การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบัญชี
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรได้มีการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การวิชาชีพบัญชี และได้นำมาใช้ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนทำให้ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ทางหลักสูตรขยายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การวิชาชีพมากขึ้น เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมพัฒนานักศึกษา บนความร่วมมือที่มีอยู่และที่แสวงหาความร่วมมือทางวิชาการใหม่ โครงการเสริมทักษะทางวิชาชีพบนความร่วมมือกับองค์การภายนอก และโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพโดยความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อ.วัฒนี และอ.พิมลวรรณ
2) หลักสูตรมีระบบและกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินงานในองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาทุกด้าน และมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีผลการดำเนินงานหลักสูตรสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ผ่านมา 2 ปี ส่งผลให้เกิดแนวโน้มที่ดีในทุกตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ หลักสูตรได้มีการจัดทำแผนดำเนินงานโดยมุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการประกันคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ และทางคณะจัดให้มีการประชุมเพื่อรายงานผลการติดตามการดำเนินงานเป็นระยะๆ ตลอดปีการศึกษา การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ และการรายงานผลการดำเนินงาน คณะกรรมการหลักสุูตรบัญชีบัณฑิต
3) มีแผนปฏิบัติงาน แผนพัฒนาผู้รับผิดชอบหลักสูตร และมีความร่วมมือในการทำงาน ทำให้มีผลงานเชิงประจักษ์ที่เป็นรูปธรรมในทุกด้าน คณะกรรมการหลักสูตร จะใช้ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในทุกองค์ประกอบ มีการจัดทำแผนปฎิบัติการประจำปี รวมทั้งแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นนโยบายการบริหารคณะ และใช้การประชุมคณะกรรมการหลักสูตรเป็นกลไกในการกำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน 1.กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการวิชาการและวิจัย 2. การประชุมคณะกรรมการหลักสูตร และการจัดทำรายงานการประชุม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
4) หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ที่ดี ส่งผลให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก และวิชาการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หลักสูตรมีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสะสมผลงานเพื่อใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และการตีพิมพ์ในระดับคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
5) หลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่มีการดำเนินการร่วมกันในการจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นการพัฒนาการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี ทางหลักสูตรขยายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การวิชาชีพมากขึ้น ทั้งด้านกิจกรรมความร่วมมือและหาหน่วยงานต่างๆมาเพื่อทำความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่สัมพันธ์โดยตรงกับวิชาชีพบัญชี โครงการเสริมทักษะทางวิชาชีพบนความร่วมมือกับองค์การภายนอก และโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพโดยความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อ.วัฒนี และอ.พิมลวรรณ
6) หลักสูตรมีการพัฒนานักศึกษาที่ดี ส่งผลให้นักศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศ หลักสูตรมีระบบในการคัดเลือกและพัฒนานักศึกษา โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพโดยตรงมาเป็นวิทยากรในการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันทางวิชาการให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมความสามารถการแข่งขันของนักศึกษา ดร.ศิรประภา และผศ.เกศรา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การเตรียมพร้อมสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป ด้วยหัวหน้าหลักสูตรจะจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐาน 65 ที่จะมีผลต่อการปรับปรุงหลักคิดและกระบวนการในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร ในปีการศึกษา 2566 ทางหลักสูตรได้จัดให้มีการประชุมเพื่อความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐาน 65 ที่จะมีผลต่อการปรับปรุงหลักคิดและกระบวนการในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และกำหนดแผนงานในการปรับปรุงหลักสูตรในปี 2566 และ 2567 เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2568 ในปีการศึกษา 2566 ทางหลักสูตรได้จัดให้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐาน 65 ที่จะมีผลต่อการปรับปรุงหลักคิดและกระบวนการในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และกำหนดแผนงานในการปรับปรุงหลักสูตรในปี 2566 และ 2567 เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2568 ตามรายละเอียดดังนี้ - การเสนอแต่งตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา - คณะกรรมการหลักสูตรได้เข้าอบรม “การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทาง OBE” ที่จัดโดยคณะ - การส่งคณะกรรมการหลักสูตรเข้ารับการอบรม “แนวทางการกำหนด Learning Outcomes และการเขียนคำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการทำเล่มหลักสูตร” เป็นต้น - วางแผนและออกแบบแบบสำรวจความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้เสีย - ดำเนินการยกร่างหลักสูตร ให้เป็นไปตามสำนักงานมาตรฐานวิชาการกำหนด คณะกรรมการหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
2) สนันสนุนให้นักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เนื่องจากนักศึกษามีการเรียนรู้การทำวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ จากการให้นักศึกษามีการเรียนรู้การทำวิจัย ในรายวิชา ACC456 การค้นคว้าอิสระ และการจัดทำวิจัยหรือบทความวิชาการจากการเข้าร่วมสหกิจศึกษาในรายวิชา ACC498 ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิตเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ จากการให้นักศึกษามีการเรียนรู้การทำวิจัย ในรายวิชา ACC456 การค้นคว้าอิสระ ในภาคเรียนที่ 1/2566 และการจัดทำวิจัยหรือบทความวิชาการจากการเข้าร่วมสหกิจศึกษาในรายวิชา ACC498 ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในภาคเรียนที่ 2/2566 คณะกรรมการหลักสูตรบัญชีบัณฑิต