การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการในช่วงเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมีการสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ โครงการกิจกรรมการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรมีการทำวิจัย ผอ.หลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์
2) ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในฐานข้อมูล TCI หลักสูตรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI โครงการกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการทำวิจัยของนักศึกษา Research Homeroom ผอ.หลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรมี KPI ที่กำหนดให้อาจารย์ขอตำแหน่งวิชาการ หลักสูตรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ขวัญและกำลังใจ คอยกระตุ้นและให้กำลังใจอาจารย์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกและเจตคติที่สัมพันธ์กับการพัฒนาตนเองในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โครงการกิจกรรมการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรมีการทาวิจัย ผอ.หลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์
2) หลักสูตรควรหาวิธีในการเพิ่มจำนวนนักศึกษา ดำเนินการประชาสัมพันธ์หลักสูตรทั้งภายในและภายนอก โดยผ่านทางสื่อ Social Media ในช่องทางต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักหลักสูตรและได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ การประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านทางสื่อ Social Media ในช่องทางต่างๆ ผอ.หลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์
3) ควรมีระบบและกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้นศ.สำเร็จการศึกษาในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการทำวิทยานิพนธ์ หลักสูตรมีการช่วยเหลือ ติดตาม และผลักดันนักศึกษาให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามเวลาที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้ 1) อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดต่อได้ในทุกช่องทางการสื่อสาร 2) หลักสูตรติดตามและคอยกระตุ้นให้นักศึกษาดำเนินการเข้าพบที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง โครงการการเตรียมความพร้อมและการพัฒนานักศึกษาของหลักสูตรฯ คณะกรรมการบริหารของหลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์
4) การรายงานผลเชิงกระบวนการของหลักสูตร ควรจะอยู่ในรูปแบบของ PDCA ศึกษาวิธีการรายงานผลเชิงกระบวนการของหลักสูตรให้ในรูปแบบของ PDCA - ผอ.หลักสูตรวทม. สาขาการจัดการโลจิสติกส์