การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรออกแบบดี ตรงความต้องการของผู้เรียน เพิ่มกลุ่มสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของทันตแพทย์ในการศึกษาต่อ การเพิ่มกลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความเชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ มีคุณภาพสูง เพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เปิดสอนทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้น การลงทะเบียนอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรฯ และอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย เพิ่มเติม ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) หลักสูตร มีการส่งเสริมความร่วมมือกับกับสถานประกอบการทางทันตกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง มีการรับส่งต่อผู้ป่วยในเคสที่มีความซับซ้อนในการรักษา ทำให้นักศึกษาเคสผู้ป่วยในการเรียนรู้ที่มากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับส่งต่อผู้ป่วย โดยเน้นไปที่เคสที่มีความซับซ้อนในการรักษา โดยเพิ่มเติมในสาขาวิชาที่มีแผนจะเปิดเพิ่มเติมในอนาคตด้วย การประชาสัมพันธ์ผ่านโปสเตอร์และสื่อออนไลน์ เรื่องการรับส่งต่อผู้ป่วย สำหรับสถานประกอบการทางทันตกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับสาขาวิทยาเอนโดดอนต์ และสาขาทันตกรรมจัดฟัน ผู้อำนวยการหลักสูตร
4) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านนับเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์สอน มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะใน ด้านงานวิจัยซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยเน้นการทำวิจัยร่วมกัน ทั้งภายในและระหว่างสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ส่งเสริมให้เกิดผลงานทางวิชาการที่หลากหลายและเพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โครงการสัมมนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567 ผู้อำนวยการหลักสูตร
5) หลักสูตรฯมีการดำเนินการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แก่นักศึกษา จากที่รายงานว่า จำนวนเคสผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาสำเร็จเกินกว่าเกณฑ์ในการสำเร็จการศึกษา และหลักสูตรฯ มีการกำกับดูแล การทำวิทยานิพนธ์ให้ เป็นไปตามกำหนดการที่วางแผนไว้ จนทำให้มีนักศึกษาสามารถสอบโครงร่างในปีการศึกษานี้ ปรับปรุงการติดตามความคืบหน้าในการเรียนของนักศึกษาทุกคนในหลักสูตร โดยเฉพาะการทำวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามกำหนดการที่วางแผนไว้ บรรจุการรายงานความคืบหน้าของนักศึกษาในหลักสูตรให้เป็นวาระประจำของทุกการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรหลังปริญญา วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการหลักสูตร (ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรหลังปริญญา)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริมการศึกษาต่อของบัณฑิตทันตแพทย์ ศิษย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้เข้าศึกษาต่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ โดยอาจมีแผนการประชาสัมพันธ์ แผนการรับ แผนการเรียน ที่เอื้อต่อการศึกษาต่อเนื่องของบัณฑิตทันตแพทย์ที่จบการศึกษาจากวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาเข้าสู่หลักสูตร โดยเน้นไปที่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่กำลังจะจบการศึกษาจากวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร่วมโครงการปัจฉิมนิเทศ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2567 ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) เนื่องจากหลักสูตรฯเป็นหลักสูตรเปิดใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้าง ทำให้จำนวนผู้สมัครเข้าเรียนมีจำนวนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ควรมีแนวทางเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้หลักสูตรเป็นที่รู้จักมากขึ้น วางแผนการประชาสัมพันธ์และการรับสมัครให้เร็วขึ้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น การผลิตสื่อเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ในช่องทางออนไลน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร