การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบกลไกที่ชัดเจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ รักษาแนวทางการฏิบัติที่มีระบบและนำกลไกที่ตั้งไว้มากำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา โครงการมหกรรมเกาหลีรังสิต ศ.ดร.ฌองส์ ฮวัน ซึง อาจารย์เวลาวี สีทอง
2) มีจำนวนนักศึกษาแรกเข้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราการคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนต่อระบบกลไกการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมนักศึกษาที่ดี หลักสูตรมีระบบและขั้นตอนการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ คือ 1. การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ 2. สำรวจระดับความรู้ของนักศึกษาเข้าใหม่ว่ามีพื้นความรู้ภาษาเกาหลีมาก่อนหรือไม่ 3. สำรวจความต้องการของนักศึกษาเข้าใหม่เกี่ยวกับความต้องการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อม 4. หลักสูตรหากลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาแรกเข้าและเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน 5. ประเมินผลการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน โดยพิจารณาจาก Class GPA ของรายวิชาภาษาเกาหลีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ว่าจะต้องมีผล Class GPA ไม่ต่ำกว่า 3.00 การปฐมนิเทศนักศึกษา กิจกรรมสายรหัส คลินิคภาษาเกาหลี ศ.ดร.ฌองส์ ฮวัน ซึง อาจารย์เวลาวี สีทอง
3) มีโครงการความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการให้โอกาสและประสบการณ์ด้าน Internationalization แก่นักศึกษา รักษาแนวทางด้านความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้สามารถแข่งขันในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย โครงการมหกรรมเกาหลีรังสิต ค่ายภาษาเกาหลี ศ.ดร.ฌองส์ ฮวัน ซึง อาจารย์เวลาวี สีทอง
4) หลักสูตรมีแนวทางที่ดีในเรื่องกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา คงแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาและเตรียมความพร้อมทั้งทักษะด้านภาษาเกาหลีและทักษะในการทำงาน ค่ายภาษาเกาหลี คลินิคภาษาเกาหลี ศ.ดร.ฌองส์ ฮวัน ซึง อาจารย์เวลาวี สีทอง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การหาแนวทางหรือการวางแผนอัตรากำลังของอาจารย์ที่อาจยังไม่พอเพียงต่อการดำเนินงานของหลักสูตร ในปีการศึกษา 2566 มีการทบทวนเรื่องอัตรากำลังของอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาของสาขาวิชา ภาควิชาฯ และสาขาวิชาฯ วางแผนการรับอาจารย์และดำเนินการสรรหาอาจารย์ โดยได้รับอาจารย์ชาวเกาหลีเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ประจำจำนวน 2 อัตรา โดยมีตำแหน่งศาสตราจารย์จำนวน 1 ท่าน และมีแผนที่จะรับอาจารย์ชาวไทยเพิ่มเติมอีก 2 อัตรา หัวหน้าภาควิชา
2) ควรสนับสนุนและปรับปรุงกลไลเพื่อผลักดันให้อาจารย์ดำเนินการพัฒนาตนเองด้านผลงานวิชาการตามแผนอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ภาควิชาฯ และสาขาวิชาฯ พยายามผลักดันให้อาจารย์ประจำภาควิชาดำเนินการพัฒนาตนเองด้านผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ปัจจุบันวิทยาลัยศิลปศาสตร์ ภาควิชาฯ และสาขาวิชาฯ ได้สรรหาบุคลากรที่มีความสามารถในด้านวิจัย และการสอนภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ภาควิชาฯ ได้รับอาจารย์ชาวเกาหลีตำแหน่งศาสตราจารย์ 1 ท่าน ซึ่งจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิชาการของวิทยาลัยศิลปศาสตร์ ท่านจะเป็นกำลังสำคัญในการในคำปรึกษาและชี้แนะแนวทางในการผลิตผลงานวิชาที่มีคุณภาพต่อไปทั้งในระดับคณะและระดับหลักสูตร โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรในปีการศึกษา 2566 นี้ทุกคนมีผลงานทางวิชาการ หัวหน้าภาควิชา