การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ครบถ้วนทันสมัย จุดแข็ง หลักสูตรมีการประสานเชื่อมโยงกับองค์กรระดับชาติ ได้แก่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท) ซึ่งมีบทบาทการกำหนดนโยบายและปฎิบัติการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬา โดยเฉพาะกีฬากอล์ฟ ให้เป็นกีฬาที่่เติบโตควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นกีฬาอาชีพอย่างเป็นระบบ อุปสรรค ยังขาดข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกอล์ฟในระดับประเทศ เช่นข้อมูลผู้ใช้บริการกีฬากอล์ฟภายในประเทศ และผู้ใช้บริการกีฬากอล์ฟจากนานาชาติ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า ข้อมูลประชากรกอล์ฟ ) รวมทั้งข้อมูลด้านรายได้ที่เกิดจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟที่ชัดเจน ทำให้ยังไม่สามารถวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมกอล์ฟได้อย่างชัดเจน ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา หลักสูตรฯพยายามแสวงหาความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน สมาคมกีฬากอล์ฟและสมาคมวิชาการด้านการจัดการกีฬาในประเทศ เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกอล์ฟในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม ทำความร่วมมือกับสมาคมวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ "สมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย" และสมาคมวิชาชีพ ได้แก่ "สมาคมการค้าเครื่องกีฬาไทย" และ "สมาคมกีฬากอล์ฟแห่งประเทศไทย" เพื่อจัดทำโครงการสำรวจ "ข้อมูลประชากรกอล์ฟ" และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมกอล์ฟในประเทศไทย และ เป็นแหล่งเรียนรู้/อ้างอิง ในกระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตรฯ จัดทำ โครงการสำรวจประชากรกอล์ฟไทย และ นานาชาติ ที่ใช้บริการกิจกรรมฯกีฬากอล์ฟ ในประเทศไทย กิจกรรม ประกอลด้วย 1. จัดตั้งคณะทำงาน สำรวจประชากรกอล์ฟฯ ประกอบด้วยผู้แทนจาก หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ มหาวิทยาลัยรังสิต องค์การภาครัฐ และภาคเอกชน ดังกล่าวถึงข้างต้น ร่วมเป็นคณะทำงาน 2. ออกแบบ โครงการวิจัยเชิงสำรวจประชากรกอล์ฟ ในประเทศไทย รวมทั้งการจัดทำเครื่องมือการสำรวจฯ 3.เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล 4. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานข้อมูลที่สำรวจได้ แก่องค์กรระดับนโยบาย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ถือเป็น Stakeholders ในอุตสาหกรรมกอล์ฟ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ มหาวิทยาลัยรังสิต
2) หลักสูตรมีกิจกรรมที่หลากหลายในการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพในการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ และการทำวิจัย ได้แก่ การจัดให้มี Research Clinic เป็นต้น -ปัญหา / อุปสรรค การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารหลักสูตรอย่างกระทันหันในระดับคณะ/วิทยาลัย ทำให้ขวัญและกำลังใจของบุคลากร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และนักศึกษา เสื่อมถอยลงอย่างรุนแรง -ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามสร้างขวัญและกำลังใจซึ่งกันและกัน ในหมู่บุคลากร อาจารย์ และนักศึกษาในหลักสูตร โดยหวังว่าทุกอย่างจะสามารถแก้ไขให้หลักสูตรฯดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น -การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการพัฒนานักศึกษา ได้มีการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมกอล์ฟ ณ สนามกอล์ฟ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมกอล์ฟที่สำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่รับรู้ของผู้ใช้บริการกีฬากอล์ฟทั้งภายในประเทศ และนานาชาติ -มีการจัดให้มี Research Clinic อยู่แล้ว โดยกำหนดให้ทุกวันพุธ เวลา 9.00 - 12.00 น. นักศึกษาผู้ทำวิจัยสามารถเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาได้ - การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการบริหารหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ได้มีการจัดการแก้ปัญหาไประดับหนึ่งแล้ว โดยหลักสูตรฯ ได้เข้าอยู่ในสังวิทยาลัยการกีฬา ซึ่งท่านรักษาการคณบดีฯได้ช่วยดูแลอำนวยความสะดวกให้สามารถดำเนินการเรียนการสอนต่อไปได้ด้วยความเรียบร้อย - ด้านการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาที่สมัครเข้ามาใหม่ สามารถดำเนินการเรียนการสอนได้ตามปรกติ - ด้านการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ กำหนดให้นักศึกษาเข้ามาพบอาจารย์ที่ปรึกษาฯ ได้ตามวันเวลาที่กำหนดเป็น Research Clinic ไม่มี ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิยาลัยรังสิต
3) หลักสูตรมีกิจกรรมที่หลากหลายในการส่งเสริมและพัฒนาความชี่ยวชาญของอาจารย์ - ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี - ปีที่ผ่านมา หลักสูตรฯสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญ เข้าไปมีบทบาทในองค์กร/สถาบัน ด้านการส่งเสริมพัฒนากีฬาฯระดับชาติ ได้แก่ ผศ.ดร.เกษม นครเขตต์ ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬามวลชน ตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พศ.2566-2570 อ.ดร.กิตติ เจริญพรพานิชกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ นับเป็นการส่งเสริมพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์ประจำหลักสตรฯด้านการบริหารจัดการกีฬาระดับชาติ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาฯ และเป็นการเผยแพร่หลักสูตรในวงกว้างอีกด้วย - หลักสูตร มีแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมกอล์ฟในประเทศ โดยทำความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ สมาคมผู้ประกอบการสนามกอล์ฟ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น เป้าหมายปลายทางของกีฬากอล์ฟ (Golf Destination) สำหรับนักกอล์ฟอาชีพ และนักกอล์ฟสมัครเล่น จากทั่วโลกให้เดินทางมาเล่นกอล์ฟในประเทศไทย เนื่องจากเรามีความได้เปรียบทั้งในเชิงภูมิศาสตร์อันเป็นที่ตั้งของสนามกอล์ฟทั่วประเทศ และมีค่าบริการราคาถูกเมื่อเทียบกับค่าบริการกอล์ฟในต่างประเทศ การเดินทางสะดวก ที่พักและอาหารราคาถูก ทั้งอาจารย์และนักศึกษาทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ นับเป็นโอกาสการเพิ่มพูนและพัฒนาศักยภาพทั้งเชิงวิชาการ และ การบริหารจัดการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมกอล์ฟสำหรับอาจารย์และนักศึกษาของหลักสูตรฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
4) อาจารย์ผู้รับผิดชอบของหลักสูตรมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ -ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี -ข้อคิดเห็น ได้มีการวางแผนจัดทำชุดโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ภายใต้แผนงานพัฒนาอุตสาหกรรมกอล์ฟในประเทศ ให้มุ่งสู่การเป็น Golf Destination สำหรับนักกอล์ฟอาชีพ และนักกอล์ฟสมัครเล่นจากทั่วโลก ดังได้กล่าวไว้แล้วนั้น ซึ่งจะได้มอบหมายให้อาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการรวิจัยย่อยตามกลุ่ม Areas of study อีกอย่างน้อย 5 areas เช่น 1) Accessibility 2) Golf course's physical condition and aesthetic 3) Transportation and accommodations 4) Service and perception of the golfers 5) Ecosystems of the Golf Course และในแต่ละ Areas of study จะมีโจทย์วิจัยย่อยอยู่ ซึ่งจะเป็นงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาต่อไป -งานวิจัยทั้งหมด เมื่อเสร็จสมบูรณ์สามารถเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติด้านการกีฬา และ กีฬากอล์ฟโดยตรงได้ - อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ - อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
5) แนวทางเสริม - หลักสูตรควรมีแผนแสดงช่วงเวลาในการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาเพื่อให้สามารถจบการศึกษาได้ในระยะเวลาที่กำหนดของโครงสร้างของหลักสูตร - ได้มีการจัดทำ Timeline ของกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาไว้แล้ว ตั้งแต่การเริ่ม 1. ระบุ Area of interests and Research questions 2.กำหนด Research title 3. จัดทำ Research design and proposal 4. Defend Proposal 5. Research tools development 6. Data collection 7. Data analysis and interpretation 8. Conclusion and discussion 9. Defend Thesis ทั้งนี้ ใช้เวลาไม่เกิน 12 เดือน - -ขณะนี้ นักศึกษาที่เรียนจบ Courses work แล้ว อยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 - จัดให้มี Research clinic ทุกวันพุธ เวลา 9.00 -12.00 น. หรือ ตามที่นักศึกษาขอ make appointments หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรเพิ่มความชัดเจนในการประเมินผลของการดำเนินงานของตัวบงชี้ที่เป็นกระบวนการ - ปัญหา/อุปสรรค เนื่องจากการจัดทำการประเมินผลการดำเนินงานฯในปีที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการฯเป็นครั้งแรกของหลักสูตรฯ ผู้ประเมินยังขาดความเข้าใจในตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการว่าต้องการให้ประเมินประเด็นใด จึงขาดความชัดเจนในการกำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนและการจัดทำหลักสูตร -ข้อคิดเห็น ไม่มี - ครั้งต่อไปจะได้กำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการ ตามกรอบ PDCA ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการปรังปรุง/พัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนในประเมินผลมากขึ้น - จัดประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อสร้างความเข้าใจการออกแบบวางแผนกระบวนการดำเนินงานของหลักสูตรตามกรอบ PDCA Model หรือโมเดลอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถกำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการได้ชชัดเจน หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
2) หลักสูตรควรมีความชัดเจนในการมีเป้าประสงค์ของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา และการประเมินตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ ปัญหา/อุปสรรค หลักสูตรมีเป้าประสงค์ในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาอยู่แล้ว โดยเฉพาะความพร้อมในการทำการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงการสื่อสารด้วยวาจาระหว่างอาจารย์ประจำหลักสูตร กับนักศึกษา ข้อคิดเห็น ไม่มี จะได้ทำการกำหนดเป้าประสงค์ของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้ชัดเจน ทั้งด้านความพร้อมในเชิงวิชาการในบริบทของสาขาวิชาอุตสาหกรรมกอล์ฟ ความพร้อมทางภาษาอังกฤษ และความพร้อมในการวิจัยในด้าน Reviewed literatures และ Research methodologies จัดกิจกรรมปฐมนิเทศ และจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการสร้างความพร้อมในด้านต่างๆดังกล่าวข้างต้น หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
3) หลักสูตรควรมีแผนแสดงความก้าวหน้าของอาจารย์ที่จะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา หลักสูตรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทำผลงานวิชาการเพื่อเสนอรับการพิจารณาเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และมีอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 ท่าน คือ อาจารย์ ดร.กิตติ เจริญพรพานิชกุล ได้เสนอผลงานวิจัยฯเพื่อรับการพิจรณาเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเรียบแล้วแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา มีการเตรียมการเพื่อจัดทำโครงการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ โดยจะพัฒนาเป็นชุดโครงการวิจัยฯ และจะได้นำเสนอต่อไป จัดทำ Workshops ระหว่างอาจารย์ นักศึกษาในหลักสูตร และ Stakeholders ภายนอกจากภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ ในช่วงเดือน มิถุนายน 2567 นี้ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
4) ขอให้หลักสูตรตรวจสอบการรายงาน มคอ.7 และ รายการหลักฐาน ให้สอดคล้องกัน - ปัญหา/อุปสรรค ในปีที่ผ่านมาหลักสูตรขาดการเก็บหลักฐานของการดำเนินงานจำนวนมาก จึงไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบเอกสาร มคอ. 7 ได้สมบูรณ์เท่าที่ควร - ข้อคิดเห็น ไม่มี ปีการศึกษาใหม่ หลักสูตรจะทำการเก็บหลักฐานของการดำเนินงานให้สมบูรณ์มากขึ้น แจ้งอาจารยประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนทุกท่านให้เก็บหลักฐานในรูปของเอกสาร และภาพถ่ายไว้ให้สมบูรณ์ ตลอดปีการศึกษา หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต