การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะรังสีเทคนิค
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัย ที่ส่งผลให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2566 ได้จำนวน 8 เรื่อง - - -
2) หลักสูตรส่งเสริมผลงานของนักศึกษาในการนำเสนองานประชุมวิชาการ และได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลชมเชย - กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษานำเสนอผลงานเกี่ยวกับงานวิจัยสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิตทั้งในและนอกประเทศ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) หลักสูตรมีระบบ กลไกที่ดีมีประสิทธิภาพ ในการรับนักศึกษา ซึ่งสามารถรับนักศึกษาได้ตามจำนวนที่ตั้งไว้ทุกปี และสามารถรักษาอัตราการคงอยู่ไว้ได้ในแต่ละปี - - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
4) มีความโดดเด่นเรื่องการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ที่มีความหลากหลาย เช่น ความรู้พื้นฐาน การเรียนเสริม การให้คำปรึกษาแนะนำครบวงจร ทำให้อัตราการคงอยู่ร้อยละ 100 - - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรร่วมกันทำแผนพัฒนาอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้อาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และมีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น และมีคุณสมบัติตรงกับการเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในอนาคต พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งขณะนี้ได้มีอาจารย์ในคณะอยู่ระหว่างการขอตำแหน่งทางวิชาการซึ่งจะดำเนินการบุกเบิกเป็นตัวอย่างให้กับอาจารย์ภายในคณะ และจะจัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนหนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ในปีหน้าควรเพิ่มการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษไว้ด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาใหม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้านนี้ จัดแนวทางกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมการทดสอบความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital literacy )แล้วทดสอบภาษาอังกฤษ (RSU test)ที่ทางมหาวิทยาลัย อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในทุกๆปี -กิจกรรมรวบรวมนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมการทดสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital literacy)และกิจกรรมรวบรวมนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมการทดสอบภาษาอังกฤษ (RSU test) กับทางมหาวิทยาลัย -กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมปรับปรุงหลักสูตรในรอบปีการศึกษา 2569 รายการกำหนดสมรรถนะของนักศึกษารังสีเทคนิคทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) เนื่องจากหลักสูตรรับนักศึกษาได้เกินจำนวนที่คาดไว้ทุกปี (กำหนด 50 คน รับ 60-65 คน) อาจจะมีปัญหาเรื่องสัดส่วนของอาจารย์ เครื่องมือในการเรียนการสอน และการได้รับรองจากสภาวิชาชีพ ดังนั้นทางหลักสูตรควรจะหาแนวทางป้องกันในจุดนี้ด้วย -รับสมัครอาจารย์ทั่วไปหรือทาบทามโดยใช้ระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยรังสิต -ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่บุคคลทั่วไป -ส่งเสริมการเข้าถึงนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอกเชิงรุก ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทางรังสีเทคนิค ตามมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์ สรรหา อาจารย์ตามเป้าหมายที่กำหนด -ประชุมพูดคุยสำรวจปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือทางด้านการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมปัญหาในการจัดซื้อทางด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา -กิจกรรมเขียนแผนพัฒนาคณะรังสีเทคนิค ได้กำลังคนและปัจจัยเกื้อหนุน ซึ่งปัจจุบันได้มีการสรรหาเครื่องมืออุปกรณ์ตามแผนพัฒนาคณะ โดยมีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล และกำลังติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านรังสีรักษา และเครื่องมือรังสีอื่นๆ -รองคณบดีฝ่ายบริหาร