# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
จำนวนนักศึกษาแรกเข้ายังไม่เข้าเป้า (เป้า 15 คนต่อปี) ควรจะมีกลยุทธ์ใหม่ๆในการชักชวนนักศึกษา |
จากสถานการณ์ที่มีผู้สนใจเข้ามาเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในหลายสถาบันการศึกษาพยาบาล จากการวิเคราะห์ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการขาดแคลนอัตรากำลังในภาคบริการสุขภาพ ทำให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานมีภาระงานมาก การจัดสรรเวลาสำหรับการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทจึงมีความจำกัด การประชาสัมพันธ์ที่ทำให้มีผู้เข้าศึกษาที่มีประสิทธิภาพ คือ การบอกต่อกัน จากผู้ที่เรียนอยู่ในหลักสูตร หรือ การประชาสัมพันธ์ผ่านแหล่งฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นช่องทางที่จะใช้ต่อไป นอกจากนี้ มีผู้สนใจที่เป็นนักศึกษาต่างประเทศอยากที่จะเข้ามาศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จึงเป็นโอกาสที่ปรับปรุงหลักสูตรที่ดำเนินการอยู่ให้เปิดกว้างที่รอบรับผู้เรียนจากต่างประเทศด้วย โดยใช้การบริหารจัดการเป็นกลุ่มย่อย โดยผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทย และผู้เรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ กำหนดจำนวนรับเป็น 20 คน |
โครงการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พ.ศ. 2567 |
คณะทำงานปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พ.ศ. 2567 |
2) |
ควรหาแนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรอบระยะเวลาของหลักสูตร |
คณะกรรมการหลักสูตรได้ดำเนินการทบทวนและสำรวจนักศึกษาในแต่ละรหัสที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะตั้งแต่รหัส 59-63 โดยอาจารย์ที่ปรึกษา ทบทวนปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนความต้องการรับการช่วยเหลือ และร่วมกันกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนรหัส 64 ในปีการศึกษา 2566 อยู่ในรอบของการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ได้กำหนดวันสอบให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นแรงจูงใจไปสู่เป้าหมาย ส่วนนักศึกษารหัส 65 ที่จะลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ (MNS699) จำนวน 3 หน่วยกิต ในภาค 2/2566 หลักสูตรได้มอบหมายอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และกำหนดให้มีการนำเสนอโครงร่างตามวันและเวลาอย่างชัดเจน และจะมีการติดตามประเมินผลการสอบโครงร่างต่อไป |
โครงการสัมมนาเร่งรัดการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาปริญญาโท ประจำปี 2566 |
อาจารย์ประจำหลักสูตร |
3) |
ส่งเสริมให้นักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ |
จัดตั้งคณะทำงานศึกษาขั้นตอน การดำเนินการเพื่อส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ การเลือกวารสาร ตลอดจนการเตรียมต้นฉบับ การสนับสนุนค่าใช้จ่าย และการประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบ |
โครงการสนับสนุนให้นักศึกษามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ |
อาจารย์ประจำหลักสูตร |
4) |
สนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนางานวิจัยให้เป็นชุดโครงการวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ อาทิ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม |
ไม่มี |
ไม่มี |
ไม่มี |
5) |
จากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในข้อ 4.สนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนางานวิจัยให้เป็นชุดโครงการวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ อาทิ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม
คณะกรรมการหลักสูตรได้พิจารณาประเด็นข้อเสนอแนะของกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษานี้ อาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ
(1) สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรที่เรียนภาคพิเศษ คือ วันเสาร์ และอาทิตย์ เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ที่มาเรียน จะมีประเด็นปัญหาในหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน (สถานบริการสุขภาพของรัฐ) และจะเป็นพื้นที่ศึกษาที่ต้องการการทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งนักศึกษาจะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ และสามารถต่อยอดในการปฏิบัติงานได้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
(2) นักศึกษาที่มาจากโรงพยาบาลเอกชนหรือสถาบันการศึกษา จะมีข้อจำกัดในการทำการวิจัยในพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน ทางหลักสูตรจึงออกแบบให้ศึกษากับประชากรรอบๆ มหาวิทยาลัย หรือ ในกลุ่มประชากรที่เป็นบุคคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งอาจจะมีประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ อาทิ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้ ซึ่งทางหลักสูตรได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยบางกรณีมีงานวิจัยของอาจารย์รองรับ และในบางกรณีไม่ได้จัดทำเป็นชุดโครงการวิจัยของอาจารย์ แต่นักศึกษาสามารถดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์ได้ เนื่องจากคณะฯ มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่เป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล และทำให้นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการทำวิทยานิพนธ์ได้
|
|
|
|