้าน อาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษา เจ้าหน้าที่ส่วนกลางว.ออกแบบที่ดูแลระบบการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา
3) หลักสูตรรายงานค่าร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา แต่ไม่ได้แจกแจงร้อยละสัมฤทธิผลการพัฒนาทักษะรายด้านต่าง ๆ ผ่านการ mapping การรายงานผลจึงอาจไม่เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในหลักสูตร ปรับปรุงการเขียนรายงานกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา แจกแจงร้อยละสัมฤทธิผลการพัฒนาทักษะรายด้านต่าง ๆ ผ่านการ mapping แสดงให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตร หัวหน้าหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตร
4) หลักสูตรควรรายงานผลประเมินค่าร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชา จาก rqf.5 เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอนใน rqf.3 ปรับปรุง ตรวจสอบ rqf.5 rqf.3 ฯลฯ การประชุมสาขาฯ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ฝ่ายวิชาการสาขาฯ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา