การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีความท้นสมัย มีอัตลักษณ์ ผลงานทางวิชาการโดยเฉพาะผลการวิจัยที่ทำได้มีคุณภาพสูง ทั้งผลงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้สำเร็จการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการให้ตีพิมพ์ใน Journal Rankings ที่สูงขึ้น โครงการ การเขียนผลงานเพื่อตีพิมพ์ใน Journal ระดับนานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) การพัฒนาและส่งเสริมนักศึกษามีความชัดเจนที่มุ่งการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และเป็นผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และสามารถตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ โครงการ การเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ในระดับนานาชาติ สำหรับนักศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และสามารถให้คำแนะนำในการทำวิจัยของนักศึกษาในหลักสูตรได้เป็นอย่างดี ส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ที่มีความสามารถ ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โครงการ พัฒนาอาจารย์เพื่อดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ทุกระดับ ผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อัตราการสำเร็จการศึกษา และอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา ยังไม่มีแนวโน้มที่ดี ดังนั้นจึงควรทบทวนกระบวนการในการรับนักศึกษา การส่งเสริมพัฒนา การวางแนวทางการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาหัวข้อและโครงร่าง และดำเนินการวิจัย 1. ส่งเสริมให้อาจารย์มีการกำกับดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด 2. ให้รายงานผลการเรียนของนักศึกษา ต่อที่ประชุมหลักสูตรเป็นประชุม และต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา 1. แผนการดูแลนักศึกษา รายบุคคล 2. วาระการประุชุมในการติดตามผลการเรียนของนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) ควรเพิ่มอัตรากำลังอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้เพียงพอต่อการดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา วิเคราะห์อัตรากำลังคนของหลักสูตรที่สอดคล้องกับจำนวนรับนักศึกษา /นักศึกษาปัจจุบัน แผนพัฒนาอัตรากำลังคนของหลักสูตร ที่สอดคล้องกับจำนวนที่ความว่าจะรับนักศึกษา/นักศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าสู่การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยอาจจะต้องวางแผนการมอบหมายภาระงาน การมีอัตรากำลังเพิ่ม หรือการทำวิจัยร่วมกับนักศึกษา 1. อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน วิเคราะห์และวางแผนพัฒนาตนเอง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (แผน 1 ปี และแผน 5 ปี) 2. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ทบทวนและติดตามแผนพัฒนาตนเองของอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คณาจารย์ทุกคน จัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan) อาจารย์ประจำหลักสูตร
4) จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ มีจำนวนไม่มาก ดังนั้นจึงควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นจุดแข็ง และจุดดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย 1. วิเคราะห์ช่องทางในการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษา ว่าช่องทางใดที่สามารถรับนักศึกษาได้มากที่สุด และพัฒนาช่องทางดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น 2. ดำเนินการจัดทำแผนการตลาดของหลักสูตรที่สอดคล้องกับแผนการตลาดของมหาวิทยาลัย แผนการตลาดของหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร
5) หลักสูตรควรรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ให้ตรงประเด็นกับหัวข้อย่อยต่างๆ ที่กำหนดพร้อมทั้งแสดงหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม อย่างครบถ้วน 1. แต่งตั้งผุ้รับผิดชอบตัวบ่งชี้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2. ติดตามผลการดำเนินงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร