# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิสูง มีตำแหน่งทางวิชาการระดับ รศ/ศ ตลอดจนมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการหลักสูตรเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ |
ผลิตผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ |
|
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
2) |
หลักสูตรมีการเชิญอาจารย์/นักวิชาการที่มีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์ทางวิชาการและคลินิกมาจัดการเรียนการสอน |
เรียนเชิญอาจารย์/นักวิชาการที่มีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์ทางวิชาการและคลินิกมาจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง |
|
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและประสานงานรายวิชา |
3) |
หลักสูตรมีเอกลักษณ์ มีความสำคัญต่อการพัฒนาการจัดบริการสุขภาพ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์ |
จัดบริการสุขภาพเพื่อพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยการนำนักศึกษาและบุคลากรออกหน่วยบริการสุขภาพ |
โครงการ Eye Care Screening ประจำปี |
ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
เนื่องจากหลักสูตรเปิดดำเนินการปีการศึกษาแรกในปี 2564 แต่ยังไม่มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลา จึงควรทบทวนกระบวนการรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อดำเนินการให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบระยะเวลาของหลักสูตร |
- จัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อหารือแนวทางการรับนักศึกษา
- กำกับและติดตามนักศึกษาาปริญญาโท ให้ศึกษาและทำงานวิจัยตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
- กำชับนักศึกษาให้เข้าร่วมอบรมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย |
การอบรมเกี่ยวกับงานวิจัยต่างๆ |
ผู้อำนวยการหลักสูตร |
2) |
ควรหากระบวนการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา |
ประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่าน Social media เช่น Facebook / Line / IG เป็นต้น |
Social media ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เช่น Facebook, Instagram, Line official |
ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ผู้ประสานงาน |