การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ของหลักสูตรมีการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ สามารถดำเนินการผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้ 1.อาจารย์ประจำหลักสูตรบรรลุงานวิจัย (ทุนภายใน) อย่างน้อย 1 ชิ้น ในปีแรก 2.ผลิตเอกสารประกอบการสอน และเข้าสู่กระบวนการสอบสอน อย่างน้อย 1 คน 3.เผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ (TCI1) อย่างน้อย 1 คน 1.โครงการเสวนาวิชาการโต๊ะกลม (ผลิตบทความวิจัยและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาต TCI2 ขึ้นไป อย่างน้อยจำนวน 1ชิ้น) 2.โครงการพัมนาศักยภาพครูภาษาจีน plus ดนตรีจีน (ผลิตบทความวิจัยจากการจัดการอบรม 1 ชิ้น) หัวหน้าภาควิชา
2) หลักสูตรมีความเข้มแข็งทางวิขาการ เห็นได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ และส่งนักศึกษาประกวดทักษะในรายการต่างๆ ส่งผลให้ นักศึกษามีผลงานวิชาการที่ได้มาตรฐาน สามารถเผยแพร่ในวงวิชาการ หรือเวทีวิจัยได้ 1.จัดโครงการติวสอบวัดระดับภาษาจีน แก่นักศึกษาในสาขา 1. กิจกรรมเตรียมความพร้องสำหรับการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน ดร.วสันต์ ทรัพย์ศิริพันธ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) กำหนดแนวทางการรักษาอัตราการคงอยู่และการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา โดยเฉพาะการกำหนดปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การเทียบโอนรายวิชา การเปลี่ยนแปลงรายวิชาบังคับก่อน เพื่อรับมือกับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แนวทางการรักษาอัตราการคงอยู่ (ต่อปัจจัยที่ควบคุมได้) 1.มีชั่วโมงโฮมรูม ของนักศึกษาแต่ละชั้นปี อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อภาคการศึกษา 2.จัดกิจกรรมติวภาษาจีน (HSK) สำหรับนักศึกษาในสาขา 3. สาขาวิชาปรับหลักสูตรใหม่ ปี 2568 โดยไม่มีรายวิชาบังคับก่อนเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้น หมายเหตุ ต่อปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ปัญหาการเงิน 1. มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาพูดคุยปัญหาในเบื้องต้น ก่อนส่งต่อเพื่อพบหัวหน้าหลักสูตรให้คำแนะนำ/ปรึกษาแนวทางการกู้ยืม การผ่อนชำระ รวมถึงหาแนวทางแก้ไขร่วมกับนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 คน
2) ควรมีมาตรการเพื่อรักษาการคงอยู่ของอาจารย์ให้ต่อเนื่อง 1. ลดกิจกรรม เพิ่มงานสอนตามความถนัด 2. สร้างขวัญกำลังใจและเชิดชูเกียรติ เมื่อมีผลงานทางวิชาการเป็นประจักษ์ในทุกมิติ รองหัวหน้าภาควิชา