การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะดิจิทัลอาร์ต
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้จำนวนนักศึกษาบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางสาขาได้มีแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรดำเนินงานต่อเนื่อง และรักษามาตรฐานไว้ในทุกปีการศึกษา โครงการประชาสัมพันธ์ อ.สุทธิชาติ ศราภัยวานิช
2) หลักสูตรได้รับรางวัลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาในระดับประเทศซึ่งสะท้อนคุณภาพหลักสูตรในการผลิตผลงานและนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการนำผลงานนักศึกษาเข้าประกวดในเวทีต่างๆอย่างต่อเนื่องทุกปี โครงการศิลปนิพนธ์ อ.ชูชัย อัศวอารีกุล
3) หลักสูตรมีระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์จนทำให้อาจารย์มีผลงานสร้างสรรค์ที่ถูกนำเสนอและเผยแพร่ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติจำนวนมาก สนับสนุนในอาจารย์ในหลักสูตรส่งผลงานทางวิชาชีพเข้าแสดงในงานทางวิชาการ ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โครงการ RSU Design Symposium อ.สุทธิชาติ ศราภัยวานิช

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรเพิ่มแผนการพัฒนาและส่งเสริมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับจำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรแบบแขนงวิชา หลักสูตรได้สนับสนุนอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ในสาขาให้เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการอย่างต่อเนื่องทุกปี อ.สุทธิชาติ ศราภัยวานิช
2) หลักสูตรควรสนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มีคุณวุฒิตรงกับสายวิชาชีพตามแขนงวิชาต่างๆ โดยเร็ว หลักสูตรได้หารือแนวทางในการสนับสนุนอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ในสาขา ให้ได้วุฒิระดับปริญญาเอกต่อไป อ.สุทธิชาติ ศราภัยวานิช
3) แนวทางการรายงาน มคอ.7 ควรชัดเจนในรูปแบบ PDCA มากกว่านี้ ศึกษาและพัฒนาแนวทางการเรียนในรูปแบบ PDCA มากขึ้น อ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล