การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตเน้นคุณภาพที่มีมาตรฐานและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล มีความเป็นเลิศทางด้านการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นผู้นำในสายอาชีพ ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาดวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่เป็นไปตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education,TQF:HEd) และผลลัพธ์การศึกษาที่ต้องการ (Desired Outcomes of Education หรือ DOE) เพื่อใช้เป็นกรอบผลลัพธ์ที่เป็นคุณลักษณะทั้งในระหว่างที่กำลังศึกษาและหลังจากสำเร็จการศึกษา โดยมีการนำเข้าข้อมูลจากการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตมาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดค่าเป้าหมาย กรอบกระบวนการ และกลไกการวัด ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs: Program Learning Outcomes) และเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (CLOs: Course Learning Outcomes) ให้ครอบคลุมกับประเด็นต่างๆ การใช้กลไกความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น เป็นผู้ให้โจทย์ เป็นผู้ตรวจประเมิน เป็นวิทยากร หรือเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน 1. กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม ชั้นปีที่ 1-4 2. กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ ชั้นปีที่ 1-4 หัวหน้าหลักสูตร
2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานวิชาการในรอบ 5 ปี ครบถ้วน และมีจำนวนผลงานวิชาการต่อท่านในปริมาณค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ หลักสูตรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานสร้างสรรที่ได้รับการเผยแพร่ที่มีคุณภาพสูง อาจพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ผลักดันให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีโอกาสพัฒนา และผลิตผลงานวิชาการต่อเนื่อง จากฐานของการจัดการเรียนการสอน โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ รหัสโครงการ 670212 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) หลักสูตรมีแผนงานในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามความต้องการของหลายภาคส่วนได้แก่ สถานประกอบการ นักศึกษา เป็นต้น โดยหลักสูตรมีความร่วมมือทางวิชาการ MOU ร่วมกับองค์กรภายนอกในการกำหนดเนื้อหาของสาระการเรียนรู้ผ่านรายวิชาต่างๆ มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกจำนวนมากมาร่วมสอนทั้งรายวิชาบรรยาย และปฏิบัติ ขยายกรอบความร่วมมือกับบริษัทที่ครอบคลุมมิติงานทางวิชาชีพที่หลากหลาย และเชิญวิทยากรภายนอกมามีส่วนร่วมในการเป็น Peer Reviewer โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต (MOU) รหัสโครงการ 670185 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) หลักสูตรมีการนำผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้หลักสูตรไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น และมีแนวโน้มความพึงพอใจทั้งกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ดี จัดทำหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการเตรียมความพร้อมก่อนสหกิจศึกษาและการเตรียมตัวสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพ โครงการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
5) หลักสูตรมีการพัฒนากระบวนการรับนักศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มีกลไกที่แข็งแรงคือ SMART TEAM และ One Stop Service ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน เพิ่มช่องทางการสื่อสารทาง Line Official จัดเวรแบ่งวันทำงานในการตอบคำถาม เพิ่มการรับรู้โดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและผลงานคณะฯ ในสื่อ Social ต่างๆ และมีการเปิดคณะ “ Open House” ให้ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เข้ามาทำกิจกรรม workshop ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก เช่น โครงการ First Date มีการประเมินวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วม เฉลี่ยที่ 4.57 และประเมินโครงการในทุกๆด้าน เฉลียที่ 4.65 เป็นไปตาม KPI 1.1.4 และ KPI 1.2.4 จากการปรับปรุงส่งผลให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม มีผลการดำเนินงานเชิงผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้สามารถรับนักศึกษาได้ 224 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 200 คน การเข้าร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อต่อยอดและขยายผลในการสร้างการรับรู้กับเครือข่ายโรงเรียน โครงการ Open House รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) กิจกรรมพัฒนานักศึกษา ตามทักษะในศตวรรตที่ 21 เมื่อทำการ Mapping กับกิจกรรมต่าง ๆ กับทักษะต่างๆ แล้ว ควรทำการประเมินร้อยละนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะนั้น ๆ แล้วนำผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ หรือกิจกรรมต่อไป พัฒนากระบวนการ กลไก และมาตรการให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยกลไก stakeholder ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะร่วมระหว่างชั้นปี โครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ รหัสโครงการ 670218 โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รหัสโครงการ 670061 โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ รหัสโครงการ 670062 โครงการทัศนศึกษาและการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ รหัสโครงการ 670186 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ร่วมกับ หัวหน้าหลักสูตร
2) หลักสูตรควรมีแนวทางการส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร โดยเฉพาะการกำกับติดตามการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา หลักสูตรได้กำหนดมาตรฐานในการกำกับติดตามและพัฒนากลไกเตรียมความพร้อมในส่วนอัตราอาจารย์ในชั้นปีที่ 1 และวางกรอบกระบวนการการจัดทำวิทยานิพนธ์ในชั้นปีที่ 5 อย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และหัวหน้าหลักสูตร
3) หลักสูตรควรแสดงหลักฐานการรายงานสัมฤทธิผลรายวิชา [CLO] ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานสัมฤทธิผล [YLO] และการรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 1. หลักสูตรมีการกำกับการประเมิน CLO โดยชั้นปี และกลไกตรวจข้ามชั้นปี รวมทั้งมี External Peer Review 2. หลักสูตรจัดให้มีกระบวนการตรวจประเมินในวัน Academic Day เมื่อสิ้นภาคการศึกษา โดย External Peer Review เพื่อประเมิน YLOs 1. กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 1-4 2. Academic Day หัวหน้าหลักสูตร
4) พัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ให้สูงขึ้นในระดับรองศาสตราจารย์ หลักสูตรส่งเสริมและผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 ท่าน โดยมีอาจารย์ 3 ท่าน จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สู่ รองศาสตราจารย์ และ 2 ท่าน จาก ดร. สู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1. โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ รหัสโครงการ 670212 2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดโดยคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถ.3110/030/2567) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
5) พัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย / สร้างสรรค์ ในเวทีระดับนานาชาติ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ หลักสูตร มีการผลักดันให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จัดทำผลงานทางวิชาการ งานวิจัย / สร้างสรรค์ ในเวทีระดับนานาชาติ ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ การประกวด ASA INTERNATIONAL ABSTRACT COMPETITION ในงานสถาปนิก เป็นต้น โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ รหัสโครงการ 670212 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมกับ หัวหน้าหลักสูตร
6) ควรเพิ่มการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาใหม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้านนี้ หลักสูตรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน THAI-NONTHAI และการค้นคว้าด้วย AI รวมถึงเปิดให้มีช่องทางการนำเสนอที่ใช้ภาษาอังกฤษในรายวิชาวิทยานิพนธ์ 1. กิจกรรมการนำเสนอ ผลงานวิทยานิพนธ์แยกกลุ่มนำเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤษ 2. กิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบสถาปัตยกรรม ก่อนนักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 3. โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รหัสโครงการ 670061 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตร