การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณภาพ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกและมีตำแหน่งวิชาการทุกท่าน และมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรได้จัดประชุมอาจารย์ประจําหลักสูตรและอาจารย์ในวิทยาลัย เกี่ยวกับแนวทางการ ส่งเสริม และสนับสนุนอาจารย์ด้านงบประมาณสําหรับการสร้างผลงานทางวิชาการ และการลดภาระงาน เพื่อให้อาจารย์สามารถสร้างผลงานวิชาการ หรืออบรมความรู้ใหม่ๆ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดย หลักสูตรฯ ได้จัดระบบการทบทวนและกระจายภาระงานให้เท่าเทียมกันทุกภาคการศึกษา โดยผ่าน คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยฯ ที่จัดตั้งขึ้น โครงการ กิจกรรม การสร้างผลงานทางวิชาการ และการลดภาระงาน คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาของวิทยาลัยฯ
2) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน และ มีฐานข้อมูลที่เป็นของหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นตัวอย่างในการทำวิทยานิพนธ์ และ สารนิพนธ์ การพัฒนาห้องประชุม 3-116 โดยมี SMART TV ขนาดใหญ่ สามารถเป็นห้องประชุม นําเสนอ งาน เป็นห้องศูนย์รวมคณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้ห้องเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้พร้อมทั้งให้คําปรึกษา ห้อง 3-114 มี SMART TV ขนาดใหญ่ สามารถใช้เป็นห้องประชุม นําเสนองาน ใช้ในการเรียนการ สอน โดยมีห้องสมุดในตัว และมีงานวิจัยให้ค้นคว้าได้ ห้อง 3-115 จัดทำห้องสมุดวิทยาลัยผู้นําและนวัตกรรมสังคม เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าของนักศึกษา มีมุมคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น ระบบ Wifi Free ของมหาวิทยาลัย และพื้นที่ใช้สอยเพื่อการ ทํางานของนักศึกษาและอาจารย์ประจํา กิจกรรม แลกเปลี่ยนความรู้พร้อมทั้งให้คําปรึกษา Center Learning ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) หลักสูตรเป็นหลักสูตรสหวิทยาการ สามารถบูรณาการศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ เน้นให้คณาจารย์นำแผนและยุทธศาสตร์ชาติตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวกับงานวิจัยมาศึกษา ในรูปแบบการค้นคว้า ถกเถียงและอภิปราย เพื่อหาความเข้าใจร่วมกันในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ชาติสู่งานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ การเรียนแบบบูรณาการ การจัดสัมมนา คณาจารย์ในแต่ละรายวิชา จะประชุมก่อนเปิดเทอม เพื่อวางแผนการสอนในแบบบูรณาการร่วมกัน คณาจารย์ ในแต่ละวิชา
4) มีการสนับสนุนเชื่อมโยงกับหลักสูตรระดับต่าง ๆ ของคณะ ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก การจัดทำกิจกรรม ร่วมพี่น้อง ให้นักศึกษาแต่ละหลักสูตรรู้จักกัน และเชิญศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กิจกรรมทำงานร่วมกับชุมชน สถาบัน และเชื่อมต่อกับศิษย์เก่า: ใช้ศิษย์เก่าเป็นทูตมหาวิทยาลัย (Brand Ambassador) ผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานักศึกษาตกค้าง และทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามเวลาที่กำหนด 1. หลักสูตรฯ ได้จัดทำแพลทฟอร์มการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ตั้งแต่แรกเริ่มก้าวเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนคือวันปฐมนิเทศ อาจารย์ประจำหลักสูตรจะต้องให้คำแนะนำแก่นักศึกษาถึงระเบียบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ โดยหลักสูตรฯ มีระบบแผนดำเนินงานควบคุมดูแลการทำวิทยานิพนท์โดยการชี้แจงและขอความร่วมมือจากคณาจารย์ที่ดูแลนักศึกษาทำงานกับนักศึกษาอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล 2. หลักสูตรกำหนดให้ในการส่งรายงานความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาส่งรายงานความก้าวหน้า โดยอาจารย์ปรึกษาพิจารณา วิเคราะห์ วิจารณ์ และเสนอแนะการแก้ปัญหา และการดำเนินงานต่อไป โดยให้อยู่ในระยะเวลาในการส่งรายงานตามที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนด เมื่อขอพิจารณาอนุมัติเค้าโครง และเมื่อผลงานวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์ก้าวหน้าไปมากแล้ว จากนั้นหลักสูตรฯ มีแผนที่จะต้องจัดให้มีการสัมมนาวิทยานิพนธ์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์แก่ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาด้วย 2 ระยะด้วยกัน คือ การสัมมนาเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และการสัมมนาความก้าวหน้าผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ กิกรรม การสัมมนาวิทยานิพนธ์ กิจกรรม การสัมมนาความก้าวหน้าผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ กรรมการหลักสูตร และอาจารย์ที่ปรึกษา
2) หลักสูตรควรหาวิธีการเพิ่มจำนวนนักศึกษา การทำการตลาดเพื่อรับสมัครนักศึกษาในยุคปัจจุบัน 1. ต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาความต้องการ: เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไรจากการศึกษา เช่น สาขาวิชาที่น่าสนใจ โอกาสการทำงาน หรือสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย การแบ่งกลุ่มตลาด (Segmentation): แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามอายุ ความสนใจ หรือพื้นที่ เพื่อออกแบบข้อความและกิจกรรมที่เหมาะสม 2. ใช้การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) Social Media Marketing: สร้างคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มที่นักศึกษาใช้งาน เช่น Facebook, Instagram, TikTok โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising): ใช้ Google Ads, Facebook Ads เพื่อโปรโมตข้อมูลรับสมัคร 3. สร้างจุดขายเฉพาะตัว (Unique Selling Proposition) ชูจุดเด่นที่มหาวิทยาลัยมี เช่น หลักสูตรเฉพาะ โอกาสฝึกงาน ความร่วมมือกับองค์กร หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร 4. จัดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม Open House เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้ปกครองมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย Workshops ให้ความรู้หรือคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกสาขาวิชา การตอบคำถาม (Q&A Sessions): ให้ผู้บริหารหรือศิษย์เก่ามาช่วยตอบคำถามผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ 5. สร้างเครือข่ายและพันธมิตร ทำงานร่วมกับชุมชน สถาบัน และเชื่อมต่อกับศิษย์เก่า: ใช้ศิษย์เก่าเป็นทูตมหาวิทยาลัย (Brand Ambassador) การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) กิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม โดครงการสร้างเครือข่ายและพันธมิตร ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) ควรสิ่งเสริมให้มีกิจกรรม/โครงกา่รด้านการพัฒนานักศึกษาที่หลากหลาย ทั้งเรื่องศักยภาพของนักศึกษาตามปรัชญา วิสัยทัศน์ของหลักสูตร ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และศักยภาพในการสร้างงานวิจัย การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรฯ ได้จัดกิจกรรมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนอกพื้นที่เพื่อประยุกต์ความรู้ด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาได้นำนักศึกษาในการปรึกษา (Advisee) ลงพื้นที่ปฎิบัติการจริงในชุมชน เพื่อให้เกิด Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนอกพื้นที่เพื่อประยุกต์ความรู้ด้านการวิจัยสำหรับนักศึกษา คณาจารย์ในแต่ละวิชา
4) ควรมีการสนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนนักศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร TCI 1 เป็นจำนวนน้อย ทางหลักสูตรจึงได้ปรับปรุงรายวิชา CSI 698 การสอบประมวลความรู้ ให้มีลักษณะเหมือนการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยประยุกต์จากรูปแบบการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาเอก ส่งผลให้นักศึกษาเริ่มทำวิทยานิพนธ์และสาระนิพนธ์ได้ทันทีหลังจากการสอบประมวลความรู้ทำให้นักศึกษาที่ตกหายไปจากการทำวิทยานิพนธ์ลดน้อยลง รวมถึงจากการดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงรายวิชา CSI 603 ระเบียบวิธีวิจัยที่มีการให้นักศึกษาได้มีการฝึกเขียนรายงานผลการวิจัยจัยในรูปแบบที่ใช้ในการตีพิมพ์ในวารสาร โดยนำมาเป็นหนึ่งในงานชิ้นใหญ่ของนักศึกษาในรายวิชา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการตีพิมพ์งานวิจัย กิจกรรม การสัมมนาความก้าวหน้าผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา