# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวและการบริการ เป็นหลักสูตรอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสของหลักสูตรที่จะดึงดูดผู้เรียน |
1. มีการนำคณะอาจารย์และนักศึกษาร่วมกับสำนักรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อออกแนะแนวการศึกษาต่อตามโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. ร่วมกับ RSU Wisdom ในการจัดทำสื่อออนไลน์และ Facebook Live เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรและวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเป็นพิธีกร พร้อมทั้งมีการเชิญศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาเป็นผู้ให้ข้อมูล
3. มีการจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นให้แก่บุคคลทั่วไป เช่น หลักสูตรการอบรมผู้นำเที่ยว เป็นต้น เพื่อเป็นการบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
4. มีการจัดการแข่งขันการตอบปัญหาการท่องเที่ยวระดับชาติ
|
1. กิจกรรมแนะนแนวตามโรงเรียนร่วมกับสำนักรับนักศึกษา
2. โครงการจัดทำสื่อออนไลน์ร่วมกับ RSU Wisdom เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร
3. โครงการอบรมผู้นำเที่ยว รุ่นที่ 1
4. โครงการแข่งขันการตอบปัญหาการท่องเที่ยวระดับชาติในระดับมัธยมศึกษา ปวช. และปวส. |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 คน |
2) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความสามารถในการผลิตผลงานวิชาการ ดังนั้นควรผลิตผลงานวิชาการอย่างน้อยคนละ 0.4 เพื่อให้เป็นไปข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยรังสิต และจะทำให้ค่าคะแนน QA ได้ 5.0 เต็ม |
1. มีการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรผลิตผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา และงานวิจัย
2. มีการประชาสัมพันธ์ทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
3. มีการประชาสัมพันธ์วารสารระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อให้นำบทความวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ |
1. กิจกรรมการแจ้งให้อาจารย์ที่ยังไม่มีผลงานทางวิชาการในปีการศึกษา 2565 ได้ผลิตผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ
2. กิจกรรมการแจ้งข่าวสารทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก
3. กิจกรรมการผลิตบทความจากงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารภายในและต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และรูปเล่ม |
ผู้อำนวยการหลักสูตร |
3) |
หลักสูตรมีการนำประเด็นยุทธศาสตร์ชาติมาบูรณาการกับการเรียนการสอน นำมาซึ่งทักษะที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น |
1. มีการเรียน การสอนโดยการเน้นผู้เรียนเป็นผู้สำคัญ
2. เพิ่มทักษะการใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
3. นำงานวิจัยมาบูรณาการในการสอน |
1. โครงการอบรมอาจารย์ในหลักสูตรเพื่อให้เปลี่ยนการเรียนสอนเป็นการเน้นผุ้เรียนเพิ่มมากขึ้น
2. โครงการความร่วมมือกับ P2A และการนำนักศึกษาต่างชาติมาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและฝึกทักษะทางภาษา
3. โครงการความร่วมมือกับ SBS (Saigon Business School) จากประเทศเวียดนาม เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
4. อาจารย์ในหลักสูตรทุกคนนำงานวิจัยมาบูรณษการกับการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 คน |
4) |
เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการปฏิบัติงานจริง เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนให้สามารถทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา
|
1. ในรายวิชาที่มีการใช้ห้องปฏิบัติการหรือการออกฝึกภาคปฏิบัติ จะให้นักศึกษาได้ฝึกทำงานในสถานที่จริง เพื่อให้ได้ความรู้อย่างกว้างขวาง
2. นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการที่ได้ทุนจาก สสส. และธนาคารออมสินในลงพื้นที่ชุมชนเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนและนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่บุคคลทั่วไป
3. นักศึกษาได้ออกฝึกภาคปฏิบัติงานในรายวิชา TRM 491 การฝึกปฏิบัติงานฯ |
1. โครงการออกฝึกภาคปฏิบัติภาคสนามในรายวิชาต่าง ๆ ทั้ง ในและต่างประเทศ
2. โครงการพัฒนานักเรียนให้เป็นยุวอาสาพาเที่ยววัดรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมทุกนกับสสส.
3. โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร กา (แฟ) ท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยรังสิจร่วมกับธนาคารออมสิน
4. การฝึกปฏิบัติงานในรายวิชา TRM 491 |
อาจารย์ผู้รับผิดชอลหลักสูตรทั้ง 5 คน |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ควรสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการขอทุนวิจัย หรือทำงานวิจัย |
มีการสนับสนุนและเผยแพร่แหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก |
กิจกรรมการผลิตผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ฝนวารสารทั้งภายในและต่างประเทศ |
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ |
2) |
ควรจัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรายบุคคล ควรพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น |
มีการให้อาจารย์ที่มีอายุงานครบในการขอตำแหน่งวิชาการให้เข้าสู่กระบวนการในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมี 1 คน |
แนะนำให้จัดทำเอกสารการสอนหรือตำรา แะลผลิตผลงานบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ในฐานที่กำหนด |
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ |
3) |
องค์ประกอบที่ 3 ดำเนินการได้ดีถ้ามีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะเกิดผลดีต่อหลักสูตรทั้งในเรื่องของจำนวน อัตราการคงอยู่ และคุณภาพบัณฑิตของหลักสูตร |
1. มีการแบ่งภาระงานให้เท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถและความถนัดในรายวิชาต่าง ๆ
2. มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบเพื่อรับฟังความคิดเห็นและแก้ไขปัญหา หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น |
การจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาทางแก้ไปปัญหาร่วมกัน |
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ |
4) |
ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสอนหรือการผลิตผลงานวิชาการ เพื่อให้อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตรดีขึ้น |
มีการพูดคุย ปรึกษาและแนะนำให้อาจารย์แต่ละท่านผลิตผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา |
ประชุมแสนอแนะและแสดงความคิดเห็นให้อาจารย์ร่วมกันรับผิดชอบภาระงานประจำและภาระอื่น ๆ เพื่อให้มัการ่วมกันทำงานอย่างมีความสุข |
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ |
5) |
ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
|
1. มีการแนะแนวหลักสูตรให้แก่โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา
2. มีการใช้แอปพลิเคชั่นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
3. มีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น |
1. โครงการแนะแนวการศึกษาร่วมกับสำนักรับนักศึกษา
2. โครงการทำสื่อประชาสัมพันธ์ร่วมกับ RSU Wisdom
3. โครงการพัฒนานักเรียนให้เป็นยุวอาสาพาเที่ยววัดรังสิต และโครงการอบรมผู้นำเที่ยว |
อาจารยผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้ง 5 คน |