การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีกิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาที่หลากหลายตอบสนองเป้าหมายในการพัฒนาทุกๆ ด้าน ตามกรอบผลลัพธ์การเรียนรู้และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียน -ให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ การทำงาน ทักษะทางสังคม ผ่านการอบรมโครงการของภาควิชา -ให้นักศึกษาได้นำความรู้วิชาการไปใช้ในบริบทของสังคม เรียนรู้ผ่านกิจกรรม สัมผัสประสบการณ์จริง -โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน 2567 หัวข้อ การเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 เข้าร่วมอบรมเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ -ปรับเปลี่ยนกิจกรรม การสอบวัดและประเมินผลในรูปแบบให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ เทคนิคการนำเสนอ ในการเผยแพร่ภาษาวัฒนธรรมไทย ให้แก่นักศึกษาชาวต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มี่ชื่อเสียงในรูปแบบออนไลน์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรมีความน่าสนใจ มีหลายรายวิชาที่เป็นการประยุกต์ด้านการใช้ภาษาเข้ากับองค์ประกอบในมิติต่างๆ ในสังคม -ให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์ต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น -ฝึกเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมให้แก่ชาวต่างประเทศในรูปแบบออนไลน์ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง -ให้นักศึกษามีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างประเทศที่จัดขึ้นทุกปี
3) หลักสูตรมีการบริหารจัดการเรื่องอาจารย์ดีมากทำให้การคงอยู่มีแนวโน้มดีมาก อาจารย์ได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีความพึงพอใจมาก -มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือนอย่างสม่ำ ให้อาจารย์ได้นำเสนอปัญหา หรือ ข้อสังเกต และช่วยกันแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางในที่ประชุม -การประชุมอย่างสม่ำเสมอตลอดปีการศึกษา โดยมีวาระให้อาจารย์ได้นำเสนอแสดงความคิดเห็น สะท้อนปัญหา -โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นตามความต้องการของอาจารย์ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหา หรือเสริมจุดแข็งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) การพัฒนาผู้เรียนมีระบบและกลไกที่ชัดเจน ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำงานในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงฝึกให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้กับการวิจัย -ให้นักศึกษาได้นำความรู้ในห้องเรียนไปบริการวิชาการ ควบคู่กับการฝึกทำวิจัย -โครงการสัมมนาและฝึกอบรม ให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินงาน นำความรู้ไปประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมด้วยตนเอง และเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม -วัดและประเมินผล ด้วยการให้นักศึกษาเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ผสมผสานกับการทำวิจัย ประเมิน SWOT การทำงาน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผ้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนผลิตผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง -กระตุ้นเตื่อนเรื่องเงื่อนไขเวลา ช่องทางการเผยแพร่ การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี -จัดอบรมความรู้ในเรื่องที่อาจารย์สนใจ -โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) ควรมีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในหลักสูตรที่เป็นลักษณะของการบริการวิชาการ เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนนักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในเวทีที่ใหญ่ขึ้น -ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เข้าแข่งขันวิชาการในเวทีต่างๆ -ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกิจกรรมของสาขาวิชา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย รวมถึงชมรมต่าง ๆ -โครงการศึกษาดูงาน -โครงการประกวดทักษะภาษาและวัฒนธรรมไทย -โครงการสัมมนาและจัดฝึกอบรม -กิจกรรมอื่นๆ ของวิทยาลัย เช่น Silapasat Fest, Open house, การจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร