การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) โครงสร้างหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระรายวิชาให้ท้นต่อการเปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้เรียน นอกจากนี้มีกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้มีผู้สนใจศึกษาเป็นจำนวนมากต่อเนื่องทุกปี และผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนอย่างชัดเจน หลักสูตรมีแผนการเรียนและส่งเสริมให้นักศึษาได้หัวข้อการทำดุษฎีนิพนธ์ในเทอมแรกของการศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้ภายใน 2 ปี จึงมีผู้สนใจศึกษาจำนวนมากต่อเนื่องทุกปี - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
2) การจัดระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ระบบและกลไกของการควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์ การให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยและการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง อย่างต่อเนื่อง หลักสูตรได้มีระบบและกลไกการควบคุมหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ โดยเปิดวิชาเรียนให้นักศึกษาทำวิจัยโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาควบคุมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยตลอดจนกว่าจะได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติ โครงการเตรียมความพร้อมในการเขียนงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร มีความร่วมมือในการทำงานอย่างเข้มแข็ง มีความสามัคคี และมุ่งสู่เป้าหมายในการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการศึกษา และสำเร็จการศึกษาภายในเวลาหลักสูตร หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาส่งผลให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ในเวลาที่หลักสูตรกำหนด - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
4) แนวทางเสริม ควรขยายประเด็นการศึกษาวิจัยให้กว้างขวาง และมุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดบริการวิชาการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน เป็นต้น หลักสูตรได้ปรับปรุงหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษาให้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล และการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ควรมีแผนการพัฒนาตนเอง ในด้านการผลิตผลงานวิจัยที่นอกเหนือจากผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตร และในด้านอื่นๆ เช่น การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น หลักสูตรได้สนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาผลงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ต่างคณะ หรือ ต่างสาขาวิชา - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
2) จะต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมนักศึกษา ที่หลักสูตรดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ทั้งการสอดแทรกเข้าไปในการสอนรายวิชา การให้นักศึกษาเข้าร่วมสัมมนาที่จัดให้กับบุคคลภายนอก หรือกิจกรรมที่ทางหลักสูตรจัดเอง เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมีกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมอบรมสัมมนากับบุคคลภายนอก 1. โครงการอบรมระยะสั้นทางด้านเทคโนโลยีสื่อสังคม 2. โครงการเตรียมความพร้อมในการเขียนงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
3) การจัดหาสิ่งสนับสนุนที่นักศึกษาต้องการ ตามความจำเป็นในการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นหลักสูตรควรมีการสำรวจความต้องการและติดตามผลในมิติของการใช้ประโยชน์ เพิ่มเติมจากการประเมินความพึงพอใจ หลักสูตรได้จัดหาซอฟแวร์ที่ช่วยในการวิจัยและช่วยสอนวิธีใช้โปรแกรม เช่น ScienceSpace, Grammary, Turnitin, Mendeley, AMOS, Smart PLS เป็นต้น เพื่อใช้ในการทำวิจัย - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ
4) ควรมีการติดตามประเมินผลการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตามเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งตอบสนองแผนพัฒนาชาติ หลักสูตรส่งเสริมให้นักศึกษานำผลการวิจัยไปจดลิขสิทธิ์ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ตอบสนองแผนพัฒนาชาติ - ผศ.ดร.สมชาย เล็กเจริญ