การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรให้ความสนใจในการมีกิจกรรมที่หลากหลาย ในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จของการทำวิทยานิพนธ์ ได้แก่ การมีคลีนิคในการทำวิจัยและการให้เวลาในการให้คำปรึกษา เป็นต้น ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ข้อคิดเห็น อุตสาหกรรมกอล์ฟเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย มีประเด็นที่ต้องการการศึกษาวิจัยอีกมาก หลักสูตรมีการวางแผนพัฒนาชุดโครงการวิจัย ซึ่งมีประเด็นวิจัยย่อยสามารถให้นักศึกษาเลือกทำการวิจัยเพื่อดุษฎีนิพนธ์ได้ต่อไป หลักสูตรเตรียมการพัฒนาชุดโครงการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ จัดทำ Workshops ระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และ Stakeholders ภายนอก เพื่อร่วมระดมความคิดในการกำหนดประเด็นวิจัย เพื่อรวบรวมและจัดทำเป็นชุดโครงการวิวัย หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
2) หลักสูตรมีกิจกรรมที่หลากหลาย ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทั้งนักศึกษาได้เพิ่มทักษะและประสบการณ์ในงานด้านการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ ได้แก่ การศึกษาดูงาน การจัดโครงการสัมมนา เป็นต้น ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ข้อคิดเห็น ธุรกิจสนามกอล์ฟในประเทศไทยมีจำนวนมาก และมีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการเชิงธุรกิจฯอยู่ในองค์กรเหล่านั้นจำนวนมากและทั่วประเทศ ซึ่งเขายินดีให้ความร่วมมือกับหลักสูตร โดยพร้อมให้นักศึกษาของเราเข้าศึกษาดูงาน พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรในอุตสาหกรรมกอล์ฟทั่วประเทศ เพื่อสร้าง Connection ในการร่วมพัฒนาองค์ความรู้ที่สำคัญในการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของเราต่อไป ดำเนินการประสานงานกับองค์กรเครือข่ายฯดังกล่าว โดยเริ่มจากการประสานกับองค์กรหลักที่รับผิดชอบด้านการกีฬาของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดทำ Action plans เพื่อกำหนดกิจกรรมต่างๆร่วมกันต่อไป หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต
3) มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย simulator และ สนามกอล์ฟที่ได้มาตรฐาน สำหรับการฝึกปฏิบัติ ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ความคิดเห็น มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันแห่งเดียวที่สามารถเปิดสอนหลักสูตรกอล์ฟ ทุกระดับปริญญาเนื่องจากมีความพร้อมด้าน Golf facilities จึงเห็นว่าหลักสูตรนี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาเติบโตต่อไปในอนาคต แสวงหาความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟ เช่นสมาคมกีฬากอล์ฟ สมาคมผู้ประกอบการสนามกอล์ฟ ให้ส่งบุคลากรในสังกัดมาสมัครเรียนระดับปริญญาโท/เอก ให้มากขึ้น พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรฯดังกล่าว หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต
4) หลักสูตรมีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม หรือประเทศ และตอบสนองความต้องการของตลาดโลก ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ความคิดเห็น หลักสูตรเชื่อว่ากีฬากอล์ฟจะสามารถยกระดับให้เป็นอุตสาหกรรมกีฬาที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้ ประสานงานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดทำแนวทางการส่งเสริมกีฬากอล์ฟให้เป็นหนึ่งใน แผนพัฒนากีฬาชาติ ฉบับที่ 7 พศ.2567-2570 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport tourism) มุ่งประเด็นการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟ (Golf tourism) ในประเทศไทย ทำการสื่อสารการตลาดด้านกีฬากอล์ฟ ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกให้รับรู้ถึงความสะดวกในการมาเล่นกอล์ฟในประเทศไทยด้วยมาตรฐานสนามกอล์ฟระดับสากล แต่ราคาถูกกว่าสนามระดับมาตรฐานเดียวกันในประเทศต่างๆ นักกอล์ฟต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงให้ความสนใจมาเล่นกอล์ฟในประเทศไทยมากขึ้นโดยลำดับ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
5) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความสามารถในการผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ความคิดเห็น อาจารย์ประจำหลักสูตร มีประสบการณ์ทางวิชาการ และการดำเนินงานด้านการบริหารการกีฬา และการบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมกีฬามาก่อนแล้ว จึงเชื่อว่าสามารถผลิตผลงานวิชาการ/งานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติได้ แสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยให้แก่อาจารย์ ทั้งจากภายในสถาบันและภายนอก ประสานงานองค์กรภาคอุตสาหกรรมกีฬากอล์ฟ เพื่อเสนอให้เห็นความสำคัญและจำเป็นด้านการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ ของประเทศไทย เพื่อยกระดับกีฬากอล์ฟจากการเป็นเพียงกีฬาเพื่อนันทนาการของกลุ่ม Weekend golfers ภายในประเทศ ให้เป็นกีฬาเชิงการท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต
6) เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ และมีสถาบันเป็นจำนวนน้อยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ (คู่แข่งไม่มาก) ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ความคิดเห็น เป็นความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต ที่กำหนดให้มีหลักสูตรนี้เกิดขึ้น เนื่องจากกีฬากอล์ฟกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งมีความต้องการด้านกำลังคน (Task forces) ที่มีความรู้ความเข้าในการบริหารจัดการเชิงธุรกิจในอุตสาหกรรมกอล์ฟ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวในประเทศที่รองรับความต้องการดังกล่าว ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในวงกว้างทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ให้หลักสูตรเป็นที่รับรู้ทั่วกัน จัดทำสื่อ online เผยแพร่หลักสูตรให้กว้างขวาง หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต
7) คณาจารย์เป็นผู้มีคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในวิชาชีพ ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ความคิดเห็น ไม่มี สนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยต่อเนื่อง ปีละ 1-2เรื่อง จัดให้มีเวทีเสวนาสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อร่วมกันกำหนดประเด็นวิชาการ/ประเด็นวิจัย ที่หลักสูตรควรเผยแพร่สู่สาธารณะ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต
8) แนวทางเสริม เพิ่มแผนแสดงขั้นตอนและเวลาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี ข้อคิดเห็น หลักสูตรมีการกำหนด Timeline ของกระบวนการทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ โดยมีขั้นตอนต่างๆตามที่ระบุไว้แล้วใน IP ของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จัดให้นักศึกษาสามารถรับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ทุกขั้นตอนใน Timeline กิจกรรมให้คำปรึกษาผ่าน Research clinic หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยลัยรังสิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรเพิ่มความชัดเจนในการประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการ - ปัญหา/อุปสรรค เนื่องจากการจัดทำการประเมินผลการดำเนินงานฯในปีที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการฯเป็นครั้งแรกของหลักสูตรฯ ผู้ประเมินยังขาดความเข้าใจในตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการว่าต้องการให้ประเมินประเด็นใด จึงขาดความชัดเจนในการกำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนและการจัดทำหลักสูตร - ครั้งต่อไปจะได้กำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการ ตามกรอบ PDCA ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการปรังปรุง/พัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนในประเมินผลมากขึ้น จัดประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อสร้างความเข้าใจการออกแบบวางแผนกระบวนการดำเนินงานของหลักสูตรตามกรอบ PDCA Model หรือโมเดลอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถกำหนดตัวบ่งชี้เชิงกระบวนการได้ชชัดเจน ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
2) หลักสูตรควรมีความชัดเจนแผนในการพัฒนาอาจารย์ทั้งด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ โดยเฉพาะการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ เป็นต้น 1. หลักสูตรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทำผลงานวิชาการเพื่อเสนอรับการพิจารณาเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และมีอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 ท่าน คือ อาจารย์ ดร.กิตติ เจริญพรพานิชกุล ได้เสนอผลงานวิจัยฯเพื่อรับการพิจรณาเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเรียบแล้วแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา 2. มีการเตรียมการเพื่อจัดทำโครงการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ โดยจะพัฒนาเป็นชุดโครงการวิจัยฯ จัดกิจกรรมประชุม Workshops ระหว่างอาจารย์ นักศึกษาในหลักสูตร และ Stakeholders ภายนอกจากภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัยในอุตสาหกรรมกอล์ฟ ในช่วงเดือน มิถุนายน 2567 นี้ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
3) หลักสูตรควรมีแผนในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มจำนวนนักศึกษา และแผนอัตรากำลังคนของจำนวนอาจารย์สำหรับความสอดคล้องระหว่างจำนวนอาจารย์และนักศึกษาที่จะเข้ามาเรียน 1. ร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกอล์ฟ เช่น สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยการกีฬา เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้มากขึ้น 2. เผยแพร่ผลงานทางด้านกีฬากอล์ฟของนักศึกษาระดับปริญญาตรีผ่านชองทาง/สื่อต่าง ๆ 1. โครงการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิต กับหน่วยงาน/องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกอล์ฟ เช่น สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยการกีฬา เป็นต้น 2. เผยแพร่ผลงานของนักศึกษา และอาจารย์ผ่านสื่อช่องทางต่าง ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
4) ขอให้หลักสูตรตรวจสอบการรายงาน มคอ.7 และ รายการหลักฐาน ให้สอดคล้องกัน ปัญหา/อุปสรรค ในปีที่ผ่านมาหลักสูตรขาดการเก็บหลักฐานของการดำเนินงานจำนวนมาก จึงไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบเอกสาร มคอ. 7 ได้สมบูรณ์เท่าที่ควร หลักสูตรดำเนินการเก็บหลักฐานของการดำเนินงานให้สมบูรณ์มากขึ้น จัดประชุมอาจารยประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนทุกท่านให้เก็บหลักฐานในรูปของเอกสาร และภาพถ่ายไว้ให้สมบูรณ์ ตลอดปีการศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ วิทยาลัยการกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต