# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพสูงในด้านคุณวุฒิปริญญาเอก |
เพื่อเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จึงมีแผนในการพัฒนาอาจารย์มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านผู้สูงอายุ โดยจะมีลำดับขั้นของการพัฒนาจากการไปศึกษาดูงาน การแสงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการด้านวิชาการ และวิจัย |
การศึกษาดูงานสถานประกอบการด้านผู้สูงอายุ |
หัวหน้าหลักสูตร |
2) |
หลักสูตรชรัณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดทำการสอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย มุ่งสร้างนักจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ โดยผสมผสานความรู้จากหลายศาสตร์ อาทิ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติ |
เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของสังคม จะมีการสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร |
การสำรวจข้อมูลความต้องการของสถานประกอบการด้านผู้สูงอายุ |
หัวหน้าหลักสูตร |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรวางแผนพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้รายวิชาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน |
หลักสูตรกำหนดคุณลักษณะพิเศษองนักศึกษาเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติทักษะในการดูแล สร้างางเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม โดยคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรมและด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยกำหนดกลยุทธ์
1. การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นประสบการณ์ตรง และการคิดวิเคราะห์ในสถานการณ์ที่ตรงกับชีวิตจริงของผู้สูงอายุ
2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตนเองและเข้าใจผู้อื่น
ซึ่งในหลักสูตรมีการจัดเรียงกิจกรรมร้อยเรียงกันดังนี้
• ชั้นปีที่ 1 รายวิชา PTS 181 ศาสตร์ความเป็นมนุษย์ นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์เพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับการคิดวิเคราะห์และการเข้าใจผู้อื่น ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน และกิจกรรม ค่ายเรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง (transformative learning) และในรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพมีการเชื่อมโยงความรู้เข้ากับลักษณะของผู้สูงอายุ หรือการนำความรู้ไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นการไปใช้ประโยชน์และนำไปคิดวิเคราะห์เมื่อเรียนในวิชาชีพต่อไป
• ชั้นปีที่ 2 เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาความรู้ และการมีทักษะพื้นฐานการดูแลผู้สูงอายุพื้นฐาน การออกกำลังกาย และการจัดสภาพแวดล้อม ดังนั้นจะมีกิจกรรมในรายวิชาที่จะพานักศึกษาได้ไปดูงาน และฝึกปฏิบัติกับผู้สูงอายุในพื้นที่ทีหลากหลาย โดยร่วมกับการพัฒนาตนเองในด้านการทำงานเป็นทีม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น
• ชั้นปีที่ 3เน้นการพัฒนาความเป็นนักจัดการสุขภาวะผู้สุงอายุแบบองค์รวมในกลุ่มผู้สูงอายุช่วงต่างๆ โดยการให้นักศึกษาได้ดูงานในสถานประกอบการ การฝึกปฏิบติในผู้ป่วยจริงโดยร่วมกับวิชาชีพอื่น และมีกิจกรรมพัฒนาตนเองในด้านทักษะความเป็นผู้นำควบคู่ไปด้วยกัน
• ชั้นปีที่ 4 มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อให้เกิดการจัดการสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นนักศึกษาจะไปฝึกงานในสถานประกอบการ นอกจากนี้เพื่อเพิ่มทักษะการจัดการที่มีความอ่อนไหว หลักสูตรมีกิจกรรมเผชิญความตายอย่างสงบ |
1. การประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อจัดเตรียมรูปแบบและเนื้อหาการสอนที่เชื่อมโยงไปกับกลุ่มผู้สูงอายุ
2. การจัดโครงการพัฒนานักศึกษาตามชั้นปี
3. การจัดให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติกับผู้สูงอายุในรายวิชาต่างๆ
|
หัวหน้าหลักสูตร
รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา
หัวหน้าหลักสูตร
|
2) |
ควรวางแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล [IDP] ที่ตอบด้านความรู้ ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ |
หลักสูตรชรัณสุขศาสตร์เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานศาสตร์ความรู้ ในหลายด้านจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้อาจารย์มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของผู้สูงอายุจึงสนับสนุนให้อาจารย์เข้าอบรม หรือการศึกษาดูงาน ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาความรู้ให้มีความทันสมัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในการเข้าอบรมอาจารย์จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางคณะฯ คนละ 2,500 บาท และในแต่ละปีหลักสูตรวางแผนการจัดอบรมและให้อาจารย์ได้มีโอกาสเข้าร่วมในการอบรมนี้ด้วยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ด้านการจัดการความรู้มีการแต่งตั้งอาจารย์ในสาขาเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการทำงานและค้นหาจุดเด่นการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ด้านผลงานวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะจัดทำแผนการพัฒนางานวิชาการ โดยอาจารย์วางแผนการทำวิจัย และการนำเสนองานวิจัยเป็นรายบุคคลโดยให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่องในเวลา 5 ปี และมีรองคณบดีฝ่ายวิจัย และหัวหน้าหลักสูตรติดตามและขับเคลื่อนให้อาจารย์ทำได้ตามแผนที่วางไว้
ในการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตรจะให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนเข้าอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน หรือการอบรมต่างๆที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 1 ครั้ง
|
• หาข้อมูลการจัดอบรม และสถานที่ศึกษาดูงาน
• อาจารย์ทุกคนเขียนแผนพัฒนารายบุคคล
|
หัวหน้าหลักสูตร |
3) |
ควรจัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์แต่ละท่าน และหลักสูตรต้องคอยกำกับ ติดตามให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ |
เพื่อเพิ่มจำนวนร้อยละของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ หลักสูตรจะมีลำดับขั้นตอนการพัฒนาโดยใหกำหนดให้อาจารย์ในหลักสูตรทุกคนเขียนแผนพัฒนาตนเองที่ต้องมีเรื่องการเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และมีการติดตามในทุกภาคการศึกษา |
• การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง
• การบรรจุสาระการทำผลงานวิจัยในการประชุมหลักสูตร
|
หัวหน้าหลักสูตร |
4) |
ควรมีการวิเคราะห์ Stakeholder เพื่อนำผลประเมินความคาดหวังที่เป็นปัจจุบันต่อหลักสูตรมาร่วมใช้ในการปรับปรุงกระบวนการรับสมัคร |
หลักสูตรมีแผนการวิเคราะห์หลักสูตรโดยหาข้อมูลจาก นักศึกษา ผู้ประกอบธุรกิจบริการสุขภาพ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการปรับหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของ stakeholder นอกจากนี้หลักสูตรจะมีแผนที่จะนำเสนอตัวหลักสูตรให้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อให้นักศึกษามีใบรับรองการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุภายหลังสำเร็จการศึกษา
|
การจัดประชุมกับนักศึกษา
การสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ
|
หัวหน้าหลักสูตร |
5) |
ควรสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการโดยสม่ำเสมอ |
ด้านผลงานวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะจัดทำแผนการพัฒนางานวิชาการ โดยอาจารย์วางแผนการทำวิจัย และการนำเสนองานวิจัยเป็นรายบุคคลโดยให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่องในเวลา 5 ปี และมีรองคณบดีฝ่ายวิจัย และหัวหน้าหลักสูตรติดตามและขับเคลื่อนให้อาจารย์ทำได้ตามแผนที่วางไว้ |
• หาข้อมูลการจัดอบรม และสถานที่ศึกษาดูงาน
• อาจารย์ทุกคนเขียนแผนพัฒนารายบุคคล
|
หัวหน้าหลักสูตร |