การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรใช้ระบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ - หลักสูตรยังคงดำเนินการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระอย่างต่อเนื่องและมีการปรับปรุงระบบให้มีความเสถียรมากขึ้น รวมถึงการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยวิธี Blended-learning - รายวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ หัวหน้าภาควิชา
2) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป - ประเด็นเรื่องผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการ และมีคุณวุฒิที่สูงขึ้น สาขาวิชาภาษาอังกฤษได้ดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีการระบุกลยุทธ์เพื่อช่วยให้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น - มีการดำเนินการใชื้ แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ซึ่งแผนพัฒนานี้เป็นแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) สอดคล้องกับแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยและของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย โ การกำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลาการรายบุคคล หัวหน้าภาควิชา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีกระบวนเตรียมความพร้อมผู้เรียนที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและเพิ่มกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ภาควิชาดำเนินการวางแผน Action Plan โดยมุ่งเนินกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านทักษะภาษา วัฒนธรรม และสายอาชีพ มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้การทำงาน ร่วมมือกับผู้อื่น และพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนทัศนคติส่วนตัวเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ตลอดจนมีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสามารถนำไปสู่การทำงานที่บรรลุเป้าหมายได้ รวมถึงการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของชาติและต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักผ่านรูปแบบที่หลากหลาย โครงการพัฒนาทักษะวิชาการและประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา หัวหน้าภาควิชา
2) หาแนวทางและกลยุทธ์เพื่อพัฒนาอาจารย์ในด้านต่างๆ อาทิ การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หลักสูตรได้กำหนดให้บุคลากรจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ซึ่งแผนพัฒนานี้เป็นแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) สอดคล้องกับแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยและของวิทยาลัย และกำหนดแผนพัฒนาตำแหน่งวิชาการ มีการกำกับติดตามความก้าวหน้า การผลิตผลงานวิชาการ การขอทุนวิจัย และการขอตำแหน่งวิชาการ กิจกรรมพัฒนาทักษะด้านวิชาการสำหรับอาจารย์ในรูปแบบของการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านต่างๆ เช่น การวิจัย การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความเพื่อการเผยแพร่ การจัดทำเอกสารประกอบการสอนและเอกสารคำสอน หัวหน้าภาควิชา