การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สามารถส่งเสริมให้นักศึกษา ตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติ หลักสูตรมีการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ให้แก่นักศึกษาในปีการศึกษา 2565 ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ เช่น รายวิชา ABM412 สัมมนายุทธศาสตร์ในธุรกิจการบิน กิจกรรม/หัวข้อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ รายวิชา ABM410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจการบิน กิจกรรม/หัวข้อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ ส่งเสริมให้นักศึกษามีการบูรณาการความรู้ด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (SPSS) เพื่อสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติได้ โดยไปสานต่อจากปีการศึกษา 2563/2564 ที่มีผลงานนักศึกษาร่วมอยู่ในการประชุมวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาและการประชุม วิชาการระดับนานาชาติ The 2st ISCAMR 2022 International Student Conference on Academic Multidisciplinary Research 2021. April 27, 2022 ในปี 2565 นี้ ทางหลักสูตรฯ มุ่งเน้นการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีความเป็นนานาชาติสืบเนื่องจากปีก่อนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ในยุทธศาสตร์ที่ 4 Internationalization หลักสูตรฯและอาจารย์ประจำวิชาได้มีการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านงานวิจัย ในรายวิชา ABM410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจด้านการบิน สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำวิชา
2) อาจารย์ทั้ง 5 ท่านมีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ ปีการศึกษา 2565 ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ โดยนำผลจากการประเมินระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ มาปรับปรุงการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ หลักสูตรฯ ได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้ผลิตผลงานวิชาการ และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามแผนความก้าวหน้าของการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรายบุคคล รวมทั้งให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการ ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา รวมถึง เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีบุคลากรสายอาจารย์ ของมหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน -จัดอบรมการผลิตผลงานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ -นักวิจัยพี่เลี้ยง ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร
3) หลักสูตรมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้มแข็ง และมีกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นความพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุดต่อเนื่อง โดยมีเป้าประสงค์เพื่อการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุขของนักศึกษา และการพบความสำเร็จเป็นบัณฑิตที่เป็นคนดีของสังคม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง มีการกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยกำหนดตามรหัสนักศึกษาต่ออาจารย์เป็นจำนวนเท่า ๆ กันอาจารย์โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยแนะนำการวางแผนการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลา ที่กำหนด รายชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษามีดังนี้ 1. อาจารย์พาริส หงษ์สกุล 2. ผศ.ดร. ณัฐพงษ์ จันทชโลบล 3. อาจารย์ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบรูณ์ 4. อาจารย์ดุสิต ศิริสมบัติ 5. อาจารย์ ดร. อรัญญา พิสิษฐเกษม หลักสูตรฯ ได้จัดทำสมุดคู่มือสำหรับนักศึกษาประกอบการศึกษาโดยแจกให้กับนักศึกษาทุกคนในการปฐมนิเทศ และหากนักศึกษาที่ไม่ได้มาในวันปฐมนิเทศก็สามารถตรวจสอบรายชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษาตัวเองได้จากระบบอินทราเน็ตและที่บอร์ดหน้าห้องสาขาวิชาฯ เพื่อที่จะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษารับคู่มือและให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้แนะนำเพิ่มเติมอีกด้วย และนอกจากนี้อาจารย์ทุกคนจะกำหนดวันเวลาในชั่วโมงให้คำปรึกษาเป็นชั่วโมงการทำงาน (Office Hour) ติดไว้หน้าห้องพักของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคนในตารางสอนเพื่อให้นักศึกษาทราบโดยทั่วกัน และเพิ่มช่องทางกการให้คำปรึกษาออนไลน์ผ่านระบบไลน์กลุ่ม ซึ่งทำให้สามารถแก้ไข ให้คำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที เมื่อนักศึกษาเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจเรื่องใด ทั้งนี้ในคู่มือนักศึกษาที่ทางหลักสูตรฯได้เตรียมให้กับนักศึกษานั้น จะประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ โครงสร้างหลักสูตรฯ ที่นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิต โดยอธิบายถึงรายชื่อวิชาพร้อมรหัสรายวิชา อีกทั้งยังมีข้อมูลสำคัญในการระบุวิชาการลงทะเบียนในแต่ละภาคเรียน รวมถึงห้องพักอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และรายชื่อของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการเรียน และการเข้าพบอาจารย์ของนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทางหลักสูตรได้มีการจัดแผนการเรียนให้กับนักศึกษาในชั้นปีที่ 1 และจัดแผนการเรียนลักษณะชุดกระเช้ารายวิชา ให้กับนักศึกษาในชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเตรียมตัวการลงทะเบียนตามระบบ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้รวมถึงนักศึกษาในหลักสูตร ควบสองปริญญาด้วยเช่นกัน เช่น ในการจัดแผนการเรียนในรายวิชาบริหารธุรกิจให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยนักศึกษาควรต้องลงทะเบียนรายวิชาคำนวณอย่างน้อยเทอมละ 2-3 วิชา ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถศึกษา ได้อย่างเหมาะสมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในคู่มือนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ แต่ละคนจะมีการจัดตารางเวลาในการให้คำปรึกษาสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง โดยหลักสูตรได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ทั้งนี้ทางหลักสูตรได้มีนโยบายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดให้มีช่องทางสำหรับให้นักศึกษาได้เข้าปรึกษาหลายช่องทาง อาทิ มาพบโดยตรงที่ห้องพักอาจารย์ หรือปรึกษาผ่าน Line, Facebook, E-Mail รวมถึงโทรศัพท์มือถือของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อง่ายต่อการเข้าปรึกษา ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และจัดแผนการเรียนของนักศึกษาทุกชั้นปีโดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, 3 ให้มีตารางการ HOMEROOM ในช่วงเวลา 15.00-17.00 น. ทุกวันอังคารเพิ่มเติมอีกด้วยเพื่อเพิ่มช่องทางทางติดต่อระหว่างนักศึกษากับอาจารย์นอกเวลา ตามแต่ละวิธีในการบริหารของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคน นอกเหนือจากโครงการ Homeroom หลักที่ทางหลักสูตรได้จัด 2 ครั้งต่อภาคการศึกษาอีกด้วย นอกจากนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิตจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาธรรมาธิปไตย (RSU111) เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีมีจิตสาธารณะ พัฒนาศักยภาพและทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยมีรูปแบบการเรียนการสอบแบบ Project-Based Learning Approach ซึ่งจะช่วยส่งผลดีแก่นักศึกษาในการเรียนรู้เพื่อนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาได้อย่างดี และจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จากการร่วมกันวางแผนการเรียน โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้สอนกับนักศึกษาโดยตรงของสาขาใดสาขานั้น เพื่อเพิ่มให้นักศึกษาได้คุ้นเคยกับอาจารย์ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าเรียน ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของหลักสูตรจะมีส่วนช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ลดอัตราการลาออกกลางคันในระหว่างการศึกษาตลอดหลักสูตร นักศึกษามีความคุ้นเคย หรือมีสัมพันธภาพที่ดี ส่งผลทำให้นักศึกษามีความกล้าที่จะสอบถามหรือขอคำปรึกษากับอาจารย์ได้อย่างดี ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพของนักศึกษาและความพึงพอใจในการศึกษาที่นักศึกษามีต่อหลักสูตรอีกด้วย เพื่อให้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางหลักสูตรฯ กำหนด ให้นักศึกษาทุกคนต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อปรึกษาเรื่องการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา พร้อมทั้งพิจารณาความเหมาะสมของรายวิชา ที่จะลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา ก่อนจะอนุมัติการลงทะเบียนล่วงหน้าของนักศึกษาแต่ละคน โดยการปลดล็อคในระบบการลงทะเบียน ซึ่งทำให้นักศึกษาจะต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถติดตามผลการเรียนและให้คำแนะนำ การลงทะเบียนที่เหมาะสมให้แก่นักศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยในช่วงปีที่ผ่านมา ทางอาจารย์ที่ปรึกษาเปิดโอกาศในนักศึกษาสามารถติดต่อสอบถามผ่านระบบออนไลน์ได้เกือบ 100 % เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับทราบได้รับคำปรึกษาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ หากในกรณีของอาจารย์ใหม่ ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับให้อาจารย์ใหม่ ใช้ในการแนะนำนักศึกษาที่เข้ามาขอคำปรึกษา ซึ่งนอกเหนือจากการอบรมอาจารย์ใหม่เพื่อทราบภาระตามกำหนดของมหาวิทยาลัยรังสิตอีกด้วย หลักสูตรฯ ได้สอดแทรกลงไปในรายวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ มุ่มเน้นการส่งเสริม 5 ด้านดังรายละเอียดต่อไปนี้ • ด้านคุณธรรม จริยธรรม - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4) (Career Skill) - กิจกรรมการสร้างเสริมพฤติกรรมนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมในรายวิชาเรียนต่าง ๆ โดยสอดแทรกไปในการสอนทุกรายวิชา (มคอ. 3) • ด้านความรู้ - โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ Aviation English Camp/AEC (ชั้นปี 1) - โครงการทัศนศึกษา และดูงาน (ชั้นปี 2 - 4) (Career Skills) - โครงการสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4) (Career Skills) • ด้านทักษะทางปัญญา (สอดแทรกไปในการสอนทุกรายวิชา) - โครงการสัมมนาวิชาการด้านการบิน ของนักศึกษาเกิดการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) - (Career Skills) (Media literacy) -โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ (ในรายวิชา ABM410 วิจัยในธุรกิจการบิน) (ICT literacy) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ (ชั้นปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจด้านการบิน) – (life literacy) • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (ชั้นปี 1) - โครงการรับน้อง (ในส่วนความดูแลของสโมสรนักศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจด้านการบิน) (Career Skills) - โครงการความร่วมมือ 2 ปริญญา ระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขต ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ICT literacy, scientific literacy) - โครงการสัมมนา Seminar Project ของนักศึกษาในรายวิชา เพื่อการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนและเหตุการณ์สถานการณ์ทางด้านการบินการขนส่งในปัจจุบัน (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) - (Career Skills) • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี (สอดแทรกไปในการสอน ทุกรายวิชา) - โครงการสัมมนา Seminar Project ของนักศึกษาในรายวิชาในการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนและเหตุการณ์สถานการณ์ทางด้านการบินการขนส่งในปัจจุบัน (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) – (Scientific literacy) -โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ (ในรายวิชา ABM410 วิจัยในธุรกิจการบิน) (ICT literacy) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจด้านการบิน – (Life Skill) ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร
4) หลักสูตรมีกิจกรรมที่หลากหลายในการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพที่ตอบรับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการมีคุณลักษณะที่เป็นไปตามมาตรฐาน TQF และการมีกิจกรรมที่เพิ่มศักยภาพให้แก่นักศึกษาในสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งได้พบเห็นความสำเร็จของนักศึกษาในการมีผลงานวิชาการไปนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในหลายปีต่อเนื่อง หัวข้อเรื่องการพัฒนาศักยภาพภาพนักศึกษา และเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทางหลักสูตรฯ ได้วางระบบและกลไก การดำเนินแผนการสอดแทรกกิจกรรมในหลักสูตร ลงรายละเอียดในแต่ละรายวิชา ที่มุ่งเน้นในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่หลากหลาย อาทิ ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและวิจารณญาณ ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้านความเข้าใจชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อสร้างให้นักศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ เป็นผู้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางแผน ความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม และทักษะทางด้านธุรกิจ รักการเรียนรู้ การมีสำนึกพลเมือง จิตอาสา การมีความสามารถในการแก้ปัญหา การปรับตัว การสื่อสาร และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้อย่างเพียงพอและครอบคลุมในทุกกิจกรรม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรฯ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติประจำปีการศึกษา 2564 และ 2565 ซึ่งหลักสูตรฯ ได้สอดแทรกลงไปในรายวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ มุ่มเน้นการส่งเสริม 5 ด้าน • ด้านคุณธรรม จริยธรรม - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4) (Career Skill) - กิจกรรมการสร้างเสริมพฤติกรรมนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมในรายวิชาเรียนต่าง ๆ โดยสอดแทรกไปในการสอนทุกรายวิชา (มคอ. 3) • ด้านความรู้ - โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ Aviation English Camp/AEC (ชั้นปี 1) - โครงการทัศนศึกษา และดูงาน (ชั้นปี 2 - 4) (Career Skills) - โครงการสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4) (Career Skills) • ด้านทักษะทางปัญญา (สอดแทรกไปในการสอนทุกรายวิชา) - โครงการสัมมนาวิชาการด้านการบิน ของนักศึกษาเกิดการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) - (Career Skills) (Media literacy) -โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ (ในรายวิชา ABM410 วิจัยในธุรกิจการบิน) (ICT literacy) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ (ชั้นปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจด้านการบิน) – (life literacy) • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (ชั้นปี 1) - โครงการรับน้อง (ในส่วนความดูแลของสโมสรนักศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ชั้นปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกปฏิบัติงานในธุรกิจด้านการบิน) (Career Skills) - โครงการความร่วมมือ 2 ปริญญา ระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขต ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ICT literacy, scientific literacy) - โครงการสัมมนา Seminar Project ของนักศึกษาในรายวิชา เพื่อการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนและเหตุการณ์สถานการณ์ทางด้านการบินการขนส่งในปัจจุบัน (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) - (Career Skills) • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี (สอดแทรกไปในการสอน ทุกรายวิชา) - โครงการสัมมนา Seminar Project ของนักศึกษาในรายวิชาในการบูรณาการความรู้กับการเรียนการสอนและเหตุการณ์สถานการณ์ทางด้านการบินการขนส่งในปัจจุบัน (รายวิชา ABM412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบิน) – (Scientific literacy) -โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ (ในรายวิชา ABM410 วิจัยในธุรกิจการบิน) (ICT literacy) - โครงการฝึกงานและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ปี 4 ในรายวิชา ABM494 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจด้านการบิน – (Life Skill) ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร
5) หลักสูตรมีระบบและกลไก รวมถึงการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้วางไว้สำหรับการบริหารและพัฒนาอาจารย์ เพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จตามภาระงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ การจัดภาระงานสอนตามความผู้เชี่ยวชาญของอาจารย์ การมีโครงการและงบประมาณที่หลากหลายในการพัฒนาศักยภาพทางทักษะวิชาชีพเพื่อนำไปสู่การมีความรู้ทีทันสมัยและนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา การมีโครงการในรูปแบบอาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อเพิ่มพูนในการพัฒนาผลงานวิชาการดังที่ได้พบเห็นในการที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบมีผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติที่มีหลายบทความอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีการศึกษา รวมถึงการที่มีความร่วมมือระหว่างอาจารย์ในการพัฒนางานวิชาการและความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในการพัฒนางานวิชาการ เป็นต้น ปีการศึกษา 2565 ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ โดยนำผลจากการประเมินระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ มาปรับปรุงการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ดังนี้ หลักสูตรฯ ได้มีการดำเนินงานตามกระบวนการที่กำหนดข้างต้นทั้ง 6 ข้อ โดยในปีการศึกษา 2565 มีแผนการพัฒนาอาจารย์ และส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการพัฒนาในด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และหลักสูตรได้มีการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการบริหาร และการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง และดำเนินการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาอาจารย์ กำกับการดำเนินงาน ตามแผนและมีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ด้านการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน ปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนเข้าร่วมการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา และศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในวิชาชีพด้านธุรกิจการบินและการขนส่ง อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เข้าร่วมโครงการอบรม ได้แก่ 1.1 อ. พาริส หงษ์สกุล (เข้าร่วมงานสัมมนาสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน ประจำปี 2565 (ATO Seminar 2022) ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2565 จัดโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) โดยผลจากการเข้าร่วมสัมมนานำมาปรับใช้ในการจัดอบรมระยะสั้นของสาขาวิชาต่อไป 1.2 ผศ.ดร.ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล (เข้าอบรม หลักสูตรตัวแทนการออกของ จำนวน 80 ชั่วโมง ของโรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ) โดยผลจากการเข้าอบรมนำมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนรายวิชา ABM320 การปฏิบัติการตัวแทนการขนส่งสินค้าทางอากาศ 1.3 อ.ดุสิต ศิริสมบัติ (เข้าอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ CHE QA ONLINE ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 22 กันยายน 2565 จัดโดย สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต) โดยผลจาการเข้าอบรมนำมาใช้สำหรับการจัดทำประกันคุณภาพสำหรับสาขาวิชาต่อไป 1.4 อ.ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์ (เข้าอบรมการเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์บทความในฐานข้อมูล Scopus ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 จัดโดย สำนักหอสมุด ม.รังสิต ร่วมกับสำนักพิมพ์ Elsevier) โดยผลจากการเข้าอบรมนำมาใช้สำหรับการเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์ต่อไป 1.5 ดร.อรัญญา พิสิษฐเกษม (เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องความรู้สำหรับเป็นหน่วยอบรมและหน่วยงานประเมินบุคลากรด้านการท่องเที่ยวภายใต้ข้อตกลง MRA on TP จำนวน 2 วัน จัดโดยกรมการท่องเที่ยวและวิทยาลัยดุสิตธานี) โดยผลที่ได้จากการอบรมคือข้อมูล กฎเกณฑ์ หลักปฏิบัติในการเป็นหน่วยงานประเมินบุคลากรด้านการท่องเที่ยวภายใต้ข้อตกลง MRA on TP 1.6 ผู้ช่วยอาจารย์พงศกานต์ แก้วมานะประเสริฐ (เข้าอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) จัดโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างวันที่ 22-26 พฤษภาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต) โดยผลของการเข้าร่วมอบรมทำให้เข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิจัยและสามารถต่อยอดในการทำวิจัยต่อไป 2. ด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ หลักสูตรฯ ได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนได้ผลิตผลงานวิชาการ และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามแผนความก้าวหน้าของการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรายบุคคล รวมทั้งให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งทางวิชาการ ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา รวมถึง เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีบุคลากรสายอาจารย์ ของมหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน มีผลงานวิชาการที่ได้เผยแพร่ ดังนี้ 2.1 อ.ดุสิต ศิริสมบัติ (นำเสนอบทความวิจัย) เรื่อง: แนวคิดรูปแบบสายการบินแบบผสม. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการระดับชาตินวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2566 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2.2 อ.พาริส หงษ์สกุล และอ.ดุสิต ศิริสมบัติ (ตีพิมพิ์ในวารสารระดับชาติ ฐาน TCI กลุ่ม 1) เรื่อง: The Concept of Airports for All: Equality in air travel. CONNEXION Journal of Humanities and Social Sciences: Mae fah luang University, 11(2). 2.3 อ.ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์ และดร.อรัญญา พิสิษเกษม (นำเสนอบทความวิจัย) เรื่อง: Strategies to tackle problems encountered by students college of tourism, hospitality and sports, Rangsit University. The 3rd International Students Conference on Academic Multidisciplinary Research 2023. College of Hospitality Industry Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand. 2.4 อ.ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์ และอ.พาริส หงษ์สกุล (ตีพิมพิ์ในวารสารระดับชาติ ฐาน TCI กลุ่ม 1) เรื่อง: The Expectations in Education of Business Students for Air Transport Business Career in Thailand during COVID - 19 Situations. Journal of Education Studies: Chulalongkorn University, 50(4). 2.5 ดร.อรัญญา พิสิษเกษม (ตีพิมพิ์ในวารสารระดับชาติ ฐาน TCI กลุ่ม 1) เรื่อง: Development of an evaluation model for professional competency standard of lecturer in aviation business program under higher education institution, Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(6). 2.6 ดร.อรัญญา พิสิษเกษม และอ.ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์ (นำเสนอบทความวิจัย) เรื่อง: Strategies to tackle problems encountered by students college of tourism, hospitality and sports, Rangsit University. The 3rd International Students Conference on Academic Multidisciplinary Research 2023. College of Hospitality Industry Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand. 2.7 ผศ.ดร.ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล (นำเสนอบทความวิจัย) เรื่อง: Strategies for selecting a new warehouse location by AHP method: A case study of ABC company. The 8th RSU International Research Conference on Social Science and Humanity, Education, and Management and Arts 2023 (RSUSOC-2023). Rangsit University, Thailand. 2.8 ผศ.ดร.ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล และอ.ดุสิต ศิริสมบัติ (นำเสนอบทความวิจัย) เรื่อง : Fake news recognition model on social media of Rangsit University students. The 3rd International Students Conference on Academic Multidisciplinary Research 2023. College of Hospitality Industry Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand. 2.9 อ.พาริส หงส์สกุล (ตำรา/หนังสือ) เรื่อง การจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต. 2.10 อ.พาริส หงส์สกุล (ตีพิมพิ์ในวารสารระดับนานาชาติ) เรื่อง: Passenger Expectations of Full-service Airlines’ Service Quality after COVID – 19. Journal of Positive School Psychology, 6(8). ในปี 2565 นี้ทางหลักสูตรได้มีผลงานวิชาการร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 2 บทความวิจัย นำเสนอบทความวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อที่ 2.6 และ 2.8 โดยลักษณะการเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ทำวิจัยด้วยตัวเองตามกระบวนการวิธีวิทยาการวิจัยที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษารู้จักการนำวิจัยไปต่อยอดในระดับการศึกษาที่สูงต่อไปได้ในอนาคต อาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าร่วมโครงการอบรม สัมมนาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จตามภาระงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ และพัฒนาศักยภาพทางทักษะวิชาชีพเพื่อนำไปสู่การมีความรู้ทีทันสมัยและนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่งเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพงานประชุมวิชาการของนักศึกษาระดับนานาชาติที่จัดติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 4 ปี และพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนรายวิชา ABM410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจการบิน เพื่อนำเสนอเผยแพร่ในงานดังกล่าว ถือได้ว่าโครงการนี้จะสามารถพัฒนา ส่งเสริม และดึงศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถนำเสนอในเวทีระดับนานาชาติได้ ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
6) หลักสูตรมีการดำเนินงานในการพิจารณาสาระรายวิชาและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจความต้องการของนักศึกษาและผู้ใช้บัณฑิต ดำเนินการต่อไปเพื่อรักษามาตรฐานของการดำเนินงานหลักสูตร และมาตรฐานวิชาการของสาขาวิชา นอกจากนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา ซึ่งทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความต้องกทารของตลาดแรงงานในธุรกิจการบินและการขนส่งเช่นเดียวกัน โดย การออกแบบหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ และสาระรายวิชา มีรายละเอียด ดังนี้ 1. สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้านธุรกิจการบินและการขนส่ง เช่น 1.1 ค้นคว้าข้อมูลหลักสูตรด้านการบริการและการจัดการธุรกิจการขนส่งในอุตสาหกรรมการบินของสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากช่องทางต่างๆ ทั้งสื่อออนไลน์และสื่อบุคคล สื่อโฆษณาต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมในทุกมิติ 1.2 ศึกษารายงานสถานการณ์ที่เกิดในอุตสาหกรรมการบินและผลกระทบต่อตลาดแรงงานจากองค์กร หน่วยงาน สมาคม และองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนธุรกิจการขนส่ง เช่น รายงานของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association-IATA) และรายงานจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างระเทศ (international Civil Aviation Organization- ICAO) และ รายงานจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นต้น 1.3 สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน ค้นหาสถานประกอบการที่เป็นผู้จ้างงานหลักทั้ง ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินและการขนส่ง เพื่อหารายละเอียดเกี่ยวกับประเภทตำแหน่งงาน คุณสมบัติและความต้องการทักษะเฉพาะต่างๆที่ต้องการ จาก ผู้ประกอบการการปัจจุบัน หรือ จากสถานประกอบการที่เคยรับนักศึกษาฝึกงานของหลักสูตร และความสนใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.4 สำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาปัจจุบันของหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ 1.5 จัดประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรโดยนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ข้างต้น รวมทั้ง จาก มคอ.5 มคอ.6 มคอ.7 ผลการสำรวจจากนักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต มาใช้ประกอบการพิจารณาในการกำหนดเนื้อหาและรายวิชาต่าง ๆ สำรวจความต้องการของนักศึกษาต่อการศึกษาในรายวิชาชีพเลือก ประชุมหารือกับสถานประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร
7) หลักสูตรมีระบบและกลไก รวมถึงการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ในการจัดผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่มีข้อมูลจากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีเป้าหมายที่จะให้ผู้เรียนมีศักยภาพและคุณภาพในกรอบมาตรฐานของสป.อว. และการที่นักศึกษาได้มีผลงานที่ได้รับเผยแพร่ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีการศึกษา หลักสูตรมีการดำเนินการดังนี้ 1. ก่อนเปิดภาคการศึกษาได้มีการประชุมผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการกำหนดผู้สอนในแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในภาคการศึกษาถัดไป และกำหนดผู้สอนตามความเชี่ยวชาญ โดยแบ่งตามเป็นวิชาชีพ-บังคับ วิชาชีพ-เลือก และ วิชาเชิงทฤษฎี วิชาเชิงปฏิบัติที่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณาให้ผู้สอนมีคุณสมบัติเหมาะสมกับรายวิชาที่สอน และมีความรู้ความชำนาญในเนื้อหาที่สอน 2. ประชุมอาจารย์ผู้สอนทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ โดยในปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์พิเศษรวมทั้งสิ้น 10 คนเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับ ตำรา ทรัพยากรและสิ่งสนับสนุน การเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ หรือ ระบบสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบสำรองที่นั่ง ระบบการลงทะเบียนผู้โดยสารในห้องปฏิบัติการเครื่องบินจำลอง โปรแกรมสำเร็จรูปในห้องปฏิบัติการ โดยในปี 2565 เป็นการจัดการเรียนการสอนในที่ตั้งทุกรายวิชา และการใช้ห้องเรียน Digital ในโปรแกรม Microsoft Teams เพื่อเป็นศศูนย์กลางให้นักศึกเจ้ามาศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนได้ 3. ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการประชุมร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบได้อย่างทันท่วงที โดยในปีในปี การศึกษา 2565 ไม่พบปัญหาสำคัญที่ต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงแต่อย่างใด แม้มีช่วงหนึ่งที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขังในมหาวิทยาลัยและการคมนาคมขัดข้อง แต่ผู้สอนและผู้เรียนในหลักสูตรก็สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ไม่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากการมีห้องเรียน Digital ควบคู่กับการสอนในที่ตั้ง และ ผลการประเมินการสอนอยู่ในระดับดีในทุกรายวิชา การเปิดรายวิชา ด้วยหลักสูตรมีการรับนักศึกษาใหม่ ทุกภาคการศึกษา รวมทั้ง มีวิชาพื้นฐานวิชาชีพที่จัดสอนโดยคณะอื่น ในมหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ กระบวนการเปิดรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษาภายในระยะที่กำหนดมีดังนี้ 1. เปิดรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษาของแต่ละชั้นปี ตามแผนการศึกษาของหลักสูตรฯ ที่ได้เตรียมไว้โดยประมาณจำนวนกลุ่มที่เปิดจากจำนวนนักศึกษาในแต่ละชั้นปี พร้อมกำหนดรายวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานประกอบการจริง โดยแบ่งแผนการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 เป็นแผนการศึกษา A และ B โดยนำรายวิชาชีพ-บังคับ ของชั้นปีที่ระบุใน มคอ.2 มาเป็นตัวกำหนดในการแยกแผน เพื่อนักศึกษาออก 2 แผน สลับเทอมกันได้ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ของชั้นปีนั้น ๆ เพื่อรองรับการรับเข้าในทุกภาคการศึกษาและเพื่อให้มีคุณสมบัติพร้อมทั่วกันสำหรับการเลือกกลุ่มวิชาชีพ-เลือกในชั้นที่ 3 ต่อไป 2. สำหรับรายวิชาชีพ-เลือกจะมีการประชุมนักศึกษา เพื่อแนะแนววิชาชีพ-เลือก พร้อมเงื่อนไขผลสัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษ (ต้องได้คะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 300 คะแนนหรือเทียบเท่า) ซึ่งได้ดำเนินการเป็นประจำทุกภาคการศึกษา และทำการสำรวจความต้องการของนักศึกษาที่จะลงทะเบียนในรายวิชาชีพเลือกออนไลน์ เพื่อได้วางแผนการเปิดรายวิชาให้ตรงตามความต้องการของนักศึกษา การประชุมจะจัดภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามและทบทวนการสื่อสารต่าง ๆ ที่หลักสูตรได้ดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้วกับนักศึกษาผ่าน Social Media ต่าง ๆ เช่น Line Official และ Facebook ของหลักสูตร 3. การจัดเวลาเรียนและห้องเรียน เป็นไปตามความเหมาะสมของลักษณะเนื้อหาของวิชา คือวิชาบรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษารวมทั้งให้อาจารย์ผู้สอนสามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพ มาบรรยายเพิ่มเติมได้ 1 ครั้งในแต่ละรายวิชา เพื่อประโยชน์แก่อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเพื่อการรับทราบการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ ส่วนรายวิชาที่ต้องฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการได้แก่รายวิชา ABM303 ระบบสารสนเทศในการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสารสายการบินที่จัดการสอนในห้อง 6-404A จะจัดตารางเรียนให้นักศึกษารวม 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเผื่อเวลาสำหรับการศึกษาด้วยตนเองไว้แล้ว ส่วนรายวิชา ABM 410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจด้านการบิน ที่มีการวิเคราะห์ผลวิจัยด้วยโปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science) รวมทั้งวิชาชีพ-เลือก ในแขนงวิชา การจัดการเทคโนโลยีและอำนวยการบิน ได้แก่ วิชา ABM 343 อุตุนิยมวิทยาด้านการบินและการแปลความ วิชา ABM 446 แผนการบินเชิงปฏิบัติการ จะจัดการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (11-902) ตามจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ใน มคอ.2 ส่วนการเรียนเรียนรู้ทักษะทำงานแบบมีส่วนร่วม ในรายวิชา ABM 412 สัมมนากลยุทธ์ธุรกิจด้านการบินที่ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มจัดสัมมนาสถานการณ์ปัจจุบันโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพมาร่วมเสวนาและมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามความสนใจ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่ต้องการด้วย 4. ในหลักสูตรฯ มีรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในธุรกิจด้านการบิน 1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) กับสถานประกอบการ มีทั้งสถานประกอบการณ์ที่ได้ทำความตกลงไว้และสถานประกอบการณ์ที่เคยรับนักศึกษาเก่าเคยฝึกงานมาก่อน หรือสถานประกอบการที่นักศึกษาเสนอเข้ามาใหม่ที่ต้องผ่านเกณฑ์ตามประกาศของหลักสูตร โดยระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน จะมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรออกไปนิเทศนักศึกษาเพื่อติดตามความก้าวหน้าพร้อมเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการเพื่อปรับปรุงรายวิชาฝึกปฏิบัติงานต่อไป เมื่อฝึกงานเสร็จสิ้นแล้วนักศึกษาต้องเขียนรายงานและนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติงานต่อต่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การฝึกปฏิบัติงาน ก่อนออกฝึกปฏิบัติงานนักศึกษาต้องผ่านรายวิชา ABM493 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพในธุรกิจด้านการบิน ซึ่งในรายวิชาดังกล่าว นักศึกษาจะได้รับการทดสอบความพร้อม ด้านภาษาอังกฤษแบบ TOEIC ด้านความรู้และทักษะการทำงาน (สอบ Comprehensive) ด้านบุคลิกภาพการการวางตัว (จากการฝึกอบรม) ด้านทักษะการทำงานในสำนักงาน (จากการเก็บชั่วโมงปฏิบัติงานในสำนักงานของวิทยาลัยฯ) อีก 30 ชั่วโมง 5. ในทุกรายวิชาที่เปิดสอนของหลักสูตร จะมีกลุ่มไลน์ ในทุกรายวิชา เพื่อเป็นสื่อกลางกับผู้สอนนอกห้องเรียนโดยในปี 2565 มีทั้งสิ้น 74 กลุ่มไลน์ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในรายวิชาระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกศึกษาในรายวิชา 6. ส่วนรายวิชาที่จัดสอนโดยคณะอื่น ๆ ผู้อำนวยการหลักสูตรจะประสานไปยังคณะต่าง ๆ ที่เปิดสอนรายวิชาเหล่านั้นเพื่อแจ้งจำนวนนักศึกษาที่จะลงทะเบียนในวิชานั้นตามแผนการศึกษาที่ระบุไว้ใน มคอ.2 เป็นประจำในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรสามารถลงทะเบียนได้ตามแผนการศึกษาที่วางไว้ และสำเร็จการศึกษาต่อไป จากกระบวนการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อาจารย์ผู้สอนสามารถดำเนินการจัดทำ มคอ.3/มคอ.4 ก่อนเปิดภาคเรียน พร้อมเตรียมการสอนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่าละเอียด และให้มีความทันสมัย น่าสนใจ และอาจารย์ผู้สอนนำหัวข้อใน มคอ.3 มาออกแบบการสอนที่ทันสมัย เช่น วิธีการสอนที่จะเน้นไปยังผู้เรียน โดยเฉพาะการให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ในรายวิชาสัมมนาในธุรกิจด้านการบิน (ABM 412) อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจัดสัมมนา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ ส่วนในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัย (ABM 410) ที่นักศึกษาต้องทำผลงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การเรียนให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 4 คน ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรฯ ได้กำหนดรายวิชาที่มีกิจกรรมบูรณาการทางวิชาการ ใน รายวิชาวิชา ABM 412 สัมมนากลยุทธ์ในธุรกิจด้านการบินและ ABM493 การฝึกประสบการณืวิชาชีพด้านการบิน ซึ่งเป็นรายวิชาชีพ-บังคับ 2 วิชาสุดท้ายของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยนักศึกษาได้รับมอบหมายให้ไปเข้าร่วมสัมมนาวิชาการหน่วยงานภายนอกทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างน้อยคนละ 2 ครั้งและมีการรวบรวมความรู้มาจัดทำเป็น KM (Knowledge Management) รวมทั้งในรายวิชากำหนดให้นักศึกษาเป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาในหัวเรื่องที่เป็นประเด็นในอุตสาหกรรมการบินหรือการขนส่ง โดยในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาได้ดำเนินการจัดงานสัมมานารวม 5 ครั้ง ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีลักษณะเป็นการเสวนาทางวิชาการแบบ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) กับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในสายงานธุรกิจด้านการบิน มีการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงผ่าน Facebook Live ให้แก่ผู้สนใจภายนอกด้วย ซึ่งการจัดกิจกรรมบูรณาการนี้เป็นการบริการวิชาการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายโดยนักศึกษาจะได้งบสนับสนุนบางส่วนจากค่าปฏิบัติการในรายวิชา แต่ส่วนใหญ่นักศึกษาจะดำเนินการหาผู้อุปถัมภ์งาน และของรางวัลด้วยตนเอง ซึ่งการดำเนินงานของนักศึกษาได้รับการตอบรับจากสายการบิน และสถานประกอบการต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) จัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ อนาคตใหม่ของการพัฒนาทักษะผู้บังคับอากาศยานโดรนกับกฎหมายความมั่นคงของการขนส่งทางอากาศ” (Unmanned Aerial Vehicle (Drone) Skill Development of Aviation Industry Towards Security and Aviation Law)เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง Auditorium (15-226) อาคาร 15 Digital Multimedia Complex 2) จัดสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับบทบาทการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย (High Speed Rial Linked Three Airport Project: The Increasing Business Potential of EEC) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง Auditorium (15-226) อาคาร 15 Digital Multimedia Complex 3) จัดสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ แนวโน้มการพัฒนาระบบขนส่งทางท่อในประเทศไทยสู่การขนส่งรูปแบบใหม่แห่งอนาคต (Pipeline Transportation Development in Thailand Trend and Possibility to the Future) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง 1-301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ 4) จัดสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ ยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังสู่การเป็นท่าเรืออัจฉริยะเพื่อพลิกโฉมระบบโลจิสติกส์ไทยสู่สากล (Smart Port of Laem Chabang, The Logistics Operational Strategy Plan of Thailand) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง Auditorium (15-226) อาคาร 15 Digital Multimedia Complex 5) จัดสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ ศักยภาพธุรกิจข้ามชาติ ไทย-ลาว แนวโน้มการเติบโตและการเชื่อมโยงระบบขนส่ง (The Potential of Thai-Laos Multinational Business, Growth, Trends and Connecting of Transportation System) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้อง Auditorium (15-201) อาคาร 15 Digital Multimedia Complex การจัดงานทั้ง 5 ครั้ง มีบุคคลภายนอกลงทะเบียนเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 150 คนทุกครั้ง และจัดโดยนักศึกษาอย่าเต็มรูปแบบ ทั้งการงานด้านพิธีการและวิชาการ และผลประเมินการจัดงานออกมาอยู่ในระดับพึงพอใจมากทั้ง 3 ครั้ง และนักศึกษาก็ได้ผลการเรียนรู้ครบถ้วนทั้ง 5 ด้านคือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะปัญญา 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 5) ความรับผิดชอบการและด้านวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และตามผลลัพธ์ที่ต้องการ (Desired Outcomes of Education: DOE) ใน 3 เรื่องคือเป็นบุคคลผู้เรียนรู้ (Learner Person) เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม(Innovative Co-Creator) และเป็นผู้มีความเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง (Active Citizen) ส่วนการบูรณาการกับการวิจัยได้กำหนดเป็นวิชา ABM 410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจด้านการบิน โดยนักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ทำวิจัยเป็นวิจัยกลุ่มละ 1 หัวข้อ โดยในปีการศึกษา 2565 นี้ได้มีผลงานวิจัยรวม 10 เรื่อง และ มีการพัฒนาเป็นบทความวิจัย 2 เรื่องคือ “Strategies to tackle Problems Encountered by Students, College of Tourism, Hospitality and Sports, Rangsit University” และเรื่อง “Fake News Recognition Model on Social Media of Rangsit University Students” ที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงานด้วยวาจาและตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จากงาน “The 3rd International Student Conference on Academic Multidisciplinary Research 2023, College of Hospitality Management, Suan Sunandha Rajabhat University” เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ผ่าน Google Meet Application ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
8) หลักสูตรมีระบบและกลไก รวมถึงการดำเนินงานตามระบบที่นำไปสู่เป้าประสงค์ที่วางไว้ สำหรับการประเมินผู้เรียน โดยมีหลากหลายกระบวนการในการประเมินผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน TQF และมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ พ.ศ.2561 ที่มีรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งเรื่องกระบวนการ การประเมินผลและการปรับปรุงการดำเนินงานสำหรับปีถัดไป ยังคงดำเนินการต่อตามแผนการ แต่นอกจากนี้หลักสูตรยังคงมีการพัฒนาและดำเนินการในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่เป้าประสงค์ที่วางไว้ สำหรับการประเมินผู้เรียน โดยมีหลากหลายกระบวนการในการประเมินผู้เรียน ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน TQF และมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ พ.ศ.2561
9) หลักสูตรมีระบบและกลไก ที่ชัดเจนในการดำเนินงานตามแผนงานของการจัดการในเรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่มีการวางเป้าประสงค์ เพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ และเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีการศึกษา ผลจากการดำเนินงานพบว่า ทั้งนักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานดังกล่าวที่มีแนวโน้มดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง เมื่อได้รับนโยบายจากทางวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬามาเป็นแนวทางในการดำเนินการ และจัดทำแผนการดำเนินงาน แผนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และแผนการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อการพิจารณาและจัดสรรงบประมาณ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนา ปรับปรุง สรรหา และจัดสรรทรัพยากรด้านต่างๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการ เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ 1. สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา รวมถึงวางแผนสรรหาและเตรียมการจัดซื้อให้พร้อมก่อนการเปิดภาคเรียน 2. ตรวจสอบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีอยู่ในแต่ละรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ดำเนินการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงสำรวจปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ดังเช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเครื่องบินจำลอง ห้องปฏิบัติการระบบสารสนเทศที่ใช้ในการสำรองที่นั่งสายการบิน ห้องปฏิบัติการสารสนเทศเพื่อใช้โปรแกรมประมวลผลวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ ห้องสมุด การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เป็นต้น 3. สรุปผลการตรวจสอบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ นำเสนอผลการตรวจสอบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในประเด็น 1) ปริมาณของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ขาดแคลน หรือ มีไม่เพียงพอ ดังเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องและจอโปรเจคเตอร์ อุปกรณ์การเรียนการสอนวิชาการบริการผู้โดยสารทั้งภาคพื้นดิน และบนเครื่องบิน วิชาด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ โปรแกรมการสำรองที่นั่งสายการบิน ระบบเช็คอิน เครื่องมือต่าง ๆ ห้องเรียน ห้องสมุด สัญญาณอินเตอร์เน็ต ห้องพักอาจารย์ 2) คุณภาพและความทันสมัยของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4) ปัญหา อุปสรรค ต่อการเข้าถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ 5) แนวทางการพัฒนาปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนรู้ของนักศึกษา 4. จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และแผนการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อการพิจารณาและจัดสรรงบประมาณ โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ผู้รับผิดชอบ 5. ดำเนินการตามแผนงาน จัดซื้อ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงพัฒนา ปรับปรุง และซ่อมแซมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ชำรุดเสียหายให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนการเปิดภาคเรียน โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เป็นผู้รับผิดชอบ 6. ประเมินผลการดำเนินงาน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ทำการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวบรวมข้อมูลสรุปผล และนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง ดำเนินการกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ โดยใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ดังนี้ 1. ห้องปฏิบัติการเครื่องบินจำลอง RSU AIRLINES CABIN MOCK UP (ห้อง 6-403A) ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ยังคงมีการพัฒนาปรับปรุง เพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง ได้แก่ วิชา ABM 312 การจัดการงานบริการบนเครื่องบิน วิชา ABM313 การจัดการงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน ABM314 การจัดการอาหารสำหรับเที่ยวบิน วิชา ABM 315 ภาษาอังกฤษเพื่อการบริการผู้โดยสาร วิชา ABM304 การจัดการความปลอดภัยในธุรกิจด้านการบิน และ วิชา ABM103 การบริการลูกค้าในธุรกิจการบิน ตลอดปีการศึกษา 2565 ห้องปฏิบัติการเครื่องบินจำลองถูกนำมาใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ ของทางหลักสูตรฯ การเยี่ยมชมจากหน่วยงานภายนอก รวมถึงการขอเข้าใช้บริการในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น 2. ห้องปฏิบัติการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสารสายการบิน (ห้อง 6-404A) ที่เริ่มมีการใช้งานมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จำนวน 56 เครื่อง ยังคงใช้ในการจัดการรียนการสอนในรายวิชา ABM 303 ระบบสารสนเทศในการสำรองที่นั่งและการออกบัตรโดยสารสายการบิน และในรายวิชา ABM 410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจด้านการบิน รวมทั้งรายวิชาในกลุ่มการจัดการเทคโนโลยีและอำนวยการบิน 3. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (11-902) ได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 30 เครื่องและการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต สำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 303 ระบบสารสนเทศในการสำรองที่นั่งและการออกบัตรโดยสารสายการบิน รายวิชา ABM 410 ระเบียบวิธีวิจัยในธุรกิจด้านการบิน และรายวิชาในกลุ่มวิชาการจัดการเทคโนโลยีและอำนวยการบิน ได้แก่ รายวิชา ABM 343อุตุนิยมวิทยาด้านการบินและการแปลความสำหรับการอำนวยการบิน และรายวิชา ABM 446 แผนการบินเชิงปฏิบัติการ 4. อุปกรณ์ประกอบการสอน และคู่มือสำหรับการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น IATA Manual, Dangerous Goods IATA Manual, IATA Airport Handling Manual, ICAO Doc. Manual of Radiotelephony, ICAO Document วิทยุสื่อสาร จำนวน 30 เครื่อง แผนที่ Aeronautical Charts จำนวน 30 แผนที่ สื่อการสอน En Route Chart และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน เพื่อใช้ในรายวิชาต่าง ๆ อาทิ ABM 205 การจัดการท่าอากาศยาน ABM 304 การจัดการความปลอดภัยในธุรกิจการบิน ABM 425 การจัดการการขนส่งสินค้าอันตราย ABM 269 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในอุตสาหกรรมการบิน 2 ABM 341 กฎการบินและการเดินอากาศสำหรับการวางแผนการบิน 5. ห้องเรียนออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams, Google Meet และ ZOOM โดยส่วนใหญ่รายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรฯ ใช้ Microsoft Teams เป็นโปรแกรมในการเรียนการสอน เพราะสามารถสร้างเป็นห้องเรียนดิจิทัล และมีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถกำหนดรายชื่อนักศึกษาลงในห้องเรียนได้ทันที ด้วยการพิมพ์รหัสนักศึกษาที่ลงทะเบียน ก็จะปรากฏชื่อนักศึกษาในห้องเรียนที่สร้างขึ้นมาได้ มีระบบการแจ้งเตือนนักศึกษาให้เข้าห้องเรียนตามเวลาสอน สามารถแบ่งกลุ่มห้องย่อยระหว่างการสอนเพื่อระดมความคิดเห็น สามารถส่งการบ้าน ทำทดสอบย่อยในห้องเรียน สามารถอัพโหลดเอกสารประกอบการสอน แชร์สื่อการสอนต่าง ๆ รวมทั้งสามารถอัดวิดีโอเพื่อให้นักศึกษาในห้องเรียนวิชาดังกล่าวสามารถเข้ามาทบทวนย้อนหลังได้ 6. คลังความรู้ผ่าน ABM Google Drive เป็นศูนย์รวมความรู้ ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินในรูปแบบของ บทความ เอกสาร ตำรา งานวิจัยต่างๆ เป็นช่องทางหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ สอดคล้องกับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ทั้งนี้จากการประชุมอาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่งพบว่า สิ่งสนบสนุนการเรียนรู้ของสาขาวิชายังคงมีไม่เพียงพอ และมีการชำรุดการซ่อมแซมไม่ทันกับการใช้งาน จึงควรจัดหาและเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้หลากหลาย รวมถึงการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ทางสาขาวิชาฯ ได้มีการนำซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจในการนำซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มาใช้ในการประกอบการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผลการประเมินการสอนของอาจารย์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และนักศึกษามีความพึงพอใจมากขึ้นต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ที่นำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย • Platform online ระบบสำรองที่นั่ง Amadeus ที่นักศึกษาสามารถเข้าใช้ระบบจากสถานที่ใดก็ได้ หรือ เวลาใดก็ได้ (Anytime Anywhere) ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 303 ระบบสารสนเทศในการสำรองที่นั่งและการออกบัตรโดยสารสายการบิน • Cisnesoft: Boeing 738-800 Load Sheet Trim and Balance ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 323 การควบคุมน้ำหนักและความสมดุลของอากาศยานและการใช้อุปกรณ์ส่วนควบ • Jeppesen ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 302 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอำนวยการบิน • Metar/Taf ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 302 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอำนวยการบิน และ ABM 343 อุตุนิยมวิทยาด้านการบินและการแปลความสำหรับการวางแผนการบิน • SkyVector ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 302 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอำนวยการบิน ABM 341 กฏการบินและการเดินอากาศเพื่อการวางแผนการบิน และ ABM 446 แผนการบินเชิงปฏิบัติการ • Flightradar 24 ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ABM 302 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอำนวยการบิน และ ABM 343 อุตุนิยมวิทยาด้านการบินและการแปลความสำหรับการวางแผนการบิน โดยในปีการศึกษา 2565 ทางสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินและการขนส่ง ได้ทำการจัดหา พัฒนาปรับปรุง รวมถึงการซ่อมแซม ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และคู่มือต่าง อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีจำนวนที่เพียงพอ มีสภาพที่พร้อมต้องการใช้งาน รวมถึงการทำความสะอาดห้องปฏิบัติ อุปกรณ์ และคู่มือต่างๆ หลังการใช้งาน ในภาพรวมผลการดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดี ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรวางแผนพัฒนาในการมีมาตรการที่จะให้อาจารย์ก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการมากขึ้น ควรผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ หลักสูตรฯ มีการกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล ทั้งด้านงานวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ตามสมรรถนะ และภาระงานประจำของแต่ละคน โดยกำหนดให้อาจารย์ทุกคนผลิตผลงานวิชาการอย่างน้อยคนละ 1 ผลงาน โดยมีค่าเฉลี่ยรวมมากกว่า 0.4 ขึ้นไป และสนับสนุนให้ผลิตผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่กระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไปในอนาคต มีอาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และรับผิดชอบงานบริการวิชาการร่วมกัน สืบเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563, 2564 และต่อเนื่องมาจนถึงปีการศึกษา 2565 และในปีต่อ ๆ ไป โครงการอบรมของทางวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โครงการความร่วมมือการวิจัยกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วใน ปี 2566 ผู้อำนวยการหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
2) หลักสูตรควรมีแผนในการแนะนำหลักสูตรเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา โดยพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมและช่องทางที่ทันสมัย ดำเนินการหารือกับทางฝ่ายสื่อสารองค์กร เพื่อพัฒนาแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของทางหลัดกสูตร และมหาวิทยาลัย กิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ ของวิทยาลัย ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว และได้รับความร่วมมือจากทางฝ่ายสื่อสารองค์กรเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร