การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการและงานสอน/งานที่ปรึกษา สามารถบริหารจัดการเผยแพร่บทความและงานวิจัยได้สำเร็จตามเป้าหมาย ประเด็นเรื่องผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเผยแพร่บทความและงานวิจัยได้สำเร็จตามเป้าหมาย สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพได้ดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีการระบุกลยุทธ์เพื่อช่วยให้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแผนดังกล่าวเป็นแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ซึ่งแผนพัฒนานี้เป็นแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) สอดคล้องกับแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยและของคณะ โดยเพิ่มเติมค่าเป้าหมายขั้นต่ำ ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในแต่ละด้านคือ การดำเนินโครงการวิจัย การเผยแพร่บทความ การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน และตำรา การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ และการอบรมสัมมนา และศึกษาดูงาน โดยบุคลากรทุกคนในภาควิชา ต้องจัดทำและส่งให้กับหัวหน้าภาค และหัวหน้าภาคในฐานะผู้บังคับบัญชาจะรวบรวม และสรุปส่งให้กับคณะในขั้นตอนถัดไป 1. การอบรมพัฒนาทักษะการทำวิจัยในมิติต่างๆ และการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2. เครือข่ายความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ (เช่นวารสาร) ของวิทยาลัยศิลปศาสตร์และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) หลักสูตรได้รับความพึงพอใจค่อนข้างสูงจาก Stakeholders ได้แก่ บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ประเด็นเรื่องการส่งเสริมความรู้ด้านการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่ศิษย์เก่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการอบรมความรู้ด้านต่างๆ ให้กับนักศึกษาปัจจุบันตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมนักศึกษา การอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา และการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) หลักสูตรมีการบริหารงานที่ดีมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดีมาโดยตลอด สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพมีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงกรรมการภายนอกที่ดูแลโครงการวิจัยของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังมีช่องทางการสื่อสารระหว่างนักศึกษาหลายช่องทางทำให้กลไกของการดำเนินการระบบบริหารหลักสูตรเป็นไปอย่างราบรื่น 1. การประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 2. การดูแลช่องทางการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์ เช่นกลุ่ม LINE และ facebook ผู้อำนวยการหลักสูตร
4) หลักสูตรมีการพัฒนานักศึกษาในการจัดอบรมความรู้ด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษาทำการค้นคว้าอิสระได้เป็นอย่างดี ประเด็นเรื่องการส่งเสริมความรู้ด้านวิจัยในมิติต่างๆ ให้กับนักศึกษาปัจจุบัน สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการอบรมความรู้การใช้ภาษาอังกฤษด้านต่างๆ ให้กับศิษย์เก่า ตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมนักศึกษา 1. จัดการอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา และการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2. จัดกิจกรรมการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นเวทีและช่องทางให้นักศึกษาได้เห็นความหลากหลายของหัวข้อวิจัยและเป็นโอกาสให้อาจารย์ได้สอดแทรกความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในมิติต่างๆ ของงานวิจัย ผู้อำนวยการหลักสูตร
5) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ประเด็นเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพได้ดำเนินการจัดอบรมความรู้ด้านวิจัยในมิติต่างๆ ควบคู่กับการอบรมความรู้การใช้ภาษาอังกฤษแบบ online และจัดทำบันทึกการอบรมดังกล่าวในรูปแบบของ clip และนำไปวางไว้ใน platform ที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก จัดการอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา และการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการหลักสูตร
6) หลักสูตรมีระบบการติดตามการทำวิทยานิพนธ์แก้นักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ระบบการทำงานกลุ่ม และระบบ Buddy จึงทำให้มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจำนวนมากขึ้น แก้ปัญหาจำนวนตกค้างของนักศึกษา หลักสูตรมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าอิสระให้แก่นักศึกษา โดยเห็นผลเป็นรูปธรรมจากผลคะแนนการประเมินด้านระบบสารสนเทศที่มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องทุกปี 1. พัฒนาระบบการส่งรายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ และฐานข้อมูลรายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระและวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา 2. พัฒนาบริการสืบค้นจากฐานข้อมูลทางด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ออนไลน์โดยให้บริการโดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต เช่น EBSCOHost ThaiLIS Wiley Proquest 3. มี facebook page ของภาควิชา (RSU English Majors) เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางในการให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการหลักสูตร
7) (แนวทางเสริม)หากพิจารณาปรับหลักสูตรเน้นสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาภาษาอังกฤษแบบก้าวกระโดด ผู้ที่มีพื้นฐานด้านภาษาไม่สูงมาก หรือความสามารถในการใช้เทคโนโลยี AI อย่างถูกต้องเป็นระบบมีความเข้าใจ สามารถนำความรู้จากหลักสูตรไปพัฒนาต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต และประชาสัมพันธ์สื่อสารภาพลักษณ์ทีมบุคลากรที่มีคุณภาพนี้ ไปยังกลุ่มเป้าหมายคาดว่าจะเป็นหลักสูตรที่มีความความโดดเด่นเป็นที่นิยมมากขึ้นได้ สาขาวิชาไม่ได้วางแผนที่จะดำเนินการหลักสูตรต่อในระยะยาว เนื่องจากข้อจำกัดด้านต่างๆ ซึ่งได้หารือกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และบัณฑิตวิทยาลัยแล้ว จึงไม่มีการวางแผนพิจารณาปรับหลักสูตรแต่อย่างใด ไม่มี ไม่มี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหกลักสูตรอยู่ระหว่างดำเนินการตามภารกิจด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการแล้ว คาดว่าจะได้รับการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มได้ตามเป้าหมายภายใน 1-2 ปีการศึกษา (67-68) ประเด็นเรื่องผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการ และมีคุณวุฒิที่สูงขึ้น สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพได้ดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีการระบุกลยุทธ์เพื่อช่วยให้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแผนดังกล่าวประกอบด้วยประเด็นหลักสองประเด็นคือ 1. แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ซึ่งแผนพัฒนานี้เป็นแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) สอดคล้องกับแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยและของคณะ โดยเพิ่มเติมค่าเป้าหมายขั้นต่ำ ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในแต่ละด้านคือ การดำเนินโครงการวิจัย การเผยแพร่บทความ การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน และตำรา การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ และการอบรมสัมมนา และศึกษาดูงาน โดยบุคลากรทุกคนในภาควิชา ต้องจัดทำและส่งให้กับหัวหน้าภาค และหัวหน้าภาคในฐานะผู้บังคับบัญชาจะรวบรวม และสรุปส่งให้กับคณะในขั้นตอนถัดไป 2. แผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยได้แก่ การพัฒนางานวิจัย (การผลิตงานวิจัยใหม่) และการบริหารงานวิจัย (การนำงานวิจัยที่มีอยู่แล้วไปใช้ประโยชน์) โดยให้อาจารย์ที่ยังทำโครงการวิจัยไม่เสร็จสิ้นทุกคนในภาควิชาต้องส่งแบบรายงานความก้าวหน้าต่อหัวหน้าภาคเมื่อสิ้นสุดภาค นอกจากนี้คณะได้ย้ำให้คณาจารย์ได้รับทราบถึงความเป็นไปได้ในการขอลาปฏิบัติภารกิจเพื่อการทำงานวิชาการ (sabbatical leave) จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านวิชาการสำหรับอาจารย์ในรูปแบบของการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านต่างๆ เช่น การวิจัย การเขียนส่วนต่างๆ ของบทความเพื่อการเผยแพร่ การจัดทำเอกสารประกอบการสอนและเอกสารคำสอน ผู้อำนวยการหลักสูตร