การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรที่หลากหลายช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยพยายามเชิญชวนให้นักศึกษาทุกชั้นปีมีโอกาสได้เข้าร่วม ตามความสมัครใจ โดยไม่จำกัดว่า กิจกรรมนั้นๆ สำหรับชั้นปีใดชั้นปีหนึ่งเป็นการเฉพาะ 1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมบัณฑิต(ปัจฉิมนิเทศ) 2.การบรรยายพิเศษ Nation Building 1.หัวหน้าภาควิชาภาษาญี่ปุ่น 2.วิทยาลัยศิลปศาสตร์
2) หลักสูตรมีความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ความเป็นนานาชาติรวมถึงการฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น ขยายความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษา องค์กรหรือหน่วยงานของญี่ปุ่นที่มีความหลากหลายประเภท ทั้งของเอกชนและรัฐเพื่อเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และประสบการณ์ในการฝึกงาน โครงการความร่วมมือกับคู่สัญญาประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ การเดินทางไปเจรจาความร่วมมือ ณ ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการที่มีคู่เจรจาจากประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัย พร้อมเจรจา และลงนามความร่วมมือในด้านต่างๆ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของวิทยาลัยศิลปศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรปรับปรุงหรือหาแนวทางในการเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา โครงการเตรียมความพร้อม ปรับรูปแบบวิธีการสอน การประเมินผล และปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบรายวิชา โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กิจกรรมเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา คณาจารย์ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น
2) ควรปรับปรุงหรือหาแนวทางในการเพิ่มอัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา เรียนรู้ศึกษาเงื่อนไข กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสำเร็จการศึกษา จัด KM ภายในภาควิชา ทบทวนประเด็นปัญหาต่างๆ ประชุมคณาจารย์ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษานัดหมายจัดประชุมนักศึกษาอย่างน้อยเทอมละ 1 ครั้ง ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น
3) หลักสูตรควรมีแผนเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และควรกระตุ้นให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลตผลงานทุกคน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ สนับสนุนให้อาจารย์ที่มีแผนก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ได้มีโอกาสผลิดผลงาน โดยปรับลดภาระงานสอนให้น้อยลงกว่าเดิมเพื่อเอื้อให้ดำเนินการได้ KM ภายในภาควิชา / เข้าร่วม Work Shop หัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัย หรือการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ที่จัดโดยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานภายนอก คณาจารย์ในภาควิชาภาษาญี่ปุ่น