การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะบัญชี
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีตำแหน่งวิชาการ 2 ใน 3 คน และมีผลงานวิจัยจำนวนมาก ที่มีคุณภาพ มีผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับ และมีคุณภาพที่สูง ทางคณะมีนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าตามสายงาน โดยจัดให้มีการทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล ทั้งบุคลากรสายการสอน และสายสนับสนุน ซึ่งการกำหนดในการพัฒนาตนเองจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาคณะ สำหรับสายการสอนได้กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมาย KR ของแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายคุณภาพการเรียนการสอน การผลิตผลงานวิจัย และการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีรองคณบดีฝ่ายบริหาร และหัวหน้าหลักสูตรทุกระดับ ติดตามผลการพัฒนาและรายงานต่อคณบดี ความสำเร็จในการพัฒนาตนเองจะเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติประจำปี คณะมีกิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจ การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ วิชาชีพ ของอาจารย์ประจำ คณะกรรมการจัดการความรู้ บริการวิชาการ และกิจการพิเศษ
2) คุณภาพการสอนดีมาก (4.7) ในทุกรายวิชา ใช้ประโยชน์จากระบบการประเมินผลการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา ดังนั้นจึงมีข้อมูลป้อนกลับให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ในการนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ นอกจากนี้คณบดีจะจัดให้มีการหารือกับอาจารย์ผู้สอนที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์หรือเป้าหมาย KR เพื่อทราบสาเหตุและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไข ผู้อำนวยการหลักสูตรจะดำเนินการตรวจทานแผนการจัดการเรียนรู้ และรายงานผลการดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อติดตามการปรับปรุงการสอน และผลการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
3) อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รีบผิดชอบหลักสูตร 100% ต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี และมีความพึงพอใจในระดับดีมาก การให้บุคลากรคณะ มีส่วนร่วมในการบริหารคณะ โดยใช้หลักการกระจายอำนาจ และธรรมาภิบาล ในมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในงานตามโครงสร้างการบริหารคณะ โดยปีการศึกษา 2566 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารคณะ และการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ด้วยแนวทางดังกล่าวทำให้บุคลากรรับทราบปัญหา และร่วมกันวางแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงเกิดการยอมรับและเต็มใจที่จะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย การประชุมคณะกรรมการหลักสูตร เป็นประจำตลอดปีการศึกษา เพื่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
4) หลักสูตรมีกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับนักศึกษาทุกเรื่องอย่างเป็นระบบ ประเมินกระบวนการและได้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ /การค้นคว้าอิสระ ในการดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด มีช่องทางการติดต่อกับนักศึกษาในทุกช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวก คณะกรรมการหลักสูตรจะจัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนักศึกษาเป็นรายบุคคล และวางแผนในการพัฒนานักศึกษาในหลักสูตรให้สามารถพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัย อย่างสม่ำเสมอตลอดปีการศึกษา 1.ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ให้นักศึกษาสามารถพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัย โดยเริ่มตั้งแต่วิชา ปรับพื้นฐาน และต่อเนื่องในวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางบัญชี ในภาคการศึกษา 1 โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนในการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ การค้นคว้าอิสระ อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด 2. ให้การช่วยเหลือแก่นักศึกษาที่ได้ขยายเวลาเรียนตามประกาศของสป.อว. ในปีการศึกษา 2566 ได้กลับมาทำวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ หัวหน้าหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
5) หลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตรตรงกับความต้องการของสภาวิชาชีพบัญชี ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ของสภาวิชาชีพบัญชีฯ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของ Stakeholders ในการออกแบบหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของ End Users โครงการพัฒนาหลักสูตรฯ คณะกรรมการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
6) ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์และนักศึกษาอยู่ในระดับดีมาก มีระบบการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือ การค้นคว้าอิสระ ที่จะทำให้นักศึกษาได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำ และข่วยแก้ไขปัญหาในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ได้เป็นอย่างดี โดยการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร การทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา จะครอบคลุมถึงการเขียนบทความวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ นอกเหนือจากการให้คำปรึกษาในการศึกษาค้นคว้า กำหนดเป้าหมายการตีพิมพ์ผลการวิจัยของนักศึกษาไม่ตำกว่า TCI 2 ในแผนพัฒนาคณะ โครงการเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาหัวข้อโครงร่างวิจัย โครงการฝึกปฏิบัติการการใช้โปรแกรม STATA ผู้อำนวยการหลักสูตร และผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น โดยการสิ่อสารการตลาดทาง Social Media ต่างๆ เพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านทาง Social Media กิจกรรม Live ผ่านทาง Social Media ร่วมกับคณะ ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) ผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งวิชาการทุกคน ดำเนินการตามแผนการพัฒนาอาจารย์ประจำคณะ ตามแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล 1. ให้การสนับสนุนในการทำผลงานวิชาการ ตามแนวทางส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล 2.ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าอบรมเกี่ยวกับการวิจัย ที่จัดโดยคณะในแผนการบริการวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับที่สูงขึ้น (TCI 1) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา ให้ตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารที่ได้รับการรับรองจาก TCI 1.โครงการฝึกปฏิบัติการการใช้โปรแกรม STATA 2. อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกวารสารในฐาน TCI เพื่อเป็นแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย คณะกรรมการหลักสูตร
4) สนับสนุนให้อาจารย์ในหลักสูตรผลิตผลงานวิจัยที่สูงขึ้น สามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับ SCOPUSได้มากขึ้น การสนับสนุนให้ทำวิจัยเป็นทีม และใช้เวทีการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้นเพื่อตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐาน SCOPUS คณะร่วมจัดกิจกรรมประชุมวิชาการระดับนานาชาติกับสถาบันวิจัย ประจำปี 2567 ผู้อำนวยการหลักสูตร ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการวิชาการ วิจัย และกิจการต่างประเทศของคณะ
5) จำนวนนักศึกษาที่ตกค้างมีจำนวนมาก ควรหาวิธีการดำเนินงานเป็นนักศึกษาสำเร็จการศึกษาเพิ่มขั้น 1.ปรับกระบวนวิชาในหลักสูตร เพื่อผลักดันนักศึกษาในการพัฒนาหัวข้อและโครงร่าง 2. ขยายเวลาเรียนให้กับนักศึกษาที่ตกค้างตามประกาศของกระทรวง อว. และจัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือ การศึกษาค้นคว้าอิสระอย่างเหมาะสม 3. ปรับปรุงระบบและกลไกการกำกับ ติดตามการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 4. เพิ่มจำนวนรอบของการเปิดสอบวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ เพื่อสอดคล้องกับความก้าวหน้าของนักศึกษาในการพัฒนาโครงร่างวิจัย 1. เปิดสอนวิชาปรับพื้นฐานและวิชาวิธีวิทยาการวิจัย โดยปรับกลยุทธ์การสอน และกำหนดเป้าหมายรายวิชาร่วมกัน 2.โครงการเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาหัวข้อโครงร่างวิจัย 3. จัดให้มี research lab and team coaching โดยผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 4. จัดให้มีการประชุมนักศึกษาทุกภาคการศึกษา 5. จัดปฏิทินการสอบเปิดเล่ม และปิดเล่มวิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ และโดยประสานกับอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดภาคการศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร และผู้รับผิดชอบหลักสูตร