# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี ครบถ้วน และมีจำนวนผลงานวิชาการต่อท่านในปริมาณค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ |
ติดตามความก้าวหน้า สนับสนุน และส่งเสริม การผลิตผลงานวิชาการแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน |
โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ (660784) |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
2) |
หลักสูตรมีการวางแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 2 ท่าน ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น คือ ผศ.ดร.ไพกานท์ และ ผศ.กรพงศ์ [จากอาจารย์ประจำคณะที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น 5 ท่าน] |
ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน ผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย |
โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ (660784) |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
3) |
หลักสูตรมีแผนงานในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามความต้องการของหลายภาคส่วนได้แก่ สถานประกอบการ นักศึกษา เป็นต้น โดยหลักสูตรมีความร่วมมือทางวิชาการ MOU ร่วมกับองค์กรภายนอกในการกำหนดเนื้อหาของสาระการเรียนรู้ผ่านรายวิชาต่างๆ เช่น กลุ่มรายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม [ARC 301 และ ARC 401] MOU ร่วมกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกออกแบบโครงการสถาปัตยกรรมบนที่ดินของบริษัท และรายวิชาอื่นๆ อีก 4 รายวิชาที่ MOU ร่วมกับอีก 3 บริษัท |
ทบทวนการดำเนินการปีที่ผ่านมา และเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับองค์กรภายนอกมากขึ้น |
โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต (MOU) (660782) |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
4) |
หลักสูตรมีการนำผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยในปีการศึกษา 2565 ได้เพิ่มงบลงทุนเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ใหม่จำนวน 170 เครื่อง และประสานขอความอนุเคราะห์ศูนย์คอมพิวเตอร์มาปรับปรุงแก้ไขสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ค่าความพึงพอใจนักศึกษาดีขึ้น และมีแนวโน้มความพึงพอใจทั้งกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ดี |
แต่งตั้งคณะกรรมการอาคารสิ่งแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2566
และ สำรวจ เก็บข้อมูลความต้องการจำเป็นในการพัฒนาปรับปรุง อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการ |
โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (660786) |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
5) |
ในกระบวนการรับนักศึกษาได้มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีการทำสื่อเป็นชุดความรู้ 4 เรื่อง [1) ความรู้เรื่องโครงสร้างหลักสูตร 2) ความรู้ด้านแนวทางปฏิบัติวิชาชีพ 3) ความรู้ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) ความรู้ด้านการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย] และมีการจัด Open House เปิดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เข้าเห็นสถานที่ ห้องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียน และรูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนมีโครงการส่งเสริมการตลาดแบบ Inbound marketing บูรณาการกับการเรียนการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวด และส่งบทความวิชาการเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตร ทำให้สามารถรับนักศึกษาได้ 172 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 150 คน |
แต่งตั้งคณะกรรมการสื่อสารองค์กรและการตลาด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566 ทบทวน และปรับปรุง/พัฒนา สื่อชุดความรู้และกิจกรรม สำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และรองรับการเข้าเยี่ยมชมคณะฯ (OPEN HOUSE) ส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร
สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานนักศึกษา
|
โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (660198)
โครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ (660785)
โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (660786) |
รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
|
6) |
หลักสูตรมีหลากหลายกิจกรรมในการให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีคุณลักษณะตามศตวรรษที่ 21 และเพื่อการเข้าสู่การพัฒนาชุมชน รวมถึงการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการระดับนานาชาติ ควรนำมารายงานในตัวบ่งชี้ 3.2 หน้าที่ 43 โดยเชื่อมโยง [Mapping] กับทักษะต่างๆ ตามที่หลักสูตรระบุเอาไว้แล้วรายงานผลการประเมิน [เช่น ค่าร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะนั้นๆ เป็นต้น] เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในปีการศึกษาถัดไป |
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนานักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2566 ทบทวนข้อมูลผลการดำเนินงานจัดทำความเชื่อมโยง (Mapping) นำไปใช้วางแผนปรับปรุงการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในปีการศึกษาถัดไป |
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (660779)
โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (660198)
|
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตรฯ |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรมีแนวทางการส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร โดยเฉพาะการกำกับติดตามการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา |
1. ตรวจสอบผลการเรียนตามโครงสร้างหลักสูตร (มรส.36) ของนักศึกษา เพื่อวางแผนการเรียนให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร
2. ตรวจสอบนักศึกษาตกค้าง IP ในรายวิชาวิทยานิพนธ์ และติดตามนักศึกษา เพื่อกลับมาดำเนินการให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร
3. ทบทวนกระบวนการ และวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา |
การตรวจ มรส.36 และแผนการเรียนโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตัวนักศึกษา (ชั้นปีที่ 1-4)
การตรวจ มรส.36 และแผนการเรียนโดยทีม One Stop Service (ชั้นปีที่ 5)
การติดตามนักศึกษาตกค้าง IP ในรายวิชาวิทยานิพนธ์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และหัวหน้าหลักสูตร |
2) |
หลักสูตรควรแสดงหลักฐานการรายงานสัมฤทธิผลรายวิชา [CLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานสัมฤทธิผล [YLO] และการรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ |
แต่งตั้งคณะทำงานกรรมการจัดการข้อมูลพัฒนาการและผลสรุปการเรียนรู้ของนักศึกษา Formative and Summative Assessments |
จัดทำรายงานสัมฤทธิ์ผลรายวิชา [CLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้
จัดทำรายงานสัมฤทธิ์ผลรายชั้นปี [YLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้
จัดทำรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ |
หัวหน้าหลักสูตรฯ |