การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษามากขึ้น มีผลงานประจักษ์ เป็นรางวัลของนักศึกษาต่อเนื่องทุกปี กิจกรรมร่วมกับ คณาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยในความร่วมมือ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งแบบ Online และ Onsite สนับสนุนให้นักศึกษา สอบวัดระดับ JLPT เพื่อยกระดับความสามารถทางภาษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการฝึกงานและการสมัครงาน 1. Silapasat Educational Tour @Saga รุ่นที่ 2 เดือนตุลาคม นักศึกษา มรส. 15 คน ทัศนศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม ณ เมืองซากะ ประเทศญี่ปุ่น 2. กิจกรรม แลกเปลี่ยน กับนักศึกษาจาก Fukuoka Foreign Language College (FFLC) หัวข้อ สิ่งแวดล้อม 3. กิจกรรม Work shop ร่วมกับ นักศึกษา Kyushuu University วันที่ 16-17 ก.พ.2567 4. โครงการติวสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ช่วงปิดเทอม คณาจารย์ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น
2) หลักสูตรมีระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพในหลายๆ ประเด็น โดยเฉพาะความร่วมมือกับสถานประกอบการและสถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้นักศึกษาได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นหลายคน 1. มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการสมัครทุน และให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเรียน การทำ Study Plan ในการสมัครสอบ 2. ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อหาแหล่งฝึกงานที่หลากหลาย 1.ประชาสัมพันธ์เรื่องการสมัครทุน และนัดประชุมนักศึกษาที่สนใจสมัคร เพื่อจัดเวลาให้บริการปรึกษาด้านกรวางแผน การเขียน study plan 2. ทำความร่วมมือกับ Fukuyama Transpotation Fuuyama City University จัดกิจกรรมประกวดสุนทรพจน์ และสร้างโอกาสในการฝึกงาน ณ สำนักงานของบริษัททั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 3. จัดประชุมหารือความร่วมมือด้านสหกิจศึกษา และเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะเดินทางไปฝึกสหกิจศึกษา ในเดือนมีนาคม กับ Mr. Yoshita Katsuhisa ประธานบริษัท TOUCH Co.,Ltd. จังหวัดอิชิกาวา ประเทศญี่ปุ่น วันพุธที่ 17 ม.ค.2567 ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น
3) หลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับผู้เรียน 1.ปรับเนื้อหาในบางรายวิชาที่เน้นการศึกษาด้วยตนเอง หรือเชิญวิทยากรพิเศษมาบรรยายเสริม 2.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน ระหว่างนักศึกษาเอกญี่ปุ่นกับมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ โดยบูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ 1.เชิญวิทยากรพิเศษมาบรรยายเสริมในรายวิชา JPN303 การเมืองและเศรษฐกิจ 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่าง นศ.เอกญี่ปุ่นกับ นักศึกษา Kyushuu University ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2567 ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ด้านอาจารย์ : อาจารย์ผู้รับผิดชอบควรวางแผนด้านการพัฒนาผลงานวิชาการให้เป็นรูปธรรม ควรมีความสม่ำเสมอในการผลิตผลงานวิชาการต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ หลักสูตรควรสนับสนุนอาจารย์เพิ่มเติมด้วย ประชุมวางแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล วางแผนการผลิตผลงานวิชาการ ปรึกษารองคณบดีฝ่ายวิชาการ และเข้าร่วม Work shop การผลิตผลงานวิชาการ 1. สัมมนาบุคลากรวิทยาลัยศิลปศาสตร์ เพือ่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. บรรจุเรื่องงานวิชาการในการประชุมภาควิชา ประจำเดือน เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนการผลิตงานวิชาการ 3. จัดตารางสอนเพื่อเอื้อให้แก่อาจารย์ที่มีแผนจะผลิตผลงานวิชาการ หรือทำวิจัย อาจารย์ประจำหลักสูตร
2) ด้านนักศึกษา : ควรจัดระบบให้การดูแล ให้คำปรึกษาและที่ปรึกษาด้านวิชาการกับนักศึกษาทุกชั้นปี สำหรับปี 1 เพื่อลดการตกออก สำหรับปี 2-3 เพื่อให้นักศึกษาขึ้นชั้นปีได้ตามเป้าหมาย สำหรับปี 4 เพื่อให้จบการศึกษาได้ตามกรอบเวลา 1. สร้างช่องทางติดต่อเพื่อให้คำปรึกษา กับนักศึกษาในแต่ละชั้นปี กลุ่ม Facebook ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละชั้นปี 2. วางแผนการลงทะเบียน และให้คำปรึกษา กรณีที่นักศึกษา มีผลการเรียนเสี่ยงต่อไม่สำเร็จการศึกษาตามกรอบเวลา โดยประเมินจากผลการเรียนรวม (GPA) อัพเดททุกภาคเรียน 1. กลุ่ม Facebook ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละชั้นปี และ Line Group ระหว่างนักศึกษาวิชาเอก รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อให้ข้อมูล คำแนะนำในด้านต่างๆ 2. จัดกิจกรรม ติวปรับพื้นฐานความรู้ให้แก่นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐาน 3. จัดกิจกรรม ติวภาษาก่อนสอบ หรือติวสอบวัดระดับ กิจกรรมพี่สอนน้อง อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาแต่ละชั้นปี